Quantcast
Channel: Nontawatt 'n talk
Viewing all 119 articles
Browse latest View live

สถิติภัยคุกคาม ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยในรอบปี 2011

$
0
0

เริ่มต้นปีใหม่เราจะทำอะไร เหตุการณ์ข้างหน้าจะเป็นอย่างไร เรามีแต่การคาดการณ์ แต่หากเราเรียนรู้กับอดีตที่เคยเกิดขึ้นมาเป็นบทเรียนและเตรียมรับมือ พร้อมทั้งเรียนรู้ให้เท่าทันถึงภัยคุกคามที่อาจขึ้นน่าจะเป็นสิ่งที่ดี สำหรับการดำเนินชีวิตอย่างไม่ประมาท

ดั่งคำกล่าวที่ว่า "จะรู้ทิศทางอนาคต ก็ต้องรู้จักเหตุการณ์จากอดีต"

จึงเป็นที่มาให้ทีมพัฒนา SRAN ได้ทุ่มเท ความรู้ ที่มีจัดทำฐานข้อมูลภัยคุกคามที่เกิดขึ้นเพื่อเป็นการรายงานผล จัดในรูปแบบสถิติที่เกิดจากการใช้งานอินเทอร์เน็ตภายใน ประเทศไทยขึ้น โดยพัฒนาระบบนี้มานานกว่าจะออกเป็นผลลัพธ์ในเว็บ www.sran.netซึ่งในปีนี้ก็คิดว่าระบบดังกล่าวจะสมบูรณ์มากขึ้นและเป็นประโยชน์ต่อสังคมให้ ได้เรียนรู้ถึงทิศทางภัยคุกคามที่เกิดขึ้นจากอดีตจนถึงปัจจุบันได้

เป้า หมายที่ตั้งไว้ คือ ต้องการระบบที่ตรวจสอบและแจ้งผลเว็บไซต์ Website / domain / IP Address ที่เป็นภัยอันตรายต่อการใช้งานนักท่องอินเทอร์เน็ต และทำให้ผู้ดูแลระบบที่ประสบภัยคุกคามได้มีมาตรการในการป้องกันภัยและแก้ไข ได้ทันสถานการณ์มากขึ้น โดยมีการจัดการข้อมูลในรูปแบบของสถิติซึ่งสามารถอ่านรายละเอียดได้ที่ http://nontawattalk.blogspot.com/2011/09/blog-post_04.htmlหรือ http://blog.sran.net/archives/640

ดัง นั้นก่อนที่จะคาดการณ์ภัยคุกคามในอนาคต เราจึงควรเรียนรู้ภัยคุกคามในรอบปีที่แล้วที่ผ่านมาเพื่อมาวิเคราะห์ถึง ทิศทางของภัยคุกคามที่เกิดขึ้นในประเทศไทยได้อย่างถูกต้องและแม่นยำมากขึ้น

โดยในรอบปี 2011 ที่ผ่านมานั้น สรุปภัยคุกคามที่เกิดขึ้นได้ดังนี้
SRAN : Thailand Internet Threat Statistic 2011


ภาพที่ 1 : สถิติภัยคุกคามที่เกิดขึ้นในประเทศไทยในรอบปี 2011

ภัยคุกคามที่ทางทีมพัฒนา SRAN ได้จัดทำขึ้นประกอบด้วย
1. Malware : คือ Website / Domain / IP Address ภายในประเทศไทย ที่เป็นพาหะที่ทำให้ผู้ใช้งานติดไวรัสคอมพิวเตอร์ หรือ file ที่ไม่เหมาะสม ที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ (computer) คอมพิวเตอร์พกพา (notebook ,tablet) และสมาร์ทโฟม (smart phone/mobile ) ที่ขาดระบบป้องกันที่ทันสมัยอาจมีโอกาสติดเชื้อไปด้วย

สรุปภาพรวมทั้งปี 2011 เกิดขึ้นเป็นจำนวน 1,057 ครั้ง ลงเมื่อเทียบกับปี 2010

2. Web Attack : คือ Website / Domain / IP Address ภายในประเทศไทย ที่ถูกโจมตี (Hacking) เข้าถึงระบบและเปลี่ยนข้อมูลในหน้าเพจเว็บไซต์

สรุปภาพรวมทั้งปี 2011 เกิดขึ้นเป็นจำนวน 6,331 ครั้ง เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2010

3. Phishing : คือ Website / Domain / IP Address ภายในประเทศไทย ที่เป็นการหลอกลวงทำให้ผู้ใช้งานเข้าใจผิดและส่งผลกระทบต่อการใช้งานปกติ ซึ่งทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ (computer) คอมพิวเตอร์พกพา (notebook ,tablet) และสมาร์ทโฟม (smart phone/mobile ) ที่ขาดระบบป้องกันที่ทันสมัยอาจมีโอกาสติดเชื้อ Malware หรือเป็นเหยื่อของนักโจมตีระบบได้อีกด้วย

สรุปภาพรวมทั้งปี 2011 เกิดขึ้นเป็นจำนวน 875 ครั้ง เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2010

4. Vulnerability : คือ ช่องโหว่ของโปรแกรม, แอฟลิเคชั่น (Application), OS (Operating System) ที่สามารถเข้าระบบ หรือทำให้ระบบไม่สามารถทำงานได้อย่างปกติ เป็นผลให้เกิดการโจมตีขึ้นได้

สรุปภาพรวมทั้งปี 2011 เกิดขึ้นจำนวน 5,442 ครั้ง ลงเมื่อเทียบกับปี 2010

5. Proxy : คือ Website / Domain / IP Address ที่ทำตัวเองเป็นตัวกลางในการติดต่อสื่อสาร ซึ่งมีโอกาสที่เป็นเครื่องมือของผู้ไม่ประสงค์ดี และเป็นช่องทางในการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ เพื่อปิดบังค่า IP Address ที่แท้จริงของผู้ใช้งานได้

สรุปภาพรวมทั้งปี 2011 เกิดขึ้นจำนวน 12,709 ครั้ง เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2010

ทั้งปี 2011 สรุปภัยคุกคามทั้ง 5 ประเภทรวมทั้งเป็น 26,394 ครั้ง เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2010 ดูรายละเอียด


ประเภทองค์กรภายในประเทศไทย ที่พบภัยคุกคามเป็นภาพรวม

แบ่งเป็น 3 ชนิดภัยคุกคาม 7 กลุ่ม คือ ชนิดภัยคุกคามจะประกอบด้วย 7 กลุ่ม ดังนี้

ชนิดของภัยคุกคามทั้ง 3 ชนิดประกอบด้วย

ชนิดที่ 1 : เว็บไซต์ในประเทศไทยที่ถูกโจมตี ได้แก่ การโจมตีชนิดที่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลในเว็บไซต์ (web defacement)
ชนิดที่ 2 : เว็บไซต์ในประเทศไทย ที่ตกเป็นฐานของฟิชชิ่ง (Phishing) จนกลายเป็นเว็บหลอกลวง
ชนิด ที่ 3 : เว็บไซต์ในประเทศไทย ที่ติดไวรัสคอมพิวเตอร์ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเว็บไซต์ที่ถูกโจมตีแล้วสามารถเข้าถึงระบบได้จากนั้น จึงนำ file ที่ติดไวรัสเข้ามาใส่ในเว็บไซต์เพื่อใช้หลอกให้ผู้ใช้งานติดไวรัสต่อไป

ภาพที่ 2 ภาพรวมค่าสะสมจากอดีตจนถึงปัจจุบันบนระบบฐานข้อมูลภัยคุกคามที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เมื่อแยกตามประเภทขององค์กร

ในรอบปี 2011 ที่ผ่านประเภทองค์กรที่พบภัยคุกคามดังนี้

ภาพที่ 3 สถิติภัยคุกคามเมื่อทำแยกแยะตามประเภทขององค์กร ที่เกิดในรอบปี 2011

ซึ่งแยกแยะตามรายชื่อโดเมนตามชื่อหน่วยงาน ได้ 7 กลุ่ม
1. สำหรับการศึกษา (Academic) จำนวนที่พบภัยคุกคามคือ 1,433 ครั้ง
2. สำหรับบริษัทห้างร้าน (Commercial Companies) จำนวนที่พบภัยคุกคามคือ 1,162 ครั้ง
3. สำหรับรัฐบาล (Governmental Organizations) จำนวนที่พบภัยคุกคามคือ 3,406 ครั้ง
4. สำหรับทหาร (Military Organizations) จำนวนที่พบภัยคุกคามคือ 129 ครั้ง
5. สำหรับหน่วยงานที่ไม่หวังผลทางการค้า (Registered Non-profit Organizations) จำนวนที่พบภัยคุกคามคือ 90 ครั้ง
6. สำหรับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (officially registered Internet Service Providers) จำนวนที่พบภัยคุกคาม คือ 2 ครั้ง
7. สำหรับหน่วยงานทั่วไป (Individuals or any others) จำนวนที่พบภัยคุกคาม คือ 528 ครั้ง

บทวิเคราะห์
โดย รวมทิศทางข้อมูลเชิงสถิติภัยคุกคามที่เกิดขึ้นในประเทศไทยโดยรวมนั้นมีอัตรา สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นไปตามการเข้าถึงเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตที่มีอัตราการใช้งานเพิ่มขึ้น ทุกปีเช่นกัน ภัยคุกคามในแต่ละประเภทที่จัดทำเป็นสถิตินั้นเป็นภัยคุกคามที่เชื่อมโยง ถึงกันซึ่งอาจเกิดจากส่วนใดส่วนหนึ่งก่อนแล้วเกิดผลตามมา ยกตัวอย่างเช่น เกิดจาก Web Attack ก่อน เมื่อนักโจมตีระบบ (Hackers) เข้าถึงระบบ Web Application ได้แล้วก็จะทำการเข้าถึง Web Server และระบบปฏิบัติการ OS ตามลำดับจากนั้นทำการติดตั้ง Malware และทำให้ Website / Domain / IP Address นั้นเป็นพาหะที่ทำให้เกิดติดเชื้อ และแพร่กระจายกลายข้อมูลผ่าน Link ต่างๆ ตาม Web board , Social network หรือ e-mail ในลักษณะ Phishing เป็นต้น
ซึ่งผู้ใช้งานควรมีความตระหนักรู้เท่าทันภัยคุกคามและหมั่นตรวจ สอบความปลอดภัยข้อมูลเป็นระยะโดยดูช่องโหว่ (Vulnerability) ของซอฟต์แวร์ , OS ที่ตนเองมีอยู่ ใช้อยู่ หากมีการแจ้งเตือนช่องโหว่ควรศึกษาว่าช่องโหว่นั้นมีผลต่อการใช้งานอย่างไร หากเป็นช่องโหว่ที่เข้าถึงเครื่องคอมพิวเตอร์เราได้นั้นควรรีบแก้ไขโดยเร็ว อย่างมีสติ หากเป็นผู้ดูแลระบบนั้นต้องหมั่นดูแลเรื่องนี้เป็นพิเศษ
ที่น่าสนใจคือทิศทางของการใช้งาน Proxy ทั้งที่เป็น Proxy Server , Anonymous Proxy ซึ่งมีการใช้งานที่สูงขึ้นมากอาจเป็นต้องการรักษาความลับและความเป็นส่วนตัว ของผู้ใช้งานมากขึ้น และอีกประเด็นคือที่ระบบ SRAN ตรวจพบ Proxy เยอะก็เพราะอาจมีการเข้าถึงระบบโดยเข้ายึดเครื่องและแปลงสภาพเครื่องที่ยึด ได้นั้นมาเชื่อมต่อการใช้งานแบบ Proxy เพื่ออำพรางการกระทำใดบางอย่าง ซึ่งเทคนิคดังกล่าวนี้จะส่งผลให้การสืบสวนทางอินเทอร์เน็ตทำได้ยากลำบากมาก ขึ้นนั้นเอง โดย IP Address ที่พบในฐานข้อมูลก็บ่งบอกว่ามีทั้งเครื่องแม่ข่าย (Server) และ เครื่องลูกข่าย หรือเครื่องผู้ใช้งานทั่วไป จากเมื่อก่อนการทำ Proxy ได้นั้นควรจะเป็นเครื่องแม่ข่าย แต่นี้ก็แสดงถึงการยึดระบบนั้นเข้าถึงเครื่องใช้งานทั่วไปของคนปกติที่ ออนไลน์ตลอดเวลาไม่ว่าเป็นเครื่องตามบ้านผ่าน ADSL ความเร็วสูงหรือแม้กระทั่งบนสมาร์ทโฟนที่ online อินเทอร์เน็ตตลอดเวลา ซึ่งเทียบได้กับ Server ในอดีตแต่การเปลี่ยนค่า IP Address จะไม่คงที่เท่ากับเครื่อง Server ซึ่งเท่ากับว่าเราๆท่านๆอาจมีโอกาสเป็นเครื่องมือของผู้กระทำความผิดได้เช่น กัน

ด้วยความปรารถนาดีจาก ทีมพัฒนา SRAN
SRAN Dev Team

สวัสดีปีใหม่ครับ

ปล. ข้อมูลสถิติที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากซอฟต์แวร์ zemog bot (สีหมอกบอท) ที่เป็นงานวิจัยและพัฒนาขึ้นจากทีมงาน SRAN สร้างขึ้น หลักการณ์เป็นการทำงานแบบ crawler โดยสร้างเป็นบอท (robot) พิเศษที่มีความชาญฉลาดกว่า crawler ทั่วไป หน้าที่คือตรวจสอบข้อมูลเมื่อพบ ASN (Autonomous System Number)ในประเทศไทยแล้วค้นหาตาม IP Address / Domain ที่พบภัยคุกคามจากแหล่งข่าวต่างๆ บนโลกอินเทอร์เน็ต แล้วนำมานำรวบรวมข้อมูล คัดแยกข้อมูลแล้วนำเสนอเป็นข้อมูลเชิงสถิติ ซึ่งไม่ได้หมายความว่าตัวเลขที่พบเป็นภัยคุกคามที่เกิดขึ้นทั้งหมด แต่เป็นการเกิดจากบอทที่สร้างขึ้นและค้นพบในโลกอินเทอร์เน็ต

รายละเอียดเพิ่มเติมดูได้ที่ http://www.sran.net/statistic


เตือนภัยเว็บไทยถูกโจมตีจากเทคนิค SQL Injection จำนวนมาก

$
0
0
การโจมตีที่ SQL Injection ที่กำลังระบาดในขณะนี้เรียกว่า lilupophilupop.com SQL injection

ระบบ ที่ถูกโจมตีเป็นระบบที่ใช้ ASP หรือ ColdFusion ที่ใช้ MSSQL เป็น backend โดยจะถูกฝังข้อความ “>อยู่ในเว็บไซต์ เมื่อเปิดหน้าที่ถูกฝังสคริปท์

นี้แล้วจะ redirect ไปที่เว็บไซต์ดาวน์โหลด Flash และแอนตี้ไวรัสปลอม

โดเมนในประเทศไทยพบ 12,800 หน้า ส่วนทั่วโลกพบประมาณ 1 ล้านหน้า

เว็บ .th ที่ถูกโจมตี
https://www.google.com/search?q=title+script+src+http+%22sl+php%22+script+%22lilupophilupop+com%22+site%3A.th&hl=en&biw=1280&bih=938&num=10&lr=&ft=i&cr=&safe=images
หรือค้นหาโดยใช้
title script src http “sl php” script “lilupophilupop com” site:.th
จาก google ดูสิ


ข้อมูลเพิ่มเติมอ่านที่ http://blog.sran.net/archives/658

แนวโน้มภัยคุกคาม ปี 2012

$
0
0

แนวโน้มภัยคุกคามทางคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต ปีค.ศ. 2012 (พ.ศ 2555)

ถือ เป็นธรรมเนียมปฏิบัติไปแล้วสำหรับบริษัทและบล็อกด้านความปลอดภัยต่าง ๆ ที่เมื่อสิ้นปีจะทำนายแนวโน้มของภัยคุมคามคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตสำหรับ ปีถัดไป ทีมงาน SRAN ได้ค้นหาและอ่านบทความทำนายแนวโน้มจากหลายสำนักจนได้รวบรวมเกิดเป็นบทความ นี้ขึ้นหวังว่าหลังจากที่ได้อ่านแล้วจะทำให้ผู้อ่านได้ความคิดใหม่ ๆ ในการป้องกันตัวเองและครอบครัวจากจากภัยที่คุณอาจจะต้องพบเจอเข้าในสักวัน หนึ่ง เพราะคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตเป็นเรื่องใกล้ตัวที่คุณไม่อาจมองข้ามได้ อีกต่อไป

1. การโจมตีเป้าหมายเจาะจง (targeted attack) จะทำให้เกิดความเสียหายและมีความซับซ้อนมากขึ้น

สอง ปีที่ผ่านมามีข่าวเกี่ยวกับการโจมตีต่อเป้าหมายเจาะจง เนื่องจากกลุ่มที่ใช้คอมพิวเตอร์และเครือข่าย เพื่อเคลื่อนไหวทางการเมือง (เรียกว่า hacktivist มาจากคำว่า hack รวมกับ activist) อย่าง Anonymous และ LulzSec รวมถึงการเพิ่มขึ้นของอาชญากรรมทางอินเทอร์เน็ต ที่มุ่งเป้าไปที่รัฐบาล ธุรกิจและนักเคลื่อนไหวทางการเมือง ที่ต้องอาศัยเทคโนโลยีขั้นสูงและระยะเวลาที่ยาวนาน เรียกว่า Advanced Persistent Threats (APTs)

ตัวอย่างได้แก่ การโจมตีอย่างต่อเนื่องที่ทำให้โซนี่ต้องหยุดให้บริการเพลย์สเตชั่นเป็นเวลา นาน ทำให้เกิดความเสียหายทางการเงิน และการรั่วไหลของข้อมูลผู้ใช้ และการโจมตีเครือข่ายของล็อกฮีด มาร์ติน (Lockheed Martin) บริษัทผู้ผลิตเครื่องบินระหว่างประเทศและเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า ที่อาจมีจุดมุ่งหมายเพื่อจารกรรมข้อมูลการออกแบบเครื่องบินรบ

เรา สังเกตได้ถึงระดับความซับซ้อนของการโจมตีเหล่านี้ เช่น ในขณะที่การโจมตีโซนี่เกิดจากการบุกรุกเครื่องแม่ข่ายเว็บ (web server) ที่ไม่ได้แก้ไขช่องโหว่ของโซนี่เอง แต่การโจมตีล็อกฮีด มาร์ตินเป็นผลมาจากการโจมตีบริษัท RSA ทางอีเมล เริ่มแรก พนักงานของ RSA ได้รับอีเมลแนบไฟล์สเปรดชีท ที่โจมตีช่องโหว่ Adobe Flash Playerและติดตั้งประตูหลัง (backdoor) และส่วนประกอบอื่น ๆ ของมัลแวร์ จากนั้นมัลแวร์ดังกล่าวจึงถูกใช้เพื่อเข้าถึงระบบของRSA และขโมยข้อมูลทางเทคนิคของ SecurID ซึ่งเป็นการยืนยันตัวตนสองปัจจัย (two-factor authentication) RSA ยืนยันว่าข้อมูลดังกล่าวถูกใช้เพื่อโจมตีล็อกฮีด มาร์ติน

เห็นได้ชัดว่าเหยื่อของการโจมตีเหล่านี้ได้รับความเสียหายมาก รวมถึงการเสียชื่อเสียง เสียความเชื่อมั่นของลูกค้า
ราคาหุ้นตกและเสียค่าใช้จ่ายในการแก้ไขปัญหาในทางเทคนิค

เมื่อเร็ว ๆ นี้ APTs ได้แสดงให้เห็นถึงความสามารถของมัน หนอน Stuxnet เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่ดี อีกทั้ง
Stuxnet ยังใช้ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (digital certificate) ที่ถูกต้องอีกด้วย เมื่อพิจารณาถึงกรณีที่ใบรับรองถูกขโมยจากผู้ให้บริการออกใบรับรอง อิเล็กทรอนิกส์ DigiNotar เชื่อว่าการโจมตีต่อเป้าหมายเจาะจงจะมีเพิ่มขึ้น
โดยมีความซับซ้อนมากขึ้น ใช้การโจมตีช่องโหว่แบบ zero-day (ช่องโหว่ที่ยังไม่มีวิธีแก้ไขจากผู้ขายผลิตภัณฑ์)
และใช้หลายขั้นตอนในการโจมตี

2.จะมีการหลอกลวงในเครือข่ายสังคมออนไลน์เพิ่มมากขึ้น

เครือ ข่ายสังคมเป็นหนึ่งในวิธีสำคัญในการสื่อสาร ปฏิสัมพันธ์และร่วมแบ่งปัน ระหว่างผู้บริโภคและธุรกิจผ่านทางเว็บ โชคไม่ดีที่บริการเหล่านี้ตกเป็นเป้าหมายในการก่ออาชญากรรมทางอินเทอร์เน็ต เช่นกัน

แคมเปญที่มีจุดประสงค์ร้ายแพร่หลายไปทั่วสังคมออนไลน์ หนึ่งในวิธีการหลักที่แคมเปญทางเฟซบุ๊คแพร่หลายไป
คือวิธีที่เรียกว่า "likejacking" รูปแบบหนึ่งของเทคนิค clickjacking เมื่อผู้ใช้ถูกหลอกให้กด "Like" ในหน้าเว็บหนึ่งซึ่งจะมีผลให้แสดงข้อความหน้า Wall ในเฟซบุ๊ค บ่อยครั้งที่ข้อความเหล่านี้จะเป็นข้อความที่น่าตื่นเต้น เช่น การตายของอุซามะฮ์ บิน ลาดิน หรือ เอมี ไวน์เฮาส์ ซึ่งจะนำไปสู่หน้าเว็บมุ่งร้ายหรือน่าสงสัย รูปแบบหนึ่งที่พบทั่วไปคือแบบสำรวจออนไลน์ที่บังคับให้ผู้ใช้กรอกข้อมูลก่อน ดูวิดีโอที่ต้องการ ผู้ที่หลอกล่อให้ผู้ใช้กรอกแบบสำรวจได้สำเร็จจะได้เงินตอบแทน ส่วนแคมเปญมุ่งร้ายอื่น ๆ เช่น ใช้บริการย่อ URL เพื่อเปลี่ยนเส้นทางผู้ใช้ไปยังหน้าเว็บมุ่งร้าย หรือหลอกล่อให้ผู้ใช้ copy / paste URL ที่อ้างว่าเป็นวิดีโอลงไปใน address bar โดยตรง

ผู้ให้ บริการเครือข่ายสังคมอย่างเฟซบุ๊คและทวิตเตอร์มีผู้ใช้หลายร้อยล้านคน และตามมาด้วยรายใหม่อย่าง Google+ ถึงแม้จะมีพัฒนาการด้านมาตรการด้านความปลอดภัยใหม่ ๆ ออกมาจากบริษัทผู้ให้บริการเหล่านี้ แต่เนื่องจากผู้ใช้และข้อมูลที่มีจำนวนมากจากผู้ให้บริการไม่กี่แห่ง จึงเป็นที่ดึงดูดอาชญากรทางอินเทอร์เน็ต และก่อให้เกิดการล่อลวงในสังคมออนไลน์เพิ่มมากขึ้นในปีค.ศ. 2012

3. มัลแวร์สำหรับอุปกรณ์พกพาคุกคามผู้ใช้และองค์การ

ในปีค.ศ. 2011 เพียงปีเดียวมีการเติบโตของมัลแวร์สำหรับอุปกรณ์พกพาอย่างมีนัยสำคัญ สิ้นปีค.ศ. 2010
มีมัลแวร์กว่า 2,500 ตัวอย่าง แต่ในปีค.ศ. 2011 เพิ่มขึ้นมากกว่า 7,500 ตัวอย่าง

ในปีค.ศ. 2011 ได้มีมัลแวร์สำหรับแพลตฟอร์มแอนดรอยด์เพื่อดักข้อมูล SMS ที่ธนาคารต่าง ๆ ใช้เพื่อป้องกัน
ลูกค้าจากโทรจัน เป็นตัวอย่างที่ดีของ "เกมแมวไล่จับหนู" ระหว่างผู้โจมตีและผู้ป้องกัน แอนดรอยด์ได้
กลายเป็นแพลตฟอร์มที่ตกเป็นเป้าหมายของมัลแวร์มากที่สุด มากกว่ามัลแวร์ซิมเบียนในครึ่งแรกของปี 2011 อีกด้านหนึ่งของมัลแวร์สำหรับอุปกรณ์พกพาที่เพิ่งเริ่มต้นขึ้น ได้แก่การใช้อุปกรณ์พกพาเป็นบ็อท (bots) ในเครือข่ายbots ที่แพร่หลายในคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ เนื่องจากมีอุปกรณ์และคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเครือข่ายมากขึ้น ผู้โจมตีจึงพยายามนำทรัพยากรเหล่านี้มาใช้เพื่อประโยชน์ของตัวเอง

แอน ดรอยด์ตกเป็นเหยื่อของความสำเร็จของตัวมันเองในหลายแง่มุม เนื่องจากคนแห่กันไปใช้อุปกรณ์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการนี้ ผู้โจมตีก็ทำเช่นเดียวกัน นอกจากนี้แอนดรอยด์ยังมีข้อเสียที่นักพัฒนาสามารถเผยแพร่แอพพลิเคชั่นใด ๆ เข้าไปในMarketplace ได้อย่างง่ายดาย การพัฒนาหนึ่งที่น่าสนใจคือการเปิดตัว Amazon Kindle Fire ซึ่งปกติแล้วจะเชื่อมต่อกับ Amazon application store เท่านั้น หวังว่าทาง Amazon จะให้ความใส่ใจกับแอพพลิเคชั่นที่ยอมให้เผยแพร่ใน application store มากกว่า Marketplaceของกูเกิล

ทุกองค์การควรให้ความสนใจกับจำนวนที่ เพิ่มขึ้นของพนักงานที่ใช้อุปกรณ์ของพวกเขาเองในที่ทำงานและดาวน์โหลดข้อมูล ขององค์การ เช่น อีเมลและไฟล์ต่าง ๆ เข้ามาในอุปกรณ์โดยไม่มีการควบคุม เป็นแนวโน้มที่เรียกว่า consumerization of ITหรือ Bring-Your-Own-Device (BYOD) องค์การจำเป็นต้องเตรียมพร้อมสำหรับปัญหาด้านความปลอดภัยและความร่วมมือที่ เกิดจากการนำอุปกรณ์ที่บริษัทจัดหามาให้ใช้งาน และที่พนักงานนำมาใช้เองด้วย

ใน ปีค.ศ. 2012 เราจะได้เห็นมัลแวร์สำหรับอุปกรณ์พกพาที่มีความซับซ้อนและผลกระทบมากขึ้น มัลแวร์ที่มุ่งเป้าที่สื่อสังคมออนไลน์จะแพร่กระจายมากขึ้น เนื่องจากมีการใช้อุปกรณ์พกพาเพื่อเข้าถึง และอัพเดทสังคมออนไลน์เพิ่มขึ้น โดยมัลแวร์ไม่เพียงแต่มุ่งเป้าที่ข้อมูลของผู้ใช้ แต่สามารถติดตามตำแหน่งของผู้ใช้ด้วย อาจเป็นเรื่องใหญ่ของความปลอดภัยสำหรับเด็ก ผู้ถ่ายภาพลามกเด็กและโจรลักพาตัวอาจสนใจภาพส่วนตัวที่เก็บอยู่ในอุปกรณ์พก พา ซึ่งจะมีข้อมูลพิกัดจีพีเอส (GPS) ของสถานที่ถ่ายภาพ ถึงแม้จะเก็บอยู่ในอุปกรณ์พกพาของผู้ปกครองก็ตาม

ข้อควรกังวลมาก ที่สุดเกี่ยวกับมัลแวร์ในอุปกรณ์พกพาคือ ข้อจำกัดของความสามารถของผลิตภัณฑ์ด้านความปลอดภัยในปัจจุบัน และจุดอ่อนในส่วนของผู้ใช้ เครื่องพีซีที่อยู่ในองค์การจะได้รับการดูแลจากฝ่ายไอที แต่อุปกรณ์พกพาของพนักงาน ที่ใช้เพื่อเข้าถึงและเก็บข้อมูลของบริษัท ดูเหมือนจะถูกละเลย องค์การจำเป็นต้องเพิ่มนโยบายด้านความปลอดภัย ช่วยให้อุปกรณ์พกพาสามารถเปิดเว็บได้อย่างปลอดภัย โดยที่อุปกรณ์พกพาส่วนตัวที่เข้าถึงเครือข่ายของบริษัทนั้นต้องใช้นโยบาย เดียวกันด้วย

4. ช่องโหว่ในซอฟท์แวร์เสริมการทำงานเว็บบราวเซอร์

ซอฟท์แวร์ เสริมสำหรับบราวเซอร์อย่าง Java, Flash Player และ Adobe Reader มีผู้ใช้ทั่วโลกเป็นจำนวนมาก มีช่องโหว่ในผลิตภัณฑ์เหล่านี้ที่พบและถูกโจมตีจำนวนมาก และเป็นเรื่องลำบากสำหรับผู้ดูแลฝ่ายไอทีในการอัพเดทผลิตภัณฑ์เหล่านี้ใน องค์การ ผลิตภัณฑ์เหล่านี้จึงกลายเป็นช่องทางที่ใช้ในการโจมตีที่ได้ผล ผู้ใช้งานเจอความท้าทายเดียวกัน ในบางครั้งฟีเจอร์การทำงานบางอย่างก็ไม่จำเป็นสำหรับผู้ใช้งาน การปิดการทำงานของฟีเจอร์เหล่านั้นช่วยลดความเสี่ยงในการถูกโจมตีได้อย่างมี ประสิทธิภาพ

นอกจากการเติบโตในแง่ของจำนวนแล้ว การโจมตีเหล่านี้ยังมีความซับซ้อนเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย เช่น การซ่อนไฟล์มุ่งร้ายในไฟล์อื่นเพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจจับ การโจมตีที่ใช้ไฟล์ flash มุ่งร้ายที่ฝังในไฟล์เอกสาร และรูปแบบที่คล้าย ๆ กันพบเห็นได้บ่อยขึ้น


สามารถอ่านต่อจนจบบทความได้ที่ http://sran.org/tl

ถามตอบเพื่อสร้างความเข้าใจระบบ Lawful Interception (LI)

$
0
0

ด้วยว่าคำว่า LI หรือ Lawful Interception ยังมีหลายท่านยังสงสัยกับคำศัพท์ดังกล่าวนี้พอสมควร ในฐานะที่ผมเป็นคนแรกๆ ที่เผยแพร่บทความที่เกี่ยวกับ LI มาจึงอยากจะสร้างความเข้าใจให้เกิดขึ้นสำหรับผู้เริ่มศึกษาและผู้ที่จะนำไปสื่อสารหรือเผยแพร่ข้อมูลได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมให้ก่อประโยชน์แก่สังคมต่อไปในอนาคต

จึงขอเริ่มด้วยการ ถาม-ตอบ เกี่ยวกับคำศัพท์ Lawful Interception กันก่อน โดยมีคำถามตั้งต้นดังนี้
1. Lawful Interception คืออะไร ?
2. การจัดทำ Lawful Interception ทำเพื่ออะไร ?
3. มีการดำเนินการจัด LI ทำอย่างไรแบบ step by step ?
4. ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการอะไรบ้าง ?
5. LI ได้ประโยชน์อย่างไร ?
6. ใครเป็นผู้ได้- ใครเสียประโยชน์จากการทำ LI ?
7. การทำ LI มีผลกระทบต่อสังคมอย่างไร ?
โดยข้อ 4 ถึง 7 ยังไม่ขอกล่าวถึงในที่นี้






คำถามที่ 1 : Lawful Interception คืออะไร ?
ตอบ :
คือระบบการตรวจสอบข้อมูลสารสนเทศที่ถูกต้องตามกฏหมาย หรือ กฏระเบียบภายในองค์กร
ซึ่งเราสามารถแบ่งรูปแบบในการตรวจสอบข้อมูลแบบ LI ดังนี้
- ระดับโลก / ระดับภูมิภาค
- ระดับประเทศ
- ระดับบริษัท และหน่วยงาน

1. ระดับโลก / ระดับภูมิภาค นั้นจะพบว่าการสร้างเป็นกฏระเบียบการปฏิบัติการ Lawful Interception มีความพยายามให้เป็นสากลโดยการออกมาตรฐานต่างๆเพื่อมารองรับได้แก่ สถาบันมาตรฐานโทรคมนาคมแห่งยุโรป (European Telecommunications Standards Institute : ETSI) โครงการ 3rd Generation Partnership Project (3GPP) หรือองค์กรต่าง ๆ ของเคเบิลแล็บส์ (CableLabs) ที่รับผิดชอบด้านเครือข่ายไร้สาย/อินเทอร์เน็ต เครือข่ายไร้สาย และระบบเคเบิล ตามลำดับ ในสหรัฐฯ ข้อบังคับที่เทียบเคียงได้ให้อำนาจตามกฎหมาย Communications Assistance for Law Enforcement Act (CALEA) ซึ่งได้ระบุความสามารถเจาะจงโดยการประกาศใช้ ด้วยความร่วมมือของคณะกรรมการกลางกำกับดูแลกิจการสื่อสาร (Federal Communications Commission) และกระทรวงยุติธรรม

2. ระดับประเทศ ในแต่ละประเทศอาจมีกฏระเบียบแตกต่างกันไป ขึ้นกับการบริหารและการปกครองของแต่ละประเทศ อย่างเช่นประเทศที่เป็นสังคมนิยม หรือ สาธารณรัฐก็จะมีความเด็ดขาดในการออกกฏเกณฑ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานข้อมูลสารสนเทศและอินเทอร์เน็ต เช่นประเทศ จีน พม่า และประเทศแถบอาหรับ , ส่วนประเทศที่เป็นเสรี ที่มีระบอบประชาธิปไตย ก็มีหลายประเทศที่ทำ LI อย่างเป็นกิจลักษณะ โดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น อเมริกา แคนาดา ญี่ปุ่น เป็นต้น ด้วยเหตุว่าการเปิดเสรีในแสดงความคิดเห็นในการกระทำใดๆก็ตามนั้น ผู้แสดงความคิดต้องรับผิดชอบการกระทำของตนด้วย เพราะถึงจะเสรีแต่ก็ตรวจสอบได้ หากพบการก่อเหตุอันจะทำให้เป็นภัยแก่ประเทศของตนเอง แล้วนั้นต้องป้องกันภัยไม่ให้ภัยนั้นตกสู่ประชาชน นี้เป็นแนวคิดของประเทศที่เสรีที่พัฒนาแล้ว
สำหรับประเทศไทยนั้นได้มีการนำ LI พิจารณาหลายครั้งแต่ปัจจุบันยังคงไม่ได้ทำกันอย่างเป็นกิจลักษณะและยังไม่มีหน่วยงานที่รับผิดชอบอย่างเป็นทางการ

3. ระดับบริษัท / หน่วยงาน ได้แก่ ธนาคาร บริษัทมหาชน หรือ บริษัทที่เกี่ยวข้องกับการผลิต บริษัทที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลการให้บริการประชาชน เหล่านี้ล้วนแล้วแต่จัดทำ Lawful Interception ซึ่งความแตกต่างในระดับประเทศและภูมิภาคนั้น คือ การดำเนินการและการออกกฏเกณฑ์ต่างๆ ที่อาจจะเกิดผลลัพธ์ในเชิงรูปธรรมได้สะดวกว่าในระดับอื่นที่กล่าวมา

คำถามที่ 2 : การจัดทำ Lawful Interception ทำเพื่ออะไร ?
ตอบ :
เป้าหมายของการทำ Lawful Interception นั้นคือ การตรวจสอบข้อมูลอันอาจก่อให้เกิดความเสียหาย การกระทบต่อความมั่นคงของ ภูมิภาค ประเทศ และ องค์กร
โดยข้อมูลในนี้คือการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร โดยผ่านผู้ให้บริการข้อมูล ซึ่งจะเฉพาะจงเจาะสำหรับข้อมูลที่สื่อสารผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ต เป็นสำคัญ เนื่องจากข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตมีความเสรีในตัว ซึ่งหากจะจำแนกเจาะจงว่าผู้ใดเป็นผู้ส่งสารนั้นจะไม่สามารถทำได้หากขาดระบบการทำ Lawful Interception

ข้อมูลที่ก่อให้เกิดความเสียหาย นั้น อาจแบ่งได้ดังนี้
- ข้อมูลที่เกิดจากการแสดงความคิดเห็นที่เป็นภัยต่อประเทศ และ องค์กร ซึ่งในที่นี้จะหมายถึงความคิดเห็นจากบุคคลทั่วไป หรือ พนักงานในองค์กร ที่มีลักษณะความคิดที่แตกต่างกัน ซึ่งนำไปสู่ความขัดแย้ง อันก่อให้เกิดผลเสียหายตามมา หากมีความผิดตามกฏระเบียบแบบแผน , กฏหมาย , วัฒนธรรมและศิลธรรมอันดีงามแล้วก็จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อภาพลักษณ์องค์กร หรือประเทศ ได้ ยกตัวอย่างเช่น ในระดับประเทศ เป็นประเทศไทย การแสดงความคิดเห็นซึ่งมีผลกระทบต่อสถาบันหลักของประเทศ เช่น สถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชนชาวไทย มีความอ่อนไหวในการแสดงความคิดเห็น หรือแม้กระทั่ง ความขัดแย้งทางความคิดเสื้อแดง เสื้อเหลือง เป็นต้น ในระดับองค์กร ก็จะมองในเรื่องทรัพยากรบุคคล อันทำให้เกิดความเสื่อมเสียขององค์กร และการเสียผลประโยชน์ขององค์กรเป็นหลัก

- ข้อมูลที่เป็นบ่อเกิดของอาชญากรรม ได้แก่ การหลอกลวงในชนิดต่างๆ ผ่านช่องทางการสื่อสาร ซึ่งในปัจจุบันก็จะพบข้อมูลประเภทนี้มากขึ้น เช่น อาชญากรรมข้ามประเทศ , การหลอกลวงผ่านแก๊ง Call Center ผ่านระบบ VoIP อินเทอร์เน็ต , การค้ามนุษย์, การค้ายาเสพติด ผ่านช่องทางสื่อสารอินเทอร์เน็ต เป็นต้น

- ข้อมูลที่เป็นภัยคุกคาม ได้แก่ การก่อการร้าย, การวางระเบิด, การขโมยข้อมูลภายในองค์กร/หน่วยงาน การละเมิดลิขสิทธิ ทรัพย์สินทางปัญญา และการกระทำอื่นที่ทำให้ประชาชนในประเทศและองค์กร เกิดความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เป็นต้น

- ข้อมูลที่เป็นภัยคุกคามทางเทคนิค ได้แก่ การแพร่ระบาดของไวรัสคอมพิวเตอร์ การบุกรุกเครือข่ายคอมพิวเตอร์จาก Hacker , การโจมตีเพื่อให้ระบบข้อมูลไม่สามารถทำงานได้ DDoS / DoS , การส่งข้อมูลขยะ (Spam) การหลอกลวง (Phishing) ทำให้เกิดผู้เสียหาย เป็นต้น

หากประเทศใด หรือ องค์กรใด ยังไม่มีระบบที่สามารถตรวจสอบข้อมูลอันเป็นภัยดังกล่าวมานั้น จะทำให้การก่อเหตุอันไม่เหมาะสมนั้นเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศนั้นได้ เนื่องจากการกระทำความผิดในรูปแบบการสื่อสารผ่านช่องทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตนั้นไม่สามารถตรวจสอบที่มาที่ไปของข้อมูลได้หากไม่มี กระบวนการ ,เทคโนโลยี และ บุคคลการ พอเพียง

ในบางประเทศที่มีการใช้งานข้อมูลอินเทอร์เน็ตจำนวนมาก เช่น จีน และ อเมริกา จึงสนใจการทำ Lawful Interception มากและมีกฏระเบียบที่ชัดเจนสำหรับความมั่นคงของชาติและการป้องกันประเทศของตนให้พ้นจากภัยอันตรายที่เกิดจากการสื่อสารข้อมูล เป็นต้น

คำถามที่ 3 : มีการดำเนินการจัด LI ทำอย่างไรแบบ step by step ?
ตอบ
ขั้นตอนการทำ Lawful Interception (LI) เนื่องจากในขั้นต้นได้บอกว่า LI นั้นเป็นระบบ ซึ่งในระบบนั้นจะมีส่วนประกอบย่อย โดยสามารถแยกเป็นองค์ประกอบได้ดังนี้
1. องค์ประกอบการดำเนินการ LI (Process) : การออกกฏเกณฑ์เพื่อปฏิบัติ อันเป็นที่ยอมรับในสังคม จะจัดทำเป็น
1.1 นโยบาย (Policy) เพื่อออกกฏระเบียบมาตราฐานกลาง (Compliance) ที่ใช้ในประเทศ หรือ องค์กร
1.2 กระบวนการปฏิบัติ (Procedure)
1.3 บทบาทหน้าที่รับผิดชอบ : หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หน่วยงานที่รับผิดชอบในการปฏิบัติงาน หน่วยงานที่กำกับดูแลการออกนโยบาย เป็นต้น

2. องค์ประกอบด้านเทคโนโลยี และการออกแบบระบบ Lawful Interception
2.1 ระดับประเทศ
- จัดทำตามแผนปฏับัติการตามนโยบายงานกลาง (Compliance) ที่กำหนดขึ้น
- ทำความเข้าใจสำหรับผู้ให้บริการข้อมูลเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต
- ศึกษาวงจรการเชื่อมต่อข้อมูลเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอรเน็ตในฝั่งผู้ให้บริการ เพื่อออกแบบระบบให้รองรับกับปริมาณข้อมูลจราจรเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Traffic data)
- การจัดทำประเภทข้อมูลเพื่อใช้ในการทำการตรวจสอบ ได้แก่ ชนิดของ Protocol ที่ใช้สำหรับการสื่อสาร, ชนิดการสื่อสาร เป็นต้น
- การจัดทำระบบตรวจสอบข้อมูลที่สื่อสารกันภายในประเทศ
- การจัดทำระบบตรวจสอบข้อมูลที่สื่อสารจากภายในประเทศออกสู่ต่างประเทศ
- การจัดทำระบบตรวจสอบข้อมูลที่สื่อสารจากต่างประเทศเข้าสู่ภายในประเทศ
- ฐานข้อมูลการเก็บประวัติเพื่อสืบค้นเฉพาะกรณี
หากมีหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบที่รัฐบาลมอบหมายให้ดูแล LI ต้องทำมากขึ้นโดยการนำข้อมูลจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตมาใช้ร่วม (ยังไม่ขออธิบายในขั้นนี้)

*** ในทางเทคนิคแล้วการตรวจสอบข้อมูลในระดับประเทศไม่สามารถที่เก็บบันทึกข้อมูลทุกการกระทำทั้งหมดในการสื่อสารได้ จะทำเป็นกรณีๆ ตามเป้าหมายที่ได้ต้องสงสัยไว้หรือบางแอฟลิเคชั่นที่สำคัญเพื่อเฝ้าติดตามเป็นกรณีพิเศษ ดังนั้นหากคิดว่าจะเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลก็ต้องขอให้คิดใหม่ว่าในทางเทคนิคไม่มีทางที่เก็บข้อมูลได้หมดและข้อมูลที่ได้ก็ยังไม่ได้หมายความว่าคือบุคคลคนนั้นจริง เพราะในโลกการสื่อสารโดยเฉพาะการสื่อสารผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ตสิ่งที่ตรวจสอบได้คือ IP Address เท่านั้น ดังนั้นค่า IP Address ไม่ได้บอกถึงว่าคนคนนั้นคือใครได้ ต้องมีขั้นตอนในการตรวจสอบเพิ่มเติมมากกว่านี้ ส่วนเรื่องเนื้อหาของข้อมูลที่ส่งผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต หากไม่ใช่เนื้อหาจากทางการข่าวให้เฝ้าสังเกต หรือ เนื้อหาที่ก่อให้เกิดอาชญากรรม เป็นเนื้อหาจากการใช้งานอินเทอร์เน็ตโดยทั่วไปก็ไม่ต้องกังวลเพราะการทำระดับประเทศต้องมีเป้าหมายชัดเจนถึงจะสามารถตรวจสอบข้อมูลได้ ***

2.2 ระดับบริษัท
- จัดทำตามแผนปฏับัติการตามนโยบายงานกลาง (Compliance) ที่กำหนดขึ้น
- จัดทำระบบฐานข้อมูลพนักงาน (Inventory) ค่าเครื่องคอมพิวเตอร์ ตามที่อยู่แผนกชั้น
- การจัดทำระบบตรวจสอบข้อมูลที่สื่อสารภายในองค์กร
- การจัดทำระบบตรวจสอบข้อมูลที่สื่อสารจากภายในองค์กรออกสู่นอกองค์กร
- การจัดทำระบบตรวจสอบข้อมูลที่สื่อสารจากภายนอกองค์กรเข้าสู่ภายในองค์กร
- การเก็บบันทึกข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ (Log) ตามกฏหมาย

3. องค์ประกอบในการปฏิบัติการ (Operation) : หากได้มีการจัดตั้งหน่วยงานที่ดูแล เพื่อปฏิบัติการ ต้องจัดหาบุคคลากรที่มีความรู้ความสามารถ และมีบทบาทหน้าที่ในส่วนที่ได้จัดทำขึ้นตามแผนงานและนโยบายที่กำหนดไว้ เพื่อการปฏิบัติงานได้อย่างต่อเนื่องและก่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคมส่วนรวม

โปรดอ่านตอนต่อไป ...

Nontawattana Saraman
นนทวรรธนะ สาระมาน
เขียน 28/01/55

หมายเหตุ :
- หากคัดลอกข้อมูลจากบทความนี้ไปเผยแพร่ ไม่ว่าจะเป็นสาธารณะหรือในที่ประชุม โปรดอ้างอิงชื่อผู้เขียน
- ผู้เขียนได้เขียนบทความนี้จากประสบการณ์ อาจมีบางแง่บางมุมที่แตกต่างกันจากที่ได้รับรู้ และบางแง่บางมุมที่ยังไม่สามารถเผยแพร่ได้อย่างครบถ้วน การนำไปเผยแพร่โปรดใช้วิจารญาณในการติดสินใจ
ภาพประกอบจากบทความ Shadow Factory Revelations : The illegal NSA Domestic Spy Dragnet

วิเคราะห์ malware จาก file Extratos-Debitos.exe

$
0
0
Siamhelpจากข้อมูลใน siamhelp.orgพบว่ามีเว็บหลายเว็บในประเทศไทยมีการติดเชื้อโดยไม่รู้ตัว ซึ่งอาจส่งผลให้คนที่เข้าเยี่ยมชมเว็บเหล่านั้นจะมีการติดเชื้อและแพร่ต่อๆกันไป กลายเป็นส่วนหนึ่งของปริมาณ botnet ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

จากข้อมูล http://www.siamhelp.org/reports/infect
เว็บที่ติดเชื้อ คือ http://daycare.kku.ac.th/media/system/images/Extratos-Debitos.exe  (หากไม่มีระบบป้องกันห้ามเข้า path ดังกล่าว)

เมื่อทำการวิเคราะห์
Step 1  ทำการ whoisที่ http://checkip.me/whomap.php?domain=daycare.kku.ac.th







  • delegation information (beta) for daycare.kku.ac.th
    +-ams.sns-pb.isc.org ams.sns-pb.isc.org (199.6.1.30)
    |+-dns1.thnic.co.th dns1.thnic.co.th (202.28.1.22)
    ||+-ns-a.thnic.co.th ns-a.thnic.co.th (61.19.242.38)
    |||+-ns-e.thnic.co.th ns-e.thnic.co.th (194.0.1.28)
    ||||+-sfba.sns-pb.isc.org sfba.sns-pb.isc.org (149.20.64.3)
    |||||+-th.cctld.authdns.ripe.net th.cctld.authdns.ripe.net (193.0.9.116)
    ||||||+-kknt.kku.ac.th (202.12.97.21)
    |||||||+-kku1.kku.ac.th (202.12.97.1)
    ||||||||+-ns.thnic.net ns.thnic.net ns.thnic.net (202.28.0.1)
    |||||||||+-ns2.kku.ac.th (202.12.97.44)
    ||||||||||
    Step 2  ค้นหาความเกี่ยวข้อง DNS และการ routing 
  • ค้นหาจาก http://sran.org/dns/   หรือ http://dns.robtex.com/daycare.kku.ac.th.html#records
    ผลลัพธ์คือ


    Step 3 ตรวจสอบในระดับ Web Application

    Overview
    URLhttp://daycare.kku.ac.th/media/system/images/Extratos-Debitos.exe
    IP202.12.97.32
    ASNUnknown
    Location Thailand



    โดยปรับ User agent ผ่าน http://urlquery.net
    Settings
    UserAgentMozilla/5.0 (Windows; U; Windows NT 6.1; en-US; rv:1.9.2.13) Gecko/20101203 Firefox/3.6.13
    Referer
    Adobe Reader8.0
    Java1.6.0_26


    Intrusion Detection Systems
    Suricata /w Emerging Threats Pro
    TimestampSource IPDestination IPSeverityAlert
    2012-11-15 07:04:32 202.12.97.32urlQuery Client3FILEMAGIC windows executable
    Snort /w Sourcefire VRT
    TimestampSource IPDestination IPSeverityAlert
    2012-11-15 07:04:32 202.12.97.32urlQuery Client3FILE-IDENTIFY Portable Executable binary file magic detected

    ตรวจสอบโดยใช้ http://wepawet.iseclab.org

    Malware

    Additional (potential) malware:

    URLTypeHashAnalysis
    http://daycare.kku.ac.th/media/system/images/Extratos-Debitos.exePE32 executable for MS Windows (GUI) Intel 80386 32-bit Mono/.Net assembly320ba22fa9b47a135c235786e850f157
    รายละเอียด อ่าน http://wepawet.iseclab.org/view.php?type=js&hash=12a654aded391a575b177607f80ef00d&t=1351079337#sec_network


    สิ่งที่เห็นคือมีการ Redirect  ไปที่โดแมน arjunkarki.org  

    Network Activity

    URLStatusContent Type
    http://daycare.kku.ac.th/media/system/images/Debitos-pendentes.php302text/html
     http://www.arjunkarki.org/media/Debitos-Extrato.jar200application/zip

    Redirects

    FromTo
    http://daycare.kku.ac.th/media/system/images/Debitos-pendentes.phphttp://www.arjunkarki.org/media/Debitos-Extrato.jar

    เมื่อทำการ whois  โดเมนที่ต้องสงสัย ผลที่ได้คือ
    Domain ID:D153928453-LROR
    Domain Name:ARJUNKARKI.ORG
    Created On:25-Aug-2008 16:18:46 UTC
    Last Updated On:27-Oct-2012 02:21:26 UTC
    Expiration Date:25-Aug-2013 16:18:46 UTC
    Sponsoring Registrar:Click Registrar, Inc. d/b/a publicdomainregistry.com (R1935-LROR)
    Status:OK
    Registrant ID:DI_9323685
    Registrant Name:Som Rai
    Registrant Organization:Rural Reconstruction Nepal (RRN)
    Registrant Street1:P.O.Box: 8130
    Registrant Street2:Gairidhara
    Registrant Street3:
    Registrant City:Kathmandu
    Registrant State/Province:Bagmati
    Registrant Postal Code:n/a
    Registrant Country:NP
    Registrant Phone:+977.14427823
    Registrant Phone Ext.:
    Registrant FAX:
    Registrant FAX Ext.:
    Registrant Email:som@rrn.org.np
    Admin ID:DI_9323686
    Admin Name:Anup Manandhar
    Admin Organization:Vianet Communications
    Admin Street1:Pulchowk
    Admin Street2:
    Admin Street3:
    Admin City:Kathmandu
    Admin State/Province:Bagmati
    Admin Postal Code:n/a
    Admin Country:NP
    Admin Phone:+977.15546410
    Admin Phone Ext.:
    Admin FAX:
    Admin FAX Ext.:
    Admin Email:anup@vianet.com.np
    Tech ID:DI_9323686
    Tech Name:Anup Manandhar
    Tech Organization:Vianet Communications
    Tech Street1:Pulchowk
    Tech Street2:
    Tech Street3:
    Tech City:Kathmandu
    Tech State/Province:Bagmati
    Tech Postal Code:n/a
    Tech Country:NP
    Tech Phone:+977.15546410
    Tech Phone Ext.:
    Tech FAX:
    Tech FAX Ext.:
    Tech Email:anup@vianet.com.np
    Name Server:DNS1.ARJUNKARKI.ORG
    Name Server:DNS2.ARJUNKARKI.ORG
    รายละเอียดที่ http://checkip.me/whomap.php?domain=arjunkarki.org
    Link ไปที่เนปาลได้อย่างไร  ... 

    มีความเป็นไปได้ว่าเว็บไซต์ที่นำเสนอมีการโดนเจาะระบบแล้วมีการฝั่ง file ที่มี malware อยู่โดย malware ชนิดนี้ถูกควบคุมจากอีกที่หนึ่ง

    Step 4 วิเคราะห์ file malware

    จากการใช้ virustotal ผลคือ
    File detail
    แสดงรายละเอียดพื้นฐานของไฟล์
    File detail of smona_524c8edb06461ebafd113be10053cc684ec3fba02c3662933bbe081af119c66c.bin
    Scan date2012-11-15 01:41:05 +00:00
    File namesmona_524c8edb06461ebafd113be10053cc684ec3fba02c3662933bbe081af119c66c.bin
    MD5 hashb07609c11d52d6eaa75c368e414bb025
    File typeWin32 EXE
    File Size (Byte)12800
    Detection ratio23 / 44

    Scan result
    แสดงผลลัพธ์การสแกน
    Scan result of smona_524c8edb06461ebafd113be10053cc684ec3fba02c3662933bbe081af119c66c.bin
    VendorVersionResultVirus NameDatabase Date
    TotalDefense37.0.10163Virus not found20121115
    MicroWorld-eScan12.0.250.0Virus foundTrojan.MSIL.Crypt.wvu (ES)20121114
    nProtect2012-11-14.02Virus not found20121114
    CAT-QuickHeal12.00Virus not found20121114
    McAfee5.400.0.1158Virus foundArtemis!B07609C11D5220121115
    K7AntiVirus9.154.7858Virus foundRiskware20121114
    TheHackerNoneVirus not found20121113
    F-Prot4.6.5.141Virus not found20121114
    Symantec20121.2.1.2Virus foundDownloader20121115
    Norman6.08.06Virus foundW32/Troj_Generic.FJBCF20121114
    ByteHero1.0.0.1Virus not found20121110
    TrendMicro-HouseCall9.700.0.1001Virus foundTROJ_BANLOAD.GQU20121115
    Avast6.0.1289.0Virus foundWin32:Malware-gen20121115
    eSafe7.0.17.0Virus not found20121112
    ClamAV0.97.3.0Virus not found20121115
    Kaspersky9.0.0.837Virus foundTrojan.MSIL.Crypt.wvu20121114
    BitDefender7.2Virus not found20121114
    Agnitum5.5.1.3Virus not found20121114
    ViRobot2011.4.7.4223Virus not found20121114
    Sophos4.83.0Virus not found20121115
    Comodo14205Virus not found20121115
    F-Secure9.0.17090.0Virus not found20121115
    DrWeb7.0.4.09250Virus not found20121115
    VIPRE13982Virus foundTrojan.Win32.Generic!BT20121115
    AntiVir7.11.50.38Virus foundTR/MSIL.Crypt.wvu20121115
    TrendMicro9.561.0.1028Virus foundTROJ_BANLOAD.GQU20121115
    McAfee-GW-Edition2012.1Virus foundArtemis!B07609C11D5220121115
    Emsisoft3.0.0.569Virus foundTrojan.MSIL.Crypt.AMN (A)20121115
    Jiangmin13.0.900Virus not found20121114
    Antiy-AVL2.0.3.7Virus not found20121115
    Kingsoft2012.9.22.155Virus foundWin32.Troj.Crypt.(kcloud)20121112
    Microsoft1.8904Virus not found20121114
    SUPERAntiSpyware5.6.0.1008Virus foundTrojan.Agent/Gen-Frauder20121115
    GData22Virus foundWin32:Malware-gen20121115
    Commtouch5.3.2.6Virus not found20121114
    AhnLab-V32012.11.15.00Virus foundSpyware/Win32.ArchSMS20121114
    VBA323.12.18.3Virus not found20121114
    PCTools8.0.0.5Virus foundDownloader.Generic20121115
    ESET-NOD327693Virus foundMSIL/TrojanDownloader.Banload.K20121114
    Rising24.36.01.05Virus not found20121114
    IkarusT3.1.1.122.0Virus foundTrojan.Msil20121115
    Fortinet5.0.26.0Virus foundMSIL/Banload.K!tr20121115
    AVG10.0.0.1190Virus foundAgent3.CKIJ20121115
    Panda10.0.3.5Virus foundTrj/CI.A20121114





    File fuzzy hashing
    Context Triggered Piecewise Hashing ของไฟล์
    File ssdeep of smona_524c8edb06461ebafd113be10053cc684ec3fba02c3662933bbe081af119c66c.bin
    192:sxwuKTS5DJ+z2LdY1GQk7b1AURjsNyHRW+iBMWO7h7urmpvL2IYRR2:huKTS5MsYoKLYHR2MDyrmpD2s

    File metadata
    แสดงรายละเอียดและคุณลักษณะของไฟล์
    File exif of smona_524c8edb06461ebafd113be10053cc684ec3fba02c3662933bbe081af119c66c.bin
    PropertyValue
    subsystemversion4.0
    linkerversion8.0
    imageversion0.0
    fileversionnumber0.0.0.0
    uninitializeddatasize0
    languagecodeNeutral
    fileflagsmask0x003f
    charactersetUnicode
    initializeddatasize1536
    originalfilenameloader.exe
    mimetypeapplication/octet-stream
    legalcopyright
    fileversion0.0.0.0
    timestamp2012:11:08 19:35:04+00:00
    filetypeWin32 EXE
    petypePE32
    internalnameloader.exe
    productversion0.0.0.0
    filedescription
    osversion4.0
    fileosWin32
    subsystemWindows GUI
    machinetypeIntel 386 or later, and compatibles
    codesize10752
    filesubtype0
    productversionnumber0.0.0.0
    entrypoint0x48ee
    objectfiletypeExecutable application
    assemblyversion0.0.0.0



    รายละเอียดดูจาก http://www.siamhelp.org/scan/result/file/b07609c11d52d6eaa75c368e414bb025

    เมื่อเอาค่า MD5 จาก file ไวรัสมาตรวจสอบพบว่า มี File name ที่เป็นไวรัสเดียวกันดังนี้

    File names 
    1. Extratos-Debitos.exe
    2. file-4758613_exe
    3. loader.exe
    4. output.3545948.txt
    5. b2c920576cebc4cde06f22763d9bf116f0a3e9cb.exe
    6. 3545948
    7. smona_524c8edb06461ebafd113be10053cc684ec3fba02c3662933bbe081af119c66c.bin



    แล้วพบกันตอนหน้า ...

    ตามล่ามัลแวร์ iframe injection เว็บไซต์ในไทย

    $
    0
    0
    ตรวจมัลแวร์ Redkit exploit kit iframe injection
    ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
    พบเหตุการณ์
    ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
    ที่ http://www.cru.ac.th/cru_web/
    ตรวจสอบจากเครือข่ายแม่ข่าย
    ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
    Nmap scan report for 110.77.220.122
    Host is up (0.31s latency).
    Not shown: 992 filtered ports
    PORT STATE SERVICE VERSION
    20/tcp closed ftp-data
    21/tcp open ftp vsftpd (before 2.0.8) or WU-FTPD
    |_banner: 220 Welcome to CRU FTP services.
    22/tcp open ssh OpenSSH 4.3 (protocol 2.0)
    |_banner: SSH-2.0-OpenSSH_4.3
    25/tcp closed smtp
    80/tcp open http Apache httpd 2.2.3 ((CentOS))
    | http-headers:
    | Date: Tue, 23 Jul 2013 06:40:32 GMT
    | Server: Apache/2.2.3 (CentOS)
    | Last-Modified: Wed, 10 Jul 2013 07:45:56 GMT
    | ETag: "1426800c-1556e-4e12377bfb500"
    | Accept-Ranges: bytes
    | Content-Length: 87406
    | Connection: close
    | Content-Type: text/html
    |
    |_ (Request type: GET)
    | http-title: xE0xB9x82xE0xB8xA3xE0xB8x87xE0xB9x80xE0xB8xA3xE0xB8xB5xE0xB8xA2xE0xB8x99xE0xB8x8AxE0xB8xA5xE0xB8xA3xE0xB8xB2xE0xB8xA9xE0xB8x8FxE0xB8xA3xE0xB8xADxE0xB8xB3xE0xB8xA3xE0xB8xB8xE0xB8x87 xE0...
    |_Requested resource was http://110.77.220.122/cru_web/
    110/tcp closed pop3
    143/tcp closed imap
    443/tcp open ssl/http Apache httpd 2.2.3 ((CentOS))
    | http-headers:
    |_ (Request type: GET)
    | ssl-cert: Subject: commonName=Chon1/organizationName=Chonradsadornumrung School/stateOrProvinceName=Chonburi/countryName=TH/emailAddress=cru_school@hotmail.com/localityName=Chonburi/organizationalUnitName=Chonchai
    | Issuer: commonName=Chon1/organizationName=Chonradsadornumrung School/stateOrProvinceName=Chonburi/countryName=TH/emailAddress=cru_school@hotmail.com/localityName=Chonburi/organizationalUnitName=Chonchai
    | Public Key type: rsa
    | Public Key bits: 1024
    | Not valid before: 2012-05-14T14:37:18+00:00
    | Not valid after: 2032-05-09T14:37:18+00:00
    | MD5: 394a 5a16 1dfb f58a 3705 69dc 47a5 4908
    | SHA-1: 57c1 542d 00cd 6554 b04d 3d54 13ff bec0 d3fd d194
    | -----BEGIN CERTIFICATE-----
    | MIICvTCCAiYCCQDdu+DGElp74DANBgkqhkiG9w0BAQUFADCBojELMAkGA1UEBhMC
    | VEgxETAPBgNVBAgTCENob25idXJpMREwDwYDVQQHEwhDaG9uYnVyaTEjMCEGA1UE
    | ChMaQ2hvbnJhZHNhZG9ybnVtcnVuZyBTY2hvb2wxETAPBgNVBAsTCENob25jaGFp
    | MQ4wDAYDVQQDEwVDaG9uMTElMCMGCSqGSIb3DQEJARYWY3J1X3NjaG9vbEBob3Rt
    | YWlsLmNvbTAeFw0xMjA1MTQxNDM3MThaFw0zMjA1MDkxNDM3MThaMIGiMQswCQYD
    | VQQGEwJUSDERMA8GA1UECBMIQ2hvbmJ1cmkxETAPBgNVBAcTCENob25idXJpMSMw
    | IQYDVQQKExpDaG9ucmFkc2Fkb3JudW1ydW5nIFNjaG9vbDERMA8GA1UECxMIQ2hv
    | bmNoYWkxDjAMBgNVBAMTBUNob24xMSUwIwYJKoZIhvcNAQkBFhZjcnVfc2Nob29s
    | QGhvdG1haWwuY29tMIGfMA0GCSqGSIb3DQEBAQUAA4GNADCBiQKBgQDUNiDSmaZ3
    | neIoKKaDubNIT3tKHx8y84L7bfs+xC319iNtgHFv/DsnaQS4tjPVrI3jorK8FDzV
    | K9n5TNLIEarayHft7HOzToerNcwYshrArb8qpXrRD7SJoHfmMH5z+CE9TqFQEh22
    | fDssKN0+/mA2/GMsxX7P1D5VbAm+BdM95QIDAQABMA0GCSqGSIb3DQEBBQUAA4GB
    | AG051xp8Q6hvcW+IhJRXAanVKtod7TXG4ZVQ0Elx8AxsnGdk4rD0mvPXE7vWf7bG
    | onvP8eBQKv4SvHLDzee9qxRxwcZAGXsI80TagIG0ekI4q03Nk3RiaycWDgP7kR48
    | BOhMR+pMi8RQfZTdjBK14GOD/wgpBVlA2ycvg+87ZOwg
    |_-----END CERTIFICATE-----
    Aggressive OS guesses: Linux 2.6.18 (92%), Linux 2.6.32 (92%), FreeBSD 6.2-RELEASE (91%), Linux 2.6.9 - 2.6.18 (91%), Cisco UC320W PBX (Linux 2.6) (90%), Linux 2.6.9 (90%), Linux 2.6.22.1-32.fc6 (x86, SMP) (89%), Linux 2.6.5 (89%), Linux 2.6.11 (89%), Linux 2.6.28 (89%)
    No exact OS matches for host (test conditions non-ideal).
    Service Info: Host: CRU

    Host script results:
    | asn-query:
    | BGP: 110.77.220.0/24 and 110.77.208.0/20 | Country: TH
    | Origin AS: 131090 - CAT-IDC-4BYTENET-AS-AP CAT TELECOM Public Company Ltd,CAT
    |_ Peer AS: 4651
    | dns-blacklist:
    | SPAM
    |_ l2.apews.org - SPAM
    | hostmap-ip2hosts:
    | hosts:
    | cru.ac.th
    |_ www.cru.ac.th

    +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
    การเชื่อมโยง
    +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

    +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
    พบสิ่งผิดปกติ
    ที่เกิดจาก iframe ซ่อนโดแมนมัลแวร์ในเว็บ
    +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
     width="210" height="210" src="source/swf/clock.swf" quality="high"
    pluginspage="http://www.adobe.com/shockwave/download/download.cgi?P1_Prod_Version=ShockwaveFlash"
    type="application/x-shockwave-flash">


    width="864" height="354" src="source/swf/banner.swf" quality="high"
    pluginspage="http://www.adobe.com/shockwave/download/download.cgi?P1_Prod_Version=ShockwaveFlash"
    type="application/x-shockwave-flash">


    +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
    ตรวจการเรียกข้อมูล
    ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
    URLStatusContent Type
    http://www.cru.ac.th/302text/html
     http://www.cru.ac.th/cru_web/200text/html
     http://www.cru.ac.th/cru_web/js/jquery.js200application/x-javascript
     http://mybodybuildingjourney.com/oeef.html?j=3267321301text/html
     http://mikeborge.com/oeef.html?j=3267321200text/html
     http://mikeborge.com/0o4.jar200application/zip
     about:blank200text/html
     http://www.cru.ac.th/cru_web/js/easySlider1.7.js200application/x-javascript
     http://www.cru.ac.th/cru_web/Scripts/AC_RunActiveContent.js200application/x-javascript
     http://www.cru.ac.th/cru_web/source/swf/banner.swf200application/x-shockwave-flash
     http://www.cru.ac.th/cru_web/source/swf/clock.swf200application/x-shockwave-flash
     http://artisticgenepool.com/oaaf.html?j=3267321301text/html
     http://mikeborge.com/oaaf.html?j=3267321404empty
     http://mybodybuildingjourney.com/oeef.html?i=3267321301text/html
     http://mikeborge.com/oeef.html?i=3267321404empty
     http://www.cru.ac.th/cru_web/css/mainMenu.css200text/css
     http://www.cru.ac.th/cru_web/css/screen.css404text/html
     http://www.cru.ac.th/cru_web/css/topMenu.css200text/css
     http://www.cru.ac.th/cru_web/css/personMenu.css404text/html
    Redirects
    FromTo
    http://www.cru.ac.th/http://www.cru.ac.th/cru_web/
    http://mybodybuildingjourney.com/oeef.html?j=3267321http://mikeborge.com/oeef.html?j=3267321
    http://artisticgenepool.com/oaaf.html?j=3267321http://mikeborge.com/oaaf.html?j=3267321
    http://mybodybuildingjourney.com/oeef.html?i=3267321http://mikeborge.com/oeef.html?i=3267321
    ActiveX controls
    • D27CDB6E-AE6D-11CF-96B8-444553540000
      NameValue
      Attributesmovie
      source/swf/clock.swf
      jQuery1366577423256
      147.0
      1022.0
      quality
      high
    • =================================
    • ตรวจ HTTP
    • =================================
    • โหลด HTTP Capture แบบ Proxy Request จะเห็นการติดต่อไปที่ เว็บมัลแวร์ mybodybuildingjourney.com

    ==============================================================
    ตรวจ Whois
    ==============================================================
    Domain name: mybodybuildingjourney.com
    Registrant Contact:
    Pete81
    Petri Olsson ()
    Fax:
    Saarenvainionkatu 15 D 57
    Tampere, FIN 33710
    FI
    Administrative Contact:
    Pete81
    Petri Olsson (holaluna81@yahoo.com)
    +358.405079703
    Fax: +1.5555555555
    Saarenvainionkatu 15 D 57
    Tampere, FIN 33710
    FI
    Technical Contact:
    Pete81
    Petri Olsson (holaluna81@yahoo.com)
    +358.405079703
    Fax: +1.5555555555
    Saarenvainionkatu 15 D 57
    Tampere, FIN 33710
    FI
    Status: Locked
    Name Servers:
    ns3321.hostgator.com
    ns3322.hostgator.com
    Creation date: 15 Oct 2009 16:41:05
    Expiration date: 15 Oct 2013 16:41:05



    +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

    Link 
    https://www.virustotal.com/th/url/e23ec6b60262684212b39c1751a04d5fe8c573beb91826b30c50684c257ee39f/analysis/
    http://wepawet.iseclab.org/view.php?hash=66100e0d535a4c1119acb647613b4b70&t=1366577405&type=js
    http://urlquery.net/report.php?id=2104305
    http://checkip.me/whomap.php?domain=mybodybuildingjourney.com

      การป้องกันเว็บไซต์ผ่านระบบ SRAN IN Block

      $
      0
      0
      SRAN iBlock เป็นบริการหนึ่งของบริษัทโกลบอลเทคโนโลยี อินทรีเกรดเทค (www.gbtech.co.th) จัดทำขึ้นมาเพื่อวัถตุประสงค์ป้องกันเว็บไซต์ในประเทศไทยให้ปลอดภัยจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ อีกทั้งเสริมประสิทธิภาพให้เว็บไซต์ที่ใช้บริการมีการเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ด้วยนิยามที่ว่า “Fast and Secure” โดยการให้บริการผ่านระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) โดยผู้ใช้งานไม่ต้องลงทุนด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ และใช้งานได้ทุกระบบปฏิบัติการ ไม่ต้องเปลี่ยนค่าโค้ดของเว็บไซต์ เพียงแค่ปรับเปลี่ยนค่าดีเอ็นเอส (DNS) ในเครื่องเว็บเซิร์ฟเวอร์ ใช้เวลาไม่เกิน 10 นาที เว็บไซต์ของหน่วยงานท่านก็จะมีความมั่นคงปลอดภัยทางข้อมูลมากขึ้น หลีกเลี่ยงภัยคุกคามที่เข้าถึงเว็บไซต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประหยัดงบประมาณในการลงทุนป้องกันภัย
      ด้วยเทคโนโลยีเครือข่ายอัจฉริยะที่ทางทีมงาน SRAN ได้พัฒนาขึ้นจะทำให้เว็บไซต์ที่ใช้บริการ iBlock สามารถหยุดยั้งภัยคุกคามที่เกิดขึ้นจากการโจมตีผ่านช่องทางเว็บแอฟลิเคชั่น (Web Application hacking) ไม่ว่าเป็นการโจมตีที่พยายามเข้าถึงระบบฐานข้อมูล , การโจมตี DDoS/DoS และอื่นๆ รวมมากกว่า 1,000 รูปแบบการโจมตี รวมถึงมีการให้บริการเสริมเพื่อทำการปิดกั้นการเข้าถึงข้อมูลด้วยชุดไอพีแอดเดรสแบบอำพรางตนเอง (Tor Network)  ซึ่งทำให้เว็บไซต์ของหน่วยงานมีความปลอดภัยจากนักโจมตีระบบมากขึ้น 


      ภาพแสดงขั้นตอนการทำงานของ IN Block Services
      ขั้นตอนที่ 1 ก่อนใช้บริการ SRAN IN Block เว็บไซต์ทั่วไปได้ถูกออกแบบมาให้มีการติดต่อสื่อสารแบบ Client – Server กล่าวคือมีการติดต่อผ่านอินเทอร์เน็ตแล้วเข้าเยี่ยมชมเนื้อหาบนเว็บไซต์ได้โดยตรง  เมื่อมีการจดทะเบียนชื่อโดเมนแนม และค่าไอพีแอดเดรสที่ได้จากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP : Internet Services Provider) ซึ่งเป็นการติดต่อสื่อสารเว็บไซต์ทั่วไปโดยผู้ใช้งานจะสามารถเรียกข้อมูลได้โดยตรงโดยที่ไม่สามารถแยกแยะได้ว่าผู้ใช้งานดังกล่าวติดเชื้อหรือมีลักษณะถึงการโจมตีเว็บไซต์ เจาะระบบข้อมูล ซึ่งจะเห็นได้ว่าวิธีนี้ไม่ได้ช่วยในการป้องกันภัยที่อาจเกิดขึ้น ต่อมาได้มีการคิดค้นวิธีการป้องกันโดยนำเอาอุปกรณ์ป้องกันหรือเรียกว่า Web Application Firewall ที่เป็นฮาร์ดแวร์ Appliance มาติดตั้งอยู่หน้าเว็บไซต์ซึ่งกรณีนี้จะทำให้ผู้ใช้งานต้องลงทุนในการติดตั้งและซื้ออุปกรณ์มาป้องกันภัยด้วยงบประมาณสูง เป็นเหตุผลให้เกิดบริการ SRAN IN Block ขึ้นมาเพื่อให้เว็บไซต์มีความปลอดภัยและเข้าถึงข้อมูลรวดเร็ว อีกทั้งประหยัดงบประมาณไม่ต้องลงทุนซื้อฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์

      ขั้นตอนที่ 2 เมื่อใช้บริการ SRAN IN Block ผู้ให้บริการเว็บไซต์ต้องทำการเปลี่ยนค่า DNS ในเครื่องเว็บเซิร์ฟเวอร์ เพื่อชี้ค่าไปที่ SRAN IN Block Center ซึ่งจัดทำบนระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) เมื่อมีการอัพเดทค่า DNS ใหม่ ผู้ใช้งานทั่วไปเมื่อเปิดหน้าเว็บเพจที่ใช้บริการ SRAN IN Block ก็จะเข้าถึงข้อมูลได้อย่างปกติ แต่เพิ่มการป้องกันภัยและมีความรวดเร็วขึ้น “Fast and Secure”

      ขั้นตอนที่ 3 ด้วยคุณสมบัติในการป้องกันการโจมตีระบบ (Web Application Firewall) , การอำพรางค่าไอพีแอดเดรสเพื่อวัตถุประสงค์โจมตีเว็บไซต์ ก็จะไม่สามารถทำได้โดยสะดวก ด้วยเทคโนโลยี SRAN IN Block จะทำให้ลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นต่อเว็บไซต์หน่วยงานของท่านได้ และมีการจัดเก็บค่า Log File เพื่อให้สอดคล้องกับกับกฎหมายในประเทศไทยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์อีกด้วย


      "รู้เขา รู้เรา" ใครโจมตีเรา และเราโจมตีใคร

      $
      0
      0
      เราเคยเสนอระบบเพื่อให้รู้ทันภัยคุกคามจากการโจมตีบนโลกไซเบอร์ให้กับรัฐบาลไทย เพื่อให้ภาพรวมการโจมตีที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เพื่อการป้องกันภัยอย่างยั้งยืน แต่ด้วยว่าเป็นเรื่องที่อธิบายลำบากเนื่องด้วยเป็นภาษาทางเทคนิคจึงทำให้โครงการยังไม่เกิดเป็นชิ้นเป็นอัน  ด้วยความฝันส่วนตัวของกลุ่มเราจึงอยากทำระบบดังกล่าวให้เป็นความจริงโดยไม่ต้องสนใจว่าใครจะให้ทำ เงินลงทุนมาจากไหน ? หรือระบบนี้จะเป็นว่าต้องการหรือไม่ก็ตาม เราได้ดำเนินการด้วยเงินทุนตัวเองสร้างระบบขึ้นมาจนเราได้เก็บเกี่ยวข้อมูลได้ระดับหนึ่งเป็นข้อมูลที่น่าสนใจ  และเป็นพื้นฐานที่ดีในการจะ "รู้เขา รู้เรา" หากนำไปใช้จริงจะช่วยลดปริมาณข้อมูลจราจร (Data Traffic) ที่เป็นภัยคุกคามไม่ว่าเป็นภัยทางอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ที่แฝงมากับการสร้างบอทเน็ต การหลอกลวง การแฮก การขโมยข้อมูลเป็นต้น จะทำให้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยมีความมั่นคงปลอดภัยขึ้นโดยเฉพาะประชาชนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตทั่วไปในประเทศไทย ที่อาจมีความรู้ทางด้านเทคนิคการป้องกันตัวและเป็นผู้ใช้งานทั่วไปที่ไม่มีความรู้ทางเทคนิคในการป้องกันตัวจะได้รับประโยชน์กับการใช้งานอย่างปลอดภัยขึ้น

      ในอดีตจนถึงปัจจุบันเรายังไม่เคยมีการจัดทำข้อมูลเชิงสถิติเพื่อให้ทราบถึงภัยคุกคามที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เหตุผลหนึ่งที่เกิดการจัดทำระบบ SRAN [in] block นี้ขึ้นก็มาจากคำพูดที่กล่าวว่า “รู้เขา รู้เรารบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง” มาใช้ในการประเมินสถานการณ์ด้านภัยคุกคามบนโลกไซเบอร์สำหรับประเทศไทยเรา พบว่าเรายังไม่มีข้อมูลเพียงพอสำหรับการประเมินได้เลย เราแทบไม่รู้ว่า เราไปโจมตีใครบ้างในโลกไซเบอร์ และ มีใครโจมตีเราบ้างในโลกไซเบอร์ ซึ่งวิธีการทำให้รู้เขารู้เรานั้นจำเป็นต้องมีการจัดทำระบบและข้อมูลในเชิงรุกขึ้น 

      เมื่อเปรียบเทียบการโจมตีที่เกิดขึ้นบนโลกไซเบอร์นั้นอาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ได้แก่

      (1)  Client Compromiseคือ เครื่องลูกข่ายที่ถูกควบคุมจากแฮกเกอร์ไม่ว่าเป็นการถูกทำให้ติดเชื้อหรือการถูกทำการใดการหนึ่งที่มีผู้ควบคุมจากทางไกล ซึ่งเครื่องลูกข่ายที่กล่าวถึงนั้น ได้แก่ คอมพิวเตอร์ที่ใช้ตามบ้าน, คอมพิวเตอร์ที่ใช้ในสำนักงาน หรือเครื่องทำงานของพนักงาน , โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น ซึ่ง Client Compromise หากจัดทำข้อมูลขึ้นและระบุประเทศไทยได้ก็จะทำให้ทราบถึงการรู้ว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ในประเทศเราไปโจมตีที่ใดอยู่บ้าง ตัวอย่างเครื่อง Client ที่ถูก Compromise จากการจัดทำข้อมูลจากทีมงาน SRAN ผ่านเทคโนโลยี Honey pot สามารถดูได้ที่ http://www.sran.org/attackจะทำให้เห็นภาพรวมเครื่องลูกข่ายที่ติดเชื้อและพยายามโจมตีเครื่องคอมพิวเตอร์ไปยังที่ต่างๆทั่วโลก ซึ่งบางเครื่องมาจากคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค (Notebook) ตามบ้านที่ใช้บริการอินเทอร์เน็ต แม้กระทั่งเครื่องมือถือที่ใช้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านโครงข่ายมือถือ 2G และ 3G เป็นต้น 


      ภาพที่ 1 ข้อมูลใน www.sran.net/attackแสดงข้อมูลเครื่องคอมพิวเตอร์ในประเทศไทยที่พยายามโจมตีบนโลกไซเบอร์ ซึ่งการโจมตีที่พบนั้นอาจจะโจมตีทั้งในและต่างประเทศ โดยที่เครื่องเหล่านี้ไม่รู้ตัวว่ากลายเป็นนักโจมตีระบบไปเสียแล้ว และเมื่อเราระบุแหล่งที่มาของค่าไอพีแอดเดรสลงบนแผนที่สารสนเทศ (GeoIP) แล้วจะพบว่าคอมพิวเตอร์เกือบทุกจังหวัดในประเทศไทยเป็นนักโจมตีระบบทั้งสิ้น

      ภาพที่ 2 การแสดงข้อมูลเฉพาะประเทศไทยในวันที่ 20 กรกฏาคม 2556 เวลา 19:20 พบว่าส่วนใหญ่เครื่องคอมพิวเตอร์ในประเทศไทยที่โจมตีระบบที่อื่ๆ ทั่วโลกจะโจมตีบริการ SSH มากที่สุด 

      ภาพที่ 3 ตัวอย่างการแสดงผลเครื่องคอมพิวเตอร์ในประเทศไทยที่กลายเป็นนักโจมตีระบบทั้งที่ตนเองอาจไม่รู้ตัว ซึ่งหากตรวจสอบดูแล้วส่วนใหญ่เป็นผู้ใช้งานตามบ้าน / ผู้ใช้งานมือถือ มีทั้งการติดเชื้อเป็นบอทเน็ต และเป็นนักโจมตีรหัสผ่าน (Brute force password) รวมทั้งการส่งข้อมูลขยะ (Spam)

      ***** สรุปในข้อ 1 คือเครื่องคอมพิวเตอร์ในประเทศไทย ไปโจมตี ชาวบ้าน (ทั้งในประเทศและต่างประเทศ) ตกเป็นเหยื่อ โดยส่วนใหญ่ไม่รู้ตัว

      (2) Server Compromiseคือ เครื่องแม่ข่ายที่ถูกควบคุมจากแฮกเกอร์ ไม่ว่าเป็นการถูกทำให้ติดเชื้อหรือการถูกทำการใดการหนึ่งที่มีผู้ควบคุมจากทางไกลได้ ซึ่งเครื่องแม่ข่ายที่กล่าวถึงนั้นมักจะเป็นเครื่องที่ออนไลน์ตลอดเวลา 24x7 ได้แก่ เว็บเซิร์ฟเวอร์ , เมล์เซิร์ฟเวอร์ , ดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์ และเครื่องแม่ข่ายอื่นๆ ที่ค่าไอพีแอดเดรส หรือ โดเมนแนม สาธารณะที่สามารถเข้าถึงได้ผ่านทางอินเทอร์เน็ต ส่วนนี้เป็นการรู้เขา ใครโจมตีเราที่ไหนบ้าง หน่วยงานไหนบ้าง ตัวอย่างเครื่อง Server ที่ถูก Compromise เฉพาะในประเทศไทย ที่ทีมงาน SRAN ได้เก็บรวบรวมข้อมูลมาพบว่า



      ภาพที่ 4 สถิติภาพรวมการตรวจจับการถูกที่อื่นโจมตีที่เกิดขึ้นกับเครื่องแม่ข่าย (Server) ในประเทศไทย ซึ่งภาพนี้เป็นการแสดงข้อมูลเครื่องแม่ข่ายในประเทศไทยที่ถูกโจมตี ทั้งถูกแฮกเว็บไซต์ (Web Attack) , การยึดเครื่องเพื่อสร้างเป็นเครื่องหลอกลวงข้อมูล (Phishing) และ เครื่องแม่ข่ายที่ติดเชื้อมัลแวร์ (Malware)   รวมถึงสถิติช่องโหว่ และเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เปิดบริการ Proxy เพื่อการอำพรางไอพีแอดเดรส เป็นต้น ข้อมูลที่แสดงจากวันที่ 19 กรกฏาคม 2556  ด้านล่างเป็นจำนวนสถิติผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยเรียงตามตัวเลขการถูกโจมตี ซึ่งจะพบว่า ASN หมายเลข 9931 ของ CAT Telecom ถูกโจมตีมากที่สุดถึง 5,284 ครั้ง เฉพาะการถูกแฮกหรือเปลี่ยนหน้าเว็บเพจ (Web Attack)

      ภาพที่ 5 การค้นพบเครื่องแม่ข่ายในประเทศไทย ที่ถูกแฮก และเปลี่ยนหน้าเว็บเพจ

      ภาพที่ 6 การค้นพบเครื่องแม่ข่ายในประเทศไทย ที่ถูกสร้างเป็นเว็บไซต์หลอกลวง (Phishing) 

      ภาพที่ 7 การค้นพบเครื่องแม่ข่ายในประเทศไทย ที่ติดเชื้อมัลแวร์ (Malware) ซึ่งมีโอกาสแพร่เชื้อให้กับผู้ใช้งานที่เปิดหน้าเพจนั้นๆ

      ซึ่งทั้งหมด สามารถดูรายประเภทได้ที่ http://www.sran.net/statistic?q=ซึ่งจากข้อมูลพบว่าประเทศไทยของเรานั้นประสบปัญหาการที่เครื่องแม่ข่ายถูกควบคุมจากแฮกเกอร์ ไม่ว่าเป็นการถูกทำให้ติดเชื้อหรือถูกทำการใดการหนึ่งที่ทำให้สามารถควบคุมระยะไกลได้เป็นจำนวนมาก จากสถิติในเว็บไซต์ www.sran.net/reportsเมื่อพิจารณาย้อนหลังไป 3 ปี คือปี พ.ศ. 2554 – มิถุนายน 2556 (ค.ศ. 2011 – 2013) พบว่ามีเครื่องคอมพิวเตอร์ในประเทศไทยที่ทั้งติดเชื้อมัลแวร์ (Malware) , การถูกโจมตีเว็บไซต์จากแฮกเกอร์ (Web Attack) และการตกเป็นเครื่องในการเผยแพร่ข้อมูลหลอกลวง (Phishing) ซึ่งเหล่านี้ล้วนเป็นเครื่องแม่ข่าย (Server)


      ภาพที่ 8 สถิติการถูกโจมตีตั้งแต่ปี ค.ศ 2011 - 2013 (ปัจจุบัน) ตามประเภทเครื่องแม่ข่ายที่ถูกโจมตีทั้งการถูกแฮก การตกเป็นเครื่องหลอกลวง และการติดเชื้อ




      ภาพที่ 9 เมื่อมีการแบ่งประเภทตามหน่วยงานที่มีเครื่องแม่ข่ายที่ตกเป็นฐานในการโจมตีก็พบว่าหน่วยงาน ปี 2011 ภาครัฐบาลถูกโจมตีมากที่สุด ปี 2012 ภาครัฐบาลถูกโจมตีมากที่สุด
      ปี 2013 ประเภทเอกชน (Commercial) ถูกโจมตีมากที่สุด รองลงมาคือภาคการศึกษา (Academic) เป็นต้น

      จากข้อมูลย้อนหลัง 2 ปีกับอีก 6 เดือนพบว่าแนวโน้มการที่เครื่องแม่ข่าย (Server) ในประเทศไทยจะติดเชื้อมัลแวร์และการตกเป็นเครื่องมือในการเผยแพร่ข้อมูลหลอกลวง (Phishing) มีอัตราเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลทำให้มีการแพร่กระจายไวรัสและข้อมูลหลอกลวงไปสู่ประชาชนมีค่อนข้างสูง เพราะจากสถิติในปีล่าสุดพบว่ามีเครื่องแม่ข่าย (Server) ที่ติดเชื้อไปแล้ว 10,652 ครั้ง ซึ่งปริมาณมากกว่าสิ้นปี 2555 และ 2554 เสียอีก ดังนั้นจึงเป็นที่มาของภารกิจในการ ”ลดความเสี่ยง” และประหยัดงบประมาณ สำหรับเครื่องแม่ข่ายที่ยังขาดระบบรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางข้อมูลไม่ให้ตกเป็นเป้าในการโจมตีของแฮกเกอร์และการติดเชื้อมัลแวร์จากการใช้งานอินเทอร์เน็ต นั้นทีมงาน SRAN พัฒนาได้คิดค้นเทคนิควิธีที่ช่วยในการลดความเสี่ยงต่อภัยอันตรายต่างๆ ด้วยการนำข้อมูลจราจรที่ผ่านการใช้งานเว็บเซิร์ฟเวอร์ผ่านมาช่องดีเอ็นเอสผ่านคลาวด์คอมพิวติ้ง ที่ทางทีมงาน SRAN ได้จัดทำขึ้น และช่วยป้องกันภัยคุกคามผ่านการเฝ้าระวังภัยและการป้องกันภัยแบบรวมศูนย์ ซึ่งจะทำให้เรารู้ทันภัยคุกคามที่เกิดขึ้นกับตนเองและป้องกันภัยได้แบบ Real Time เพื่อลดความเสี่ยงอันจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อไป



      ตามล่ามัลแวร์

      $
      0
      0
      บทความนี้ไม่มีเจตนาทำให้หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเสื่อมเสียแต่อย่างใด แต่ต้องการเขียนเพื่อเป็นกรณีศึกษาจากเหตุการณ์จริง กับการติดเชื้อมัลแวร์ที่เป็นโครงข่ายอาชญากรรมข้ามชาติ (Cyber Crime) ที่ทำให้หน่วยงานภาครัฐ เอกชน รวมถึงสถาบันการศึกษาของประเทศไทยต้องตกเป็นเหยื่อกับเครือข่ายองค์กรอาชญากรรมคอมพิวเตอร์นี้

      จึงตั้งใจเพื่อเขียนขึ้นเพื่อเป็นการสร้างความตระหนักถึงผู้ดูแลระบบถึงปัญหาเครื่องแม่ข่ายที่มีช่องโหว่และมีการเข้าถึงระบบโดยแฮกเกอร์สามารถนำมัลแวร์มาแพร่เชื้อได้ ดังนั้นหากเป็นเว็บไซต์ที่สามารถเข้าถึงได้ทั่วไปอาจทำให้ผู้ใช้งานทั่วไปติดเชื้อตามกันได้

      อีกทั้งเป็นแนวสืบสวนหาร่องรอยเส้นทางของมัลแวร์ถึงผลกระทบในการติดเชื้อรวมถึงช่องโหว่ที่ทำให้มัลแวร์เข้ามาติดในเครื่องคอมพิวเตอร์
      อ่านเพื่อความบันเทิงและได้ความรู้

      ++++++++++++++++++++++++++
      มัลแวร์ คืออะไร
      ++++++++++++++++++++++++++
      คือ โปรแกรมไม่พึ่งประสงค์ที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ผู้ใช้งาน (รวมถึงอุปกรณ์มือถือสมัยใหม่ ได้แก่ สมาร์ทโฟน) ต้องสูญเสียความต่อเนื่องในการใช้งาน (Availability) , ความถูกต้องของข้อมูลและการสื่อสาร (Integrity) และสูญเสียความลับของข้อมูล (Confidentiality)

      +++++++++++++++++++++++++++++++
      เริ่มต้น จากการพบข้อมูล
      +++++++++++++++++++++++++++++++













      +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
      เริ่มการวิเคราะห์
      +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
      http://school.obec.go.th/trimitvararam/picture/
      และ
      http://school.obec.go.th/pikul/2-%A2%E9%CD%C1%D9%C5%BA%D8%A4%A4%C5/23-%BA%D8%A4%C5%D2%A1%C3.html

      (อันตรายหากเครื่องคอมพิวเตอร์คุณไม่มีระบบป้องกันที่อัพเดทเพียงพอไม่ควรเข้าลิงค์ดังกล่าว)

      ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
      ประวัติการติดเชื้อ
      ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

      ดูค่าการจดทะเบียนโดแมน


      เมื่อทำการค้นหาประวัติการติดเชื้อพบว่า

      พบ
      ประวัติที่เคยติดเป็นเว็บหลอกลวง Phishing เริ่มตั้งแต่ปี 2009 จนถึง 2012 ส่วนใหญ่เกิดขึ้นบนเว็บบอร์ด

      ประวัติการติดเชื้อมัลแวร์

      Malicious and Suspicious URLs

      URLFirst Detected
      http://school.obec.go.th//banmuangsuang/important.html2009-11-13 11:56:58
      http://school.obec.go.th/amnuaykan3/2010-03-15 22:18:29
      http://school.obec.go.th/anbs_saraburi/2009-05-03 16:45:54
      http://school.obec.go.th/anubanbanmoh/2012-06-07 18:59:43
      http://school.obec.go.th/artprathane2013-05-01 03:05:05
      http://school.obec.go.th/banbangchang/mawnarak/pa2.htm2013-05-21 13:10:05
      http://school.obec.go.th/bandonlao2013-05-07 01:55:14
      http://school.obec.go.th/bandonlao/2009-09-26 06:24:49
      http://school.obec.go.th/bankaengnabon/important.html2009-11-12 07:47:24
      http://school.obec.go.th/bankhoadaeng2013-05-07 18:45:04
      http://school.obec.go.th/banklongkhong/House.htm2013-07-17 21:20:08
      http://school.obec.go.th/bankokenonglom2013-06-27 00:10:07
      http://school.obec.go.th/bankokenonglom/2013-05-22 21:15:05
      http://school.obec.go.th/banmuangsuang/important.html2009-11-12 10:02:02
      http://school.obec.go.th/banpakae/important.html2009-11-11 07:04:28
      http://school.obec.go.th/banrubprak/important.html2009-11-11 06:33:18
      http://school.obec.go.th/bansanschool/da.html2012-06-08 08:01:07
      http://school.obec.go.th/bnkham/DATA_SCHOOL/admin.html2013-05-27 15:30:11
      http://school.obec.go.th/bnws2013-04-20 00:15:46
      http://school.obec.go.th/bokluea/2013-01-29 04:45:06
      http://school.obec.go.th/bokluea/?name=boss2013-03-18 23:35:08
      http://school.obec.go.th/bsms/parvud.html2013-02-16 00:00:53
      http://school.obec.go.th/hauykrai/2013-01-04 21:00:04
      http://school.obec.go.th/hinkleung/test9.htm2013-01-26 00:09:25
      http://school.obec.go.th/huakhao2013-07-03 00:34:30
      http://school.obec.go.th/huayaungkk2/2009-09-29 06:00:49




      ดูค่า MD5 ของไฟล์ที่ติดเชื้อเพื่อนำมาวิเคราะห์ (Malware Analysis)


      URLMD5IPThreat
      2013-07-23 19:12:53http://school.obec.go.th/nongpangtru_kan1/index3.htm...C0C5A98D3A155E58018D0648792C8873210.1.20.7THJS/TrojanDownloader.Iframe.NHP trojan
      2013-07-23 05:03:53http://school.obec.go.th/donthongwittaya...939709D74D64CCB2FCCFE0691588364B210.1.20.7THTrojan-Downloader.JS.Agent.feo
      2013-07-23 04:56:28http://school.obec.go.th/ns/pn22554.htm...888AFD2FE9F83A5D385A8A435ECCEDB5210.1.20.7THJS/Kryptik.BC trojan
      2013-07-22 23:38:21http://school.obec.go.th/borihan/...FB0BD87A9D893E5CD9230D95DACC6D6F210.1.20.7THJS/TrojanDownloader.Shadraem.A trojan
      2013-07-21 17:01:02http://school.obec.go.th/khaokling/data_bankhaokling/Food_Project_50.html...0A96F0D2843FFB46697031EDBAF70B89210.1.20.7THHTML/TrojanDownloader.IFrame trojan
      2013-07-21 14:57:21http://school.obec.go.th/payakwit/scoutsimina52.html...F7C30FD9F865B4557BE1A31FDEA40527210.1.20.7THJS/Kryptik.CK trojan
      2013-07-21 06:23:52http://school.obec.go.th/bukitjerae...5DBD43A93EB86D5B6A0840FFC355317E210.1.20.7THJS/IFrame.BH.gen
      2013-07-20 21:41:59http://school.obec.go.th/suksapiset/tourchiengmai1.htm...E5EEAC34BB2F6E97774580045FEC0910210.1.20.7THJS/TrojanDownloader.HackLoad.AG trojan
      2013-07-20 20:28:23http://school.obec.go.th/chauatschool...0F6FB069A9E258C069C49FB93B4DA468210.1.20.7THJS/TrojanDownloader.Agent.NTW trojan
      2013-07-20 11:22:54http://school.obec.go.th/scispk/newsacti01.htm...52E080A5EBCC3F65769D84E3C7ED52EB210.1.20.7THHTML/IFrame.L

      ประวัติการติดเชื้อมัลแวร์เมื่อทำการเรียกดูชื่อไฟล์ที่ติดเชื้อ


      +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
      วิเคราะห์การเชื่อมโยงระบบเครือข่ายเพื่อทำให้เกิดการติดเชื้อมัลแวร์
      +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

      เมื่อมีทำการเรียกค่าโดแมนดังกล่าวจะมีการติดต่อสื่อสารไปยังโดแมนที่สร้างขึ้นเพื่อการโจรกรรมข้อมูล


      ภาพช่องสี่เหลี่ยมสี่เหลืองคือโดแมนที่ถูกสร้างขึ้นมาเป็นมัลแวร์ ซึ่งเป็นโครงข่ายของอาชญากรรมทางโลกไซเบอร์ (Cyber Crime) ประกอบด้วย
      gxjamuwp .cz.cc
      shkoztdm .cz.cc
      qjpbdbmd .cz.cc
      ziejpzrv .cz.cc
      lfmzwijq .cz.cc
      และตัวอันตรายที่จะวิเคราะห์อย่างละเอียดอีกทีคือ marbit  dot com 

      เมื่อทำการเรียกค่าเพื่อดูการตอบสนองข้อมูลฝั่งเว็บไซต์ให้บริการ


      มีการตอบค่ากลับและมีการเปลี่ยนเส้นทางข้อมูลดังนี้



      เมื่อทำการตรวจสอบการเรียกค่าเว็บไซต์จะพบการเชื่อมโยงติดต่อไปยังโดแมนที่ถูกสร้างขึ้นเป็นมัลแวร์เพื่อทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่อ่อนแอติดเชื้อได้

      +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

      ตัวอย่างการเรียกค่าที่ติดเชื้อ
      +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
      +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
      ช่องโหว่ที่พบทำให้มีการติดเชื้อ
      +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
      1. มาจาก Office Snapshot Viewer
      - คำนิยามการเข้าถึงระบบ The Microsoft Office Snapshot Viewer ActiveX control allows remote attackers to download arbitrary files to a client machine 
      - ช่องโหว่ CVE-2008-2463

      2. MsVidCtl OverflowOverflow 
      - คำนิยามการเข้าถึงระบบ in Microsoft Video ActiveX Control via specially-crafted data parameter
      - ช่องโหว่ CVE-2008-0015

      3. Adobe getIconStack-based buffer overflow 
      - คำนิยาม in Adobe Reader and Acrobat via the getIcon method of a Collab object
      - ช่องโหว่ CVE-2009-0927

      4. Adobe util.printf overflowStack-based buffer overflow 
      - คำนิยาม in Adobe Acrobat and Reader via crafted format string argument in util.printf
      - ช่องโหว่ CVE-2008-2992

      5. Adobe Collab overflow
      - คำนิยาม Multiple Adobe Reader and Acrobat buffer overflows
      - ช่องโหว่ CVE-2007-5659


      ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
      รายชื่อไฟล์ที่พบประวัติการติดเชื้อ 
      ชื่อ "donthongwittaya"
      +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
      ซึ่งมีการตรวจสอบจากโปรแกรมแอนตี้ไวรัสได้ผลลัพธ์ดังนี้ https://www.virustotal.com/th/file/939709D74D64CCB2FCCFE0691588364B/analysis/

      การแสดงอัตลักษณ์ไฟล์มัลแวร์ที่พบ

      ตัวอย่างการแสดงผลของโปรแกรมแอนตี้ไวรัสกับไฟล์ donthingwittaya



      ข้อมูลเพิ่มเติมที่
      http://checkip.me/whomap.php?domain=school.obec.go.th
      http://www.sran.net/statistic?q=school.obec.go.th
      http://urlquery.net/report.php?id=3963804
      https://www.virustotal.com/th/file/939709D74D64CCB2FCCFE0691588364B/analysis/
      http://wepawet.iseclab.org/view.php?hash=41a7ee22c704e708cdb57362372c1699&t=1374610813&type=js
      http://anubis.iseclab.org/?action=result&task_id=162d0bbf11f5d90d47de47d9e87f8eff7&format=html


      23/07/56
      Nontawattana  Saraman
      SRAN Dev Team

      อุปกรณ์ป้องกันข้อมูลและการสอดแนมทางอินเทอร์เน็ต UN-Tracked

      $
      0
      0
      จุดกำเนิดของการทำ UN-Tracked ขึ้นก็ตอนที่นายเอ็ดเวิร์ด โจเซฟ สโนว์เดน อดีตนักวิเคราะห์ข่าวกรอง ชาวอเมริกัน ซึ่งได้ปล่อยข่าวรายละเอียดของการสอดแนมข้อมูลจากสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติ (NSA) ของสหรัฐ ให้กับหนังสือพิมพ์เดอะการ์เดียนของอังกฤษ ว่าทาง NSA ได้มีการดักฟังรายการทางอินเทอร์เน็ตของผู้นำรวมถึงประชาชนทั่วโลกจากเนื้อหาข้อมูลที่ได้รับจากบริษัทใหญ่ชั้นนำของโลกไม่ว่าเป็น Google , Microsoft , Facebook , Yahoo , Youtube เป็นต้น

      อีกทั้งการรุดหน้าของเทคโนโลยีสื่อสารและการเชื่อมต่อโครงข่ายอินเทอร์เน็ตอาจมีการดักรับข้อมูล (Sniffing) ทั้งในองค์กร ผ่านระบบ LAN และ Wireless LAN หรือ Wi-Fi และนอกองค์กรจากฝั่งผู้ให้บริการ อินเทอร์เน็ต (ISP) โดยอาจใช้เครื่องมือ (Tools) ที่สามารถอ่านวิเคราะห์เนื้อหาของข้อมูล (Payload) จากการรับ-ส่งข้อมูลผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ตได้  ดังนั้นจึงได้มีการออกแบบฮาร์ดแวร์ที่สะดวกในการใช้งาน

      คุณสมบัติ

      1. เป็นอุปกรณ์ที่เข้ารหัสเส้นทางในการติดต่อสื่อสาร (Encryption Routing)
      2. ป้องกันการดักฟังผ่านโครงข่ายภายในและอินเทอร์เน็ต (Anti Sniffer)
      3. ป้องกันการตรวจตาม่ร่องรอยค่าไอพีแอดเดรสจาก Log file ของระบบ (Don't Tracking)
      ด้วยคุณสมบัติทั้ง 3 รวมเรียก "UN Tracked" Defend Privacy Data and against Internet Surveillance

      สิ่งที่ได้รับจากการใช้ "UN Tracked"
      1. เมื่อใช้อุปกรณ์ UN-Tracked คุณจะปลอดภัยจากการดักข้อมูลไม่ว่าเป็นการดักข้อมูลจากเครือข่ายภายในองค์กร  เครือข่ายสาธารณะแบบไร้สาย  รวมถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ได้รับการให้ค่าไอพีแอดเดรส (Public IP) จากผู้ให้บริการ (ISP : Internet Services Provider)
      2. มีความมั่นใจในการใช้ทุก Application บนสมาร์ทโฟนว่าจะมีการดักอ่านข้อมูลกลางทาง (MITM : Man In The Middle attack) ไม่ว่าเป็นการใช้งาน Browser IE , Chrome , Firefox , โปรแกรม Chat LINE , Whatapps MSN และการติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ ได้แก่  Facebook , Twitter , Instargram , youtube  เป็นต้น
      3. Log file ที่ปรากฏในเว็บเซิร์ฟเวอร์ หรือเซิร์ฟเวอร์บริการอื่นๆ ที่เราเข้าไปใช้บริการจะไม่สามารถตรวจหาค่าไอพีแอดเดรสที่แท้จริงของเราได้
      4. ป้องกันภัยจากโปรแกรมสคิปเพื่อติดตามตัวตนจากเราจากการเปิดบราวเซอร์ ประเภทพวก Java Script , ajax (เช่นพวก Web Analytic , Web Stats เป็นต้น หรือเป็นการป้องกันประเภท malicious exploit จากฝั่ง Server ที่ต้องการติดตามร่องรอยค่าไอพีแอดเดรสจากเรา โดยที่เราไม่จำเป็นต้องลงโปรแกรมเสริมใดๆ ก็สามารถป้องกันสิ่งเหล่านี้ได้จากการใช้ UN-Tracked

      จัดเป็นฮาร์ดแวร์ที่พร้อมใช้งานและสะดวกในการติดตั้งขนาดกะทัดลัดและสามารถรองรับการใช้งานได้หลายๆเครื่อง Client พร้อมกัน


      ภาพที่ 1 UN-Tracked Hardware ขนาดเท่าของจริง

      ภาพที่ 2 การติดตั้ง UN Tracked บนเครื่อข่าย
      การติดตั้ง UN Tracked สามารถติดตั้งได้ทั้งที่บ้านและที่ทำงาน การติดตั้งเหมือนกันคือฮาร์ดแวร์ UN-Tracked จะมีการ์ดแลน 10/100/1000 จำนวน 4 Port   ประกอบด้วย
      Port ที่ 1 ETH0  ติดตั้งไปกับ Router  หรือ Switch  เพื่อรับค่า DHCP จาก Gateway ได้ส่วน Port 3 , 4 คือ ETH2, ETH3  สามารถติดตั้งรับ VLAN หากเป็นระบบเครือข่ายขนาดกลางและใหญ่  
      ส่วน ETH1 ใช้สำหรับ UN-Tracked Interface  เพื่อใช้อำพรางตัวตนเพื่อป้องกันการดักฟังทุกกรณีและมีการเข้ารหัสบนเส้นทางการติดต่อสื่อสาร

        

      ภาพที่ 3 คุณสมบัติฮาร์ดแวร์ของ UN-Tracked ด้วยรุ่นที่ทำขึ้นสามารถรองรับการใช้งานพร้อมกัน
      ได้ถึง 50 เครื่อง

      อีกหนึ่งการพัฒนาจาก SRAN Team สนใจเพื่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่ออีเมลที่ info at gbtech.co.th

      Pony botnet : บ็อทเน็ตขโมยรหัสผ่าน

      $
      0
      0
      แฮกเกอร์ได้ขโมยชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านเกือบสองล้านบัญชีของ Facebook, Google, Twitter, Yahoo และอื่น ๆ ตามรายงานที่เผยแพร่เมื่อไม่นานนี้กลุ่มนักวิจัยสามารถเข้าถึงแผงควบคุมของผู้ดูแลระบบ (control panel) สำหรับเซิร์ฟเวอร์ที่เป็นส่วนหนึ่งของบ็อตเน็ตที่เรียกว่า "Pony" ที่เก็บรวบรวมข้อมูลที่สำคัญจากผู้ใช้มากถึง 102 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทยของเราด้วย จึงจำเป็นต้องนำเสนอบทความนี้เพื่อเตือนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตให้มีความระมัดระวังและเป็นข้อมูลไว้ศึกษาต่อไป

      ภาพประกอบที่ 1 แสดงจำนวนเหยื่อของ botnet Ponyจากประเทศต่าง ๆ  จะเห็นได้ว่าประเทศไทยอยู่ในอันดับ 2 ของ Pony botnet ที่ได้รหัสผ่านไป

      บอทเน็ตนี้แอบดักจับข้อมูลล็อกอินของเว็บไซต์ที่สำคัญ ๆ ในช่วงเดือนที่ผ่านมา และส่งชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านเหล่านั้นไปยังเซิร์ฟเวอร์ที่ควบคุมโดยแฮกเกอร์และติดตามเซิร์ฟเวอร์ที่ตั้งอยู่ในประเทศเนเธอร์แลนด์ พวกเขาค้นพบบัญชีผู้ใช้เว็บไซต์ต่าง ๆ รวมถึง

      • Facebook ประมาณ 318,000 บัญชี
      • Gmail, Google+ และ Youtube ประมาณ70,000 บัญชี
      • Yahoo ประมาณ60,000 บัญชี
      • Twitter ประมาณ22,000 บัญชี
      • Odnoklassniki (เครือข่ายสังคมของรัสเซีย) ประมาณ9,000 บัญชี
      • ADP (บริษัทชั้นนำ 500 อันดับในสหรัฐอเมริกา โดยนิตยสารฟอร์จูน 500) ประมาณ8,000 บัญชี
      • LinkedIn ประมาณ8,000 บัญชี


      ภาพประกอบที่ 2 แสดงจำนวนของบัญชีผู้ใช้ของเว็บไซต์ที่ถูกขโมยในจำนวนประมาณสองล้านบัญชีที่ถูกขโมย เมื่อแบ่งตามประเภทของบริการแล้ว ประกอบด้วย
      • ประมาณ 1,580,000 เป็นบัญชีผู้ใช้เว็บไซต์
      • ประมาณ 320,000 เป็นบัญชีผู้ใช้อีเมล
      • ประมาณ 41,000 เป็นบัญชีผู้ใช้ FTP
      • ประมาณ 3,000 เป็นบัญชีผู้ใช้ Remote Desktop
      • ประมาณ 3,000 เป็นบัญชีผู้ใช้ Secure Shell
      มีไวรัสแพร่บนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลจำนวนมากได้อย่างไร แฮกเกอร์อาจใช้ซอฟต์แวร์บันทึกการกดคีย์บอร์ดของผู้ใช้ที่ตกเป็นเหยื่อ (keylogger) แล้วส่งข้อมูลผ่าน proxy server ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ที่จะติดตามหาเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดเชื้อ
      ปฏิบัติการนี้แอบเก็บข้อมูลรหัสผ่านตั้งแต่ 21 ตุลาคมที่ผ่านมา และอาจจะทำงานอย่างต่อเนื่อง แม้ว่า จะค้นพบ proxy server ที่ตั้งอยู่ในเนเธอร์แลนด์ มิลเลอร์จาก Trustwaveกล่าวว่า มีเซิร์ฟเวอร์อื่นที่คล้ายคลึงกันหลายแห่ง ที่พวกเขายังไม่ได้ค้นพบยังเปิดเผยเกี่ยวกับการใช้รหัสผ่านของผู้ใช้ที่ตกเป็นเหยื่อว่า เกือบ 16,000 บัญชีใช้รหัสผ่าน “123456” อีก 2,212 บัญชีใช้รหัสผ่าน “password” และ 1,991 บัญชีใช้รหัสผ่าน “admin” มีเพียงร้อยละ 5 ของรหัสผ่านเกือบสองล้านรหัสที่ถือว่าดีเยี่ยม ใช้อักขระทั้งสี่รูปแบบและยาวมากกว่า 8 ตัวอักษร อีกร้อยละ 17 อยู่ในขั้นดี ร้อยละ 44 อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 28 อยู่ในขั้นเลว และ ร้อยละ 6 อยู่ในขั้นแย่มาก

      ภาพประกอบที่ 3 รหัสผ่านที่ใช้มากที่สุด สิบอันดับ

      ภาพประกอบที่ 4 ความแข็งแกร่งของรหัสผ่านที่พบ

      จะพบว่าบริษัทเหล่านี้ทราบถึงการถูกละเมิดข้อมูล หลังจากนั้น พวกเขาประกาศการค้นพบของพวกเขาต่อสาธารณชนADP, Facebook, LinkedIn, Twitter และ Yahoo บอกนักข่าวว่า พวกเขาได้รับการแจ้งเตือน และการรีเซ็ตรหัสผ่านของผู้ใช้ที่ถูกบุกรุกแล้ว ส่วน Google ปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็น
      หากคุณอยากรู้ว่าคอมพิวเตอร์ของคุณติดเชื้อหรือไม่ การค้นหาโปรแกรมและไฟล์จะไม่เพียงพอ เพราะไวรัสทำงานซ่อนตัวอยู่เบื้องหลัง ทางออกที่ดีที่สุดของคุณคือ การปรับปรุงซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสของคุณ และดาวน์โหลดแพทช์ล่าสุดสำหรับเว็บเบราว์เซอร์ รวมถึงAdobe  และ Java โปรแกรมในเครื่องของคุณให้ทันสมัย


      29/11/56

      SRAN Dev Team

      ในวันที่ CAT บางรักไฟดับ

      $
      0
      0
      ช่วงเที่ยงของวันที่ 30 พฤศจิกายน 2556 ม็อบที่ต่อต้านรัฐบาลได้เข้าไปยังอาคารบริษัท กสท โทรคมนาคม หรือ CAT Telecom ทำให้เกิดไฟฟ้าดับที่อาคารทั้งหมด ซึ่งกลุ่มม๊อบพยายามเรียกการกระทำเช่นนี้ว่า เป็นการทำอารยะขัดขืน แต่ผลลัพธ์ที่เกิดนั้นส่งผลให้การสื่อสารที่เชื่อมต่อทางอินเทอร์เน็ตได้มีผลกระทบโดยตรง โดยเฉพาะเราเตอร์หลักที่ใช้ทำงานเป็นเกตเวย์ประเทศ ซึ่งในต่างประเทศเรียกเหตุการณ์นี้ว่า “Internet Outage” โดยที่เหตุการณ์ในครั้งนี้ที่เกิดขึ้นกินเวลาเกือบ 4 ชั่วโมง ที่ไม่สามารถใช้งานได้ตามปกติ และส่งผลกระทบอะไรบ้างนั้น
      ผมลองมานั่งเขียนดูเผื่อว่าท่านผู้อ่านจะได้นึกภาพตามไปด้วยกันได้ถูกต้อง และช่วยประเมินในความเสียหายได้บ้าง

      ภาพแสดงข้อมูลสถานะการเชื่อมติดต่อข้อมูลของทางทรูอินเทอร์เน็ต 
      เรียบเรียงผลกระทบ ดังนี้
      1. ผลกระทบการเชื่อมข้อมูล ผ่าน AS4651
      AS4651 เป็น Gateway ที่สำคัญของประเทศตัวหนึ่งที่มีการเชื่อมโยงกับโครงข่ายทั้งในและต่างประเทศเป็นจำนวนมาก โดยข้อมูลในวันที่เกิดขึ้น พบว่า AS4651 มีจำนวน IPv4 ที่ให้บริการจำนวน 15,104 ค่า ข้อมูลทั่วไปจากลงทะเบียน ชื่อที่อยู่และผู้ติดต่อของ AS4651
      person:         IP-network CAT Telecom
      nic-hdl: IC174-AP
      e-mail: ip-noc@cat.net.th
      address: Data Comm. Dept.(Internet)
      address: address: CAT Telecom Public Company Ltd,
      address: address: 72 Charoenkrung Road Bangrak Bangkok THAILAND 10501
      phone: +66-2-6142374
      fax-no: +66-2-6142270
      country: TH
      changed: suchok@cat.net.th 20051202
      mnt-by: MAINT-TH-THIX-CAT
      source: APNIC

      person: THIX network staff CAT Telecom
      nic-hdl: TC476-AP
      e-mail: admin-thix@cat.net.th
      address: Data Comm. Dept.(Internet)
      address: address: CAT Telecom Public Company Ltd,
      address: address: 72 Charoenkrung Road Bangrak Bangkok THAILAND 10501
      phone: +66-2-6142374
      fax-no: +66-2-6142270
      country: TH
      changed: suchok@cat.net.th 20051202
      mnt-by: MAINT-TH-THIX-CAT
      source: APNIC

      ข้อมูลเชิงสถิติที่เกี่ยวกับการเชื่อมต่อข้อมูลไปยัง ASN ทั้งในและต่างประเทศ




      ประวัติของสถานะการเชื่อมต่อข้อมูล

      กราฟแสดงสถานะการติดต่อสื่อสารของ AS4651 ดูย้อนหลัง 90 วัน และค่า Upstreams สำหรับ AS4651 
      จากกราฟจะพบว่าในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2556 นั้นมีการหยุดการใช้งานไปช่วงเวลาหนึ่งกราฟจะดิ่งตกตัดค่าเป็น 0 ขาดการติดต่อกับ ASN อื่นๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

      AS4651 ในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2556 นั้นมีการเชื่อมโยงการติดต่อข้อมูลทั้งหมด 112 การเชื่อมโยงผ่าน Protocol BGP Peering 

      ตัวอย่างบางส่วนของเครือข่ายที่เชื่อมติดต่อกับ AS4651 


      เมื่อทำการพิจารณาทั้งหมดจาก 112 เครือข่ายพบว่ามีโครงข่ายในประเทศไทยที่กระทบถึง 28 โครงข่ายประกอบด้วย (วัดค่าจากตอนเหตุการณ์ปิดการสื่อสารในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2556) ดังนี้ 
      1. True : AS7470 
      2. CAT 1 : AS9931 
      3. BB-BroadBand (UIH) : AS38794 
      4. 3BB : AS45758 
       5. INET : AS4618 
      6. World Net : AS4765 
      7. Jasmine : AS7616 
      8. CSloxinfo : AS4750 
      9. DTAC : AS9587 
      10. KIRZ : AS24187 
      11. Milcom : AS3888 
      12. ServeNET : AS45413 
      13. Proimage Engineering : AS23884 
      14. Symphony Communication AS132876 
      15. Loxley Wireless : AS45142 
      16. Smart Corp : AS4741 
      17. Nettree : AS45456 
      18. NIPA : AS45328 
      19. CAT 2 : AS131090 
      20. My Telecom Group : AS24491 
      21. TT&T : AS55465 
      22. Fiber To the Home : AS9413 
      23. PTT ICT : AS55403 
      24. SiamData : AS56309 
      25. A-Net : AS4776 
      26. 101 Global : AS45606 
      27. NTTCTNET : AS38566 
      28. Uni-Net : AS4621 

      ** ที่สำคัญอันเกิดผลกระทบต่อผู้บริโภค คือ True : AS7470 , 3BB , DTAC , CAT (Data Center) และ Uni-Net โครงข่ายฝั่งมหาวิทยาลัยต่างๆในประเทศไทย

      2. ผลกระทบต่อ AS9931
      AS9931 เป็น Router ตัวสำคัญตัวหนึ่งของบริษัท กสท โทรคมนาคม หรือ “CAT Telecom” เนื่องจาก Router ตัวนี้จะมีการเชื่อมต่อให้กับหน่วยงานต่างทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งความสำคัญไม่น้อยไปกว่า AS4651 และอาจจะส่งผลกระทบต่อการใช้ของหน่วยงานทั้ง ภาครัฐบาลและภาคเอกชน จะสร้างความเสียหายมากกว่า AS4651 ด้วยหากเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในวันทำงาน ข้อมูลเบื้องต้นสำหรับ AS9931

      ข้อมูลเบื้องต้น AS9931

      person:         Serthsiri Khantawisoote
      address: Data Communication Department, CAT
      address: Bangkok 10501
      country: TH
      phone: +66-2-237-4300
      fax-no: +66-2-506-3186
      e-mail: kserth@cat.net.th
      nic-hdl: SK79-AP
      mnt-by: MAINT-TH-THIX-CAT
      changed: hostmaster@apnic.net 20000320
      source: APNIC

      person: Tanussit Klaimongkol
      address: Data Comm. Dept.(Internet)
      address: CAT Bangkok 10501
      address: Thailand
      country: TH
      phone: +66-2-2374300
      fax-no: +66-2-5063186
      e-mail: ktanus@cat.net.th
      nic-hdl: TK38-AP
      mnt-by: MAINT-TH-THIX-CAT
      changed: ktanus@cat.net.th 20000215
      source: APNIC
      ข้อมูลเชิงสถิติของ AS9931 จำนวนค่า IPv4 ที่ให้บริการมีจำนวน 198,912 ค่า



      AS9931 มีการเชื่อมต่อกับโครงข่ายทั้งในและต่างประเทศรวมทั้งหมด 41 เครือข่าย ซึ่งโดยมากเป็นเครือข่ายในประเทศไทยและเป็นภาคเอกชน และหน่วยงานของรัฐเป็นต้น

      ดังตัวอย่างเครือข่ายที่มีการเชื่อมต่อ AS9931 ดังนี้



      รายการเครือข่ายที่มีการเชื่อมติดต่อกับ AS9931 

      จะเห็นได้ว่า AS9931 จะกระทบต่อหน่วยงานต่างๆภายในประเทศไทยจำนวนมาก ได้แก่ สถาบันการเงิน เช่น
      - ภาคธนาคารประกอบด้วย ธนาคารไทยพาณิชย์ , ธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นต้น
      - มหาวิทยาลัย ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ , มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นต้น
      - สายการบิน ประกอบด้วย การบินไทย , Bangkok Airway เป็นต้น 
      - กระทรวง ประกอบด้วย กระทรวงการคลัง , กระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นต้น
      - รัฐวิสาหกิจ เช่น การประปา และ การไฟฟ้าภูมิภาค 

      อีกทั้งส่งผลกระทบไปยังผู้ให้บริการต่างประเทศที่มีการเชื่อมสัญญาณมาที่ AS9931 เช่นประเทศลาว และกัมพูชา ก็ได้รับผลกระทบต่อการขาดการติดต่อสื่อสารเนื่องจากไฟฟ้าในอาคาร กสท บางรักถูกตัดไฟอีกด้วย หากเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในวันธรรมดา คือ วันจันทร์ – ศุกร์ ผลกระทบและความเสียหายที่เกิดขึ้นจะมีมูลค่าความเสียหายมากกว่าที่เกิดเหตุการณ์ขึ้นในวันเสาร์ที่ผ่านมาเป็นอันมาก


      แนวโน้มภัยคุกคามที่เกิดขึ้นในปี 2557

      $
      0
      0
      ทางทีมงาน SRAN ได้รวบรวมภัยคุกคามที่คิดว่ามีแนวโน้มจะเกิดขึ้นในปี 2557 มาให้อ่านโดยประกอบเนื้อหาดังนี้

      1. การใช้บริการธนาคารผ่านทางโทรศัพท์มือถือ จะได้รับผลกระทบจากการโจมตี MITM การพิสูจน์ยืนยันสองขั้นตอน ไม่เพียงพออีกต่อไป

      ปี 2555 เราได้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของภัยคุกคามบริการธนาคารออนไลน์ ไตรมาสที่สามเห็นการติดเชื้อมัลแวร์ในระดับสูงอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
      ภัยคุกคามธนาคารไม่ได้จำกัดอยู่ที่คอมพิวเตอร์เพียงอย่างเดียว เรายังพบมัลแวร์เหล่านี้ในโทรศัพท์มือถืออีกด้วย แอพบริการธนาคารปลอมกลายเป็นปัญหาที่พบบ่อย และได้ตกเป็นเป้าหมายของอาชญากร นำมาโดยแอพมุ่งร้ายที่เสแสร้งว่าเป็นตัวสร้างรหัสสำหรับการพิสูจน์ตัว
      การใช้โทรศัพท์มือถืออย่างไม่ตั้งใจ อาจทำให้การพิสูจน์ยืนยันสองขั้นตอนไม่เพียงพอ เนื่องจากผู้คนใช้โทรศัพท์มือถือเพื่อการทำธุรกรรมทางการเงิน และการพิสูจน์ตัวมากขึ้น อาชญากรเริ่มใช้การดักข้อมูลตัวเลขที่ใช้เพื่อการพิสูจน์ตัว โดยอาศัยความช่วยเหลือจากมัลแวร์บนโทรศัพท์มือถือ เช่นPERKEL และ ZITMO

      ในปี 2556 เกือบหนึ่งในห้าของผู้ใช้สมาร์ทโฟนในสหรัฐ ฯ ทำธรุกรรมผ่านทางอุปกรณ์พกพา คาดว่าตัวเลขนี้จะเพิ่มขึ้นในปี 2557 ซึ่งจะเป็นปีแห่งใช้บริการธนาคารในโทรศัพท์มือถือ แต่คาดได้ว่าจะมีภัยคุกคามอย่างการโจมตี man-in-the-middle (MitM) เพิ่มขึ้นด้วย

      แอนดรอยด์จะยังคงเป็นระบบปฏิบัติการที่โดดเด่นมากที่สุดในตลาด แต่ความโดดเด่นนี้จะยังคงถูกใช้ประโยชน์ เนื่องจากเราคาดเดาว่าปริมาณของแอพมุ่งร้ายและมีความเสี่ยงสูง จะไปถึงสามล้านแอพ ภายในสิ้นปี 2557 ถึงแม้ Google จะทุ่มเทความพยายามในการแก้ไขปัญหานี้ โดยการออกระบบปฏิบัติการใหม่ Android KitKat แต่ไม่ใช่ผู้ใช้ทุกคนที่จะได้รับประโยชน์จากฟีเจอร์ด้านความปลอดภัยใหม่นี้ เนื่องจากปัญหาในขั้นตอนการอัพเดทของระบบปฏิบัติการ

      ระบบปฏิบัติการใหม่ ๆ สำหรับโทรศัพท์มือถือ เช่น Tizen, Sailfish และ Firefox ที่อ้างว่าสามารถทำงานร่วมกับแอพของแอนดรอยด์ได้ กำลังเข้าสู่ตลาด ข้อดีคือ ทำให้แอพของแอนดรอยด์สามารถทำงานบนระบบปฏิบัติการอื่น ๆ ได้ แต่ก็มีข้อเสียคือ ช่วยให้อาชญากรสร้างภัยคุกคามสำหรับหลากหลายแฟลตฟอร์มได้ง่ายมากยิ่งขึ้น

      2. อาชญากรจะใช้วิธี targeted attack และ spear phishing เพิ่มมากขึ้น

      targeted attack เป็นการโจมตีที่มุ่งเป้าไปยังผู้ใช้ บริษัท หรือองค์การแบบเฉพาะเจาะจง ไม่ทำแบบสุ่มไปทั่ว แต่จะออกแบบมาเพื่อโจมตีและละเมิดเป้าหมายเฉพาะเท่านั้น

      ในปี 2556 การโจมตีครั้งหนึ่งสามารถควบคุมคอมพิวเตอร์มากกว่า 12,000 ไอพีจากประเทศต่าง ๆ มากกว่า 100 ประเทศ โดยใช้เครื่องแม่ข่ายcommand-and-control (C&C) เพียงสองตัว แสดงให้เห็นว่าขนาดนั้นไม่สำคัญ แม้แต่การโจมตีที่เล็กที่สุดก็สามารถใช้ได้ผลกับเป้าหมายขนาดใหญ่ที่สุดได้ การโจมตีที่ประสบความสำเร็จเหล่านี้ทำให้อาชญากรนำเทคนิคของ targeted attack มาใช้

      ในปี 2557 อาชญากรจะใช้วิธี targeted attack เพิ่มมากขึ้น การค้นคว้าเกี่ยวกับซอฟท์แวร์โอเพ่นซอร์ส และการโจมตี spear phishing จะมีเพิ่มมากขึ้น

      spear phishing เป็นความพยายามหลอกลวงโดยใช้อีเมลปลอม มุ่งเป้าไปที่องค์การเฉพาะเจาะจง เพื่อให้สามารถเข้าถึงข้อมูลความลับ โดยทั่วไปแล้ว จะไม่ใช่การกระทำแบบสุ่ม แต่เป็นเกิดจากผู้กระทำความผิดที่มุ่งหวังผลประโยชน์ทางการเงิน ความลับทางการค้า หรือข้อมูลข่าวสารทางทหาร

      แรงจูงใจของการนำเทคนิคของ targeted attack มาใช้ มีมากกว่าเรื่องอัตราผลสำเร็จ ยังเป็นเพราะการใช้งานง่าย และประสิทธิผลในการหลบหลีกการตรวจจับ ส่วนการโจมตี spear phishing ยังทำได้ค่อนข้างง่าย และยากในการติดตามหาต้นตอ

      จะมีการใช้ช่องโหว่ CVE-2012-0158 และ CVE-2010-3333 เพื่อโจมตีเป้าหมายต่อไป โดยเฉพาะ CVE-2010-3333 เป็นช่องโหว่ที่ถูกโจมตีมากที่สุดใน Microsoft Word จนกระทั่งมีช่องโหว่ CVE-2012-0158 ปรากฏขึ้นมา

      อย่างไรก็ตามอาชญากรจะไม่อาศัยเพียงช่องโหว่ในซอฟท์แวร์และระบบเท่านั้น แต่ยังพยายามเอาชนะจุดอ่อนที่สุด คือมนุษย์นั่นเอง

      3. ในปริบทของ targeted attack เราจะเห็นการโจมตี  clickjacking และ watering hole มากขึ้น

      watering hole เป็นกลยุทธ์ในการโจมตีที่ค้นพบในปี 2555 โดยบริษัท RSA โดยผู้โจมตีต้องการโจมตีกลุ่มเฉพาะเจาะจง ประกอบด้วยสามขั้นตอนคือ หนึ่ง คาดเดาหรือสังเกตเว็บไซต์ที่กลุ่มนั้นใช้งานบ่อย สอง แพร่มัลแวร์ไปยังเว็บไซต์เหล่านี้ สาม สมาชิกในกลุ่มเป้าหมายติดเชื้อมัลแวร์ โดยอาศัยความเชื่อถือที่กลุ่มเป้าหมายมีต่อเว็บไซต์ ทำให้กลยุทธ์นี้มีประสิทธิภาพ ถึงแม้กลุ่มนี้จะมีความต้านทานต่อการโจมตี spear phishing หรือรูปแบบอื่น ๆของphishing

      ปี 2556 เฟซบุ๊คตกเป็นเหยื่อของการโจมตี watering hole ต้นตอมาจากเว็บไซต์ของผู้พัฒนา iPhone แห่งหนึ่ง การโจมตีนี้โดดเด่น เนื่องจากความแม่นยำและความสำคัญของเหยื่อ โดยผู้โจมตีได้ฝังมัลแวร์ไปในหน้าเว็บหนึ่ง ที่รู้ว่าสามารถดึงดูดเป้าหมายที่พวกเขาต้องการได้ เหตุการณ์นี้แสดงให้เห็นว่า ผู้โจมตีไม่จำเป็นต้องอาศัยกลวิธีแนบไฟล์มาพร้อมอีเมล ตามแบบดั้งเดิมเท่านั้น

      เราจะเห็นการโจมตี watering hole มากขึ้นในปี 2557 ผู้โจมตีจะหลอกล่อเป้าหมายมายังไซต์ที่มี watering hole โดยใช้เทคนิค social engineeringหรือ clickjacking เพื่อที่จะใช้ช่องโหว่เพื่อบุกรุกคอมพิวเตอร์

      clickjacking เป็นเทคนิคในการหลอกล่อผู้ใช้ให้คลิกที่บางสิ่งบางอย่าง ที่แตกต่างจากสิ่งที่ผู้ใช้เข้าใจว่ากำลังคลิกอยู่ ซึ่งจะเปิดเผยข้อมูลความลับ หรือยึดการควบคุมคอมพิวเตอร์ ในขณะที่กำลังคลิกในหน้าเว็บที่ดูเหมือนไม่มีอันตราย เป็นปัญหาความปลอดภัยของเว็บบราวเซอร์ clickjack จะใช้รูปแบบของโค้ดหรือสคริปท์ที่สามารถปฏิบัติการโดยที่ผู้ใช้ไม่รู้ตัว เช่นการคลิกที่ปุ่มที่ดูเหมือนจะทำงานอีกหน้าที่หนึ่ง

      จากการที่มีช่องโหว่ในระบบปฏิบัติการที่พบน้อยลง ผู้โจมตีจะหันไปสนใจกับช่องโหว่ในชุดซอฟท์แวร์มากขึ้น โดยเฉพาะซอฟท์แวร์ที่ไม่ได้รับการสนับสนุนจากผู้ขายอีกต่อไป ซึ่งจะนำไปสู่การโจมตีที่มุ่งเป้าไปที่ช่องโหว่ที่ค้นพบใหม่ ๆ

      ผู้โจมตีจะไม่อาศัยอีเมลเป็นพาหะการโจมตีเพียงอย่างเดียว ด้วยการเพิ่มขึ้นของแนวโน้มที่พนักงานนำอุปกรณ์ไอทีของตนมาใช้ในที่ทำงาน (consumerization) ซึ่งจะทำให้โทรศัพท์มือถือกลายเป็นพาหะในการโจมตีเพิ่มมากขึ้น ผู้โจมตีจะมุ่งเป้าไปที่อุปกรณ์ใด ๆ ที่จะเชื่อมต่อกับเครือข่ายเป้าหมาย ทำให้อุปกรณ์ที่สวมใส่ได้อย่างนาฬิกาอัจฉริยะ (smart watches) ก็จะกลายเป็นเป้าหมายใหม่ด้วย


      4. เราจะได้เห็นการละเมิดข้อมูลครั้งสำคัญ เกิดขึ้นเดือนละครั้ง

      ข้อมูลยังคงเป็นสิ่งที่ดึงดูดใจสำหรับอาชญากร การบุกรุกระบบของ Adobe เมื่อไม่นานมานี้ได้ขโมยข้อมูลของผู้ใช้ราว 150 ล้านบัญชี ทำให้เกิดโดมิโน เอฟเฟกต์ ผู้ให้บริการรายอื่น ๆ เตือนผู้ใช้ให้อัพเดทบัญชี เพื่อป้องกันการบุกรุกในกรณีที่ใช้ข้อมูลล็อกอินและรหัสผ่านเหมือนกัน

      ปี 2556 ได้เกิดการละเมิดข้อมูลขึ้นหลายครั้ง Evernote ขอให้ผู้ใช้ 50 ล้านราย อัพเดทบัญชีของตน หลังจากค้นพบว่าแฮกเกอร์อาจได้เข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ LivingSocial ถูกละเมิดข้อมูลของผู้ใช้ 50 ล้านคน ส่วน Yahoo! ญี่ปุ่นถูกละเมิดข้อมูลของผู้ใช้ 22 ล้านราย

      เหตุการณ์สำคัญ ๆ เหล่านี้จะยังคงดำเนินต่อไปในปี 2557 เครื่องแม่ข่ายเว็บที่เหมือนกับ Adobe จะยังคงตกเป็นเป้าหมายต่อไป ไม่มีองค์การใดที่จะปลอดภัยจากการละเมิดข้อมูล ใครบางคนจะพยายามบุกรุกเครือข่ายโดยใช้เครื่องมือและการโจมตีช่องโหว่ใหม่ ๆ

      5. การโจมตีช่องโหว่ในซอฟท์แวร์ที่ผู้จำหน่ายยกเลิกการสนับสนุนแล้ว แต่ยังมีการใช้กันอย่างกว้างขวาง เช่น Java 6 และ Windows XP จะเพิ่มมากขึ้น

      อาชญากรพยายามค้นหาช่องโหว่ในการรักษาความปลอดภัย เพื่อเริ่มการโจมตี การสิ้นสุดการสนับสนุน Java 6 เมื่อต้นปี 2556 พิสูจน์ได้ว่าเป็นโอกาสทอง

      โปรแกรมโจมตีช่องโหว่ (exploit) ใน Java ได้ถูกผนวกเข้ากับ Neutrino Exploit Kit ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่าใช้สำหรับแพร่เชื้อมัลแวร์เข้าไปในคอมพิวเตอร์เพื่อเรียกค่าไถ่ (ransomware) สิ่งที่ทำให้การโจมตีนี้สร้างปัญหาใหญ่คือ จำนวนผู้ใช้ Java ราวร้อยละ 50 ยังคงใช้ Java 6

      อาชญากรใช้เทคนิค reverse-engineer กับ patch ที่ผู้จำหน่ายปล่อยออกมา เพื่อตรวจสอบว่าช่องโหว่ไหนที่แก้ไขไปแล้ว และใช้ความรู้นี้เพื่อมุ่งเป้าการโจมตีที่ระบบเก่า โดยเฉพาะซอฟท์แวร์ที่ยกเลิกการสนับสนุนแล้ว สิ่งนี้อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการโจมตี Java 6

      คนร้ายยังโจมตีช่องโหว่ในซอฟท์แวร์เฉพาะด้านอีกด้วย  ช่องโหว่ต่าง ๆ ใน Adobe ColdFusion ที่ใช้ในการพัฒนาเว็บแอพพลิเคชั่น ได้ถูกโจมตีเพื่อเข้าถึงฐานข้อมูล เฉพาะปี 2556 ได้มีการละเมิดข้อมูลที่มุ่งเป้าที่หน่วยงานทางทหาร รัฐบาล และการวิจัยทางอวกาศ มีรายงานว่าการละเมิดเหล่านี้ เป็นผลมาจากการเข้าถึงซอร์สโค้ดของ ColdFusion อย่างผิดกฏหมาย

      จากการที่ไมโครซอฟท์จะหยุดให้การสนับสนุนสำหรับ Windows XP ในปี 2557 เราจะได้เห็นเหตุการณ์แบบเดียวกันกับ Java 6คอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการนี้มีความเสี่ยงในการติดมัลแวร์ มากกว่าวินโดวส์เวอร์ชั่นอื่น ๆ 6 เท่า ตัวเลขอาจสูงขึ้นอีกหลังจากการสนับสนุนหยุดลงแล้ว

      ข้อมูลบอกไว้ว่าราวร้อยละ 20 ของผู้ใช้พีซียังใช้ Windows XP ตัวเลขอาจจะไม่มากเท่ากับผู้่ใช้ Windows 7 แต่ยังคงแสดงให้เห็นถึงตัวเลขของผู้ที่อาจตกเป็นเหยื่อ ช่วยไม่ได้ที่ Windows XP ยังคงมีฐานผู้ใช้งานกว่า 300 ล้านเครื่องในบริษัทต่าง ๆ อีกด้วย

      ระบบฝังตัวต่าง ๆ (embedded sytem) รวมถึงเทอร์มินัลของ point-of-sale (PoS) อุปกรณ์ในสถานพยาบาล และโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ อาจเป็นต้นเหตุของภัยคุกคามเครือข่าย เนื่องจากมักจะใช้วินโดวส์รุ่นเก่าที่ไม่ได้รับการสนับสนุนจากผู้ขาย ถึงแม้ว่าระบบเหล่านี้มีความเฉพาะเจาะจงสูงมาก อาชญากรอาจใช้ประโยชน์จากการขาดการสนับสนุนและใช้เพื่อจุดเริ่มต้นการบุกรุก

      คาดว่าการโจมตี ColdFusion จะดำเนินต่อไปในปี 2557 เช่นกัน เพราะการโจมตีที่ผ่านมาไม่นาน พบว่าเป็นเหยื่อที่มีค่าสูง อาชญากรจะยังคงโจมตีที่คล้ายคลึงกัน โดยหวังว่าจะได้พบกับเป้าหมายที่เป็นเป้าสายตาของสาธารณะชน

      6. Deep Web จะท้าทายฝ่ายบังคับใช้กฏหมาย

      Deep Web เข้ามาอยู่ในความสนใจหลังจากเอฟบีไอได้จับกุม Silk Road ซึ่งเป็นตลาดใต้ดิน แต่ถือกันว่าเป็นชัยชนะเพียงเล็กน้อย เนื่องจากมีการพบเห็นเว็บไซต์เวอร์ชั่นใหม่ขึ้นมาอีก เพียงหนึ่งเดือนหลังจากการปิดตัว ตลาดอื่น ๆ ก็จะทำตามในไม่ช้า โดยอ้างว่า มีความปลอดภัยที่ดีกว่าสำหรับผู้ซื้อและผู้ขาย

      การแก้ไขอาชญากรรมทางอินเทอร์เน็ตทำได้ยาก เนื่องจากโดยธรรมชาติแล้ว แตกต่างจากอาชญากรรมทั่วไป หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายอาจไม่มีระเบียบการ หรือบุคลากรที่ถูกต้อง เพื่อจัดการกับอาชญากรรมทางอินเทอร์เน็ต ความยุ่งยากยังเกิดขึ้นเมื่อการสืบสวนเกี่ยวข้องกับรัฐและประเทศที่แตกต่างกัน ซึ่งอาจมีกฎหมายและระเบียบการที่หลากหลาย

      ในปี 2557 อาชญากรจะหลบซ่อนใต้ดินลึกมากยิ่งขึ้น Deep Web ให้การปิดบังชื่อผ่านทาง 'darknets' ซึ่งเป็นเครือข่ายชนิดหนึ่ง ที่รับประกันได้ถึงการเข้าถึงที่ไม่เปิดเผย และไม่สามารถตามรอยได้ เครือข่าย darknet ที่นิยมมากที่สุดคือ The Onion Router (TOR) Deep Web ยังช่วยให้อาชญากรสามารถซ่อนเนื้อหาจากการตรวจสอบ โดยสามารถหลบหลีกจาก search engine ได้ ดังนั้นเนื้อหาที่ประกาศลงใน Deep Web จึงไม่สามารถเข้าถึงผ่านทางโครงสร้างพื้นฐานอินเทอร์เน็ตสาธารณะได้

      หน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งอาจไม่มีความรู้หรือประสบการณ์เพียงพอในการจัดการกับอาชญากรรมทางอินเทอร์เน็ต จะประสบความลำบากในการติดตามอาชญากรรมใน Deep Web พัฒนาการใต้ดินนี้จะทำให้หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายต้องลงทุนในการต่อสู้กับอาชญากรรมอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้น เราจะได้เห็นการริเริ่มจากองค์การระหว่างประเทศ ที่นำโดยประเทศที่พัฒนาแล้วมากขึ้น ซึ่งจะตระหนักถึงสถานการณ์มากขึ้น และดำเนินการที่เป็นรูปธรรม พวกเขาจะนำผู้เชี่ยวชาญมาฝึกสอนเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย โชคไม่ดีที่ประเทศโลกที่สามยังคงตามหลังอยู่ 4-5 ปี

      7. ความไม่เชื่อใจของสาธารณชนจะมีผลตามมา หลังจากการเปิดโปงกิจกรรมการเฝ้าสังเกตที่รัฐเป็นผู้อุปถัมภ์ ส่งผลให้เกิดช่วงเวลาของความพยายามฟื้นฟูความเป็นส่วนตัว

      เอกสารความลับที่เอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน อดีดผู้รับจ้างของ NSA ได้รับมา เน้นถึงสภาพที่ซับซ้อนของความเป็นส่วนตัวในยุคดิจิตัล

      การใช้สปายแวร์ (spyware) ไม่ได้จำกัดอยู่ที่อาชญากรอีกต่อไป จริง ๆ แล้ว สปายแวร์กลายเป็นเครื่องมือของฝ่ายรัฐบาล เพื่อการจารกรรมทางการเมือง เรายังได้เห็นการขายสปายแวร์เชิงการค้า โดยมักทำการตลาดให้เป็นเครื่องมือในการติดตามคู่สมรสนอกใจ กระแสหลักของการใช้สปายแวร์ และการสอดแนม มีเส้นบาง ๆ กั้นอยู่ระหว่างข้อมูลข่าวสารที่เป็น "ส่วนตัว" และ "สาธารณะ"

      ความกังวลเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว ผลักดันให้ผู้ใช้ระมัดระวังการแสดงตนในอินเทอร์เน็ตมากขึ้น วัยรุ่นหลายคนได้เปลี่ยนจากการใช้เฟซบุ๊คมาใช้แอพส่งข้อความแทน ด้วยจำนวนผู้ใช้เฟซบุ๊คมากกว่าหนึ่งพันสองร้อยล้านคน  วัยรุ่นพบว่ามีความเป็นส่วนตัวในเครือข่ายสังคมนี้น้อยมาก พวกเขาเลยหันไปใช้แอพส่งข้อความ เพื่อการสื่อสารทั้งในทางส่วนตัวและสังคมมากขึ้น แอพส่งข้อความ WeChat มีผู้ใช้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 1,021 อายุระหว่าง 16-19 ปี ส่วนแอพแชร์รูป Snapchat อ้างว่ามี "snaps" หรือรูปภาพส่งออกไป 350 ล้านครั้งต่อวัน สาเหตุที่ทำให้มีจำนวนมากเช่นนี้ อาจเป็นเพราะฟังก์ชั่นในการลบโดยอัตโนมัติของแอพนี้ ใช้เพื่อป้องกันความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้

      การเปิดโปงกิจกรรมการเฝ้าสังเกตที่รัฐเป็นผู้อุปถัมภ์ ผลักดันให้หลาย ๆ คนพิจารณาถึงที่เก็บข้อมูลของพวกเขาใหม่ ความไม่เชื่อใจในการใช้โครงสร้างพื้นฐานของสหรัฐ ฯ จะมีผลตามมา รัฐบาลต่างชาติอาจหยุดใช้งาน ความกังวลเกี่ยวกับการเฝ้าสังเกตในระดับนานาชาติ อาจทำให้บางรัฐพิจารณาทบทวนนโยบายใหม่ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการใช้งานอินเทอร์เน็ต ทั้ง ๆ ที่มีการคัดค้านของสาธารณชนอย่างรุนแรง เราจะได้เห็นการเฝ้าสังเกตในระดับรัฐเกิดมากขึ้น

      ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว ผู้ให้บริการคลาวด์จะยืนยันให้เห็นถึงการควบคุมด้านความปลอดภัย และการป้องกันความเป็นส่วนตัวของข้อมูล เราจะได้เห็นพวกเขาทำงานร่วมกับบริษัทด้านความปลอดภัย เพื่อให้มั่นใจได้ถึงการป้องกันข้อมูลและความเป็นส่วนตัว จะทำให้เกิดแนวโน้ม bring-your-own-controls (BYOC) ซึ่งช่วยให้ลูกค้ามั่นใจได้ว่าข้อมูลแบ่งเป็นส่วน ได้รับการป้องกัน และไม่สามารถอ่านได้จากผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาต

      ผู้ใช้จะเข้าใจว่าในการรักษาความเป็นส่วนตัว พวกเขาจำเป็นต้องควบคุมว่า ใครสามารถเห็นข้อมูลข่าวสารของพวกเขาได้ พวกเขาจะปกป้องความเป็นส่วนตัวในไซต์สำคัญ ๆ อย่าง Google และ Facebook อย่างจริงจัง ใช้ความพยายามในการเรียนรู้มากขึ้นถึงเครื่องมือที่ช่วยในการป้องกันข้อมูล และควบคุมสิ่งที่แบ่งปันในโลกออนไลน์ อาจพิจารณาถึงการสำรวจการใช้งานเครื่องมือการเข้ารหัสอย่างเช่น TOR เพื่อให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลข่าวสารของพวกเขายังคงเป็นส่วนตัว

      เราจะเห็นบริษัทต่าง ๆ ได้กำไรจากการขายข้อมูลเพื่อจุดประสงค์ในการโฆษณา บริษัทด้านการทำเหมืองข้อมูลขนาดใหญ่ (big data mining) จะเจริญเติบโตต่อไป

      สำหรับอาชญากร ธรุกิจยังคงเป็นเช่นเดิม พวกเขาจะทำเงินจากข้อมูลที่ขโมยมา และประสบความสำเร็จในตลาดใต้ดิน

      8. เรายังคงไม่เห็นภัยคุกคามของ Internet of Everythingที่แพร่หลายและกินขอบเขตกว้าง สิ่งนี้ต้องอาศัย "killer app" ซึ่งอาจปรากฏในส่วนของ AR ในรูปแบบของเทคโนโลยีอย่าง จอภาพสวมศีรษะ

      จากการที่มีอุปกรณ์ต่าง ๆ เชื่อมต่อกันมากขึ้น การรักษาความปลอดภัยอุปกรณ์เหล่านี้ จะหมายถึงการป้องกันจุดในการเข้าถึงทั้งหมด รวมทั้งอินเทอร์เน็ตด้วย

      การพัฒนาของระบบ SCADA

      SCADA (Supervisory Control and Data Acquisition การควบคุมกำกับดูแลและเก็บข้อมูล) เป็นประเภทหนึ่งของระบบการควบคุมอุตสาหกรรม (Industrial Control System หรือ ICS) ที่มีการควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ที่เฝ้าดูและควบคุมกระบวนการทางอุตสาหกรรมที่มีอยู่ในโลกทางกายภาพ เป็นกระบวนการขนาดใหญ่ ที่สามารถรวมหลายไซต์งานและระยะทางกว้างใหญ่ กระบวนการเหล่านี้รวมถึงอุตสาหกรรม, โครงสร้างพื้นฐาน, และกระบวนการที่มีพื้นฐานมาจากการให้บริการ

      ผลการวิจัยที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่าระบบ SCADA ยังคงขาดการรักษาความปลอดภัย ในขณะนี้ได้มีความพยายามในการแก้ไขปัญหานี้ มีการจัดตั้งโครงการให้เงินรางวัลกับผู้ค้นพบช่องโหว่ (bug bounty program) และคณะทำงานเฉพาะจากผู้จำหน่าย เพื่อให้มั่นใจได้ถึงความปลอดภัยของระบบ SCADA ถึงแม้มีข้อจำกัดด้านความปลอดภัย แต่ยังคงมีการใช้งานระบบ SCADA ต่อไป

      การโจมตีในระบบ SCADA ยังคงดำเนินต่อไป การโจมตีเหล่านี้ พร้อมด้วยการอภิปรายและการวิจัย จะแสดงให้เห็นช่องโหว่ของเครือข่าย SCADAเครือข่ายนี้มักจะอาศัยการป้องกันโดยการแยกออกทางกายภาพ ทำให้ตกเป็นเป้าหมายของผู้โจมตีได้อย่างง่ายดาย

      เป้าหมายใหม่ที่ง่ายต่อการโจมตี

      เทคโนโลยี Radio-frequency-enabled จะกลายเป็นเป้าหมายใหม่ที่ง่ายต่อการโจมตี มักใช้ในเทคโนโลยีในกาติดตาม เช่น AIS (Automatic Identification System) ความถี่วิทยุจะกลายเป็นจุดเริ่มต้นในการโจมตี เพราะ AIS ใช้ในการจราจรทางเรือ ระบบที่มีช่องโหว่อาจถูกคนร้ายโจมตีได้

      เกมเมอร์เป็นเหยื่อกลุ่มใหม่

      แรงจูงใจในการมุ่งโจมตีผู้เล่นเกมส์ไม่ได้มีเพียงแต่เรื่องจำนวนเท่านั้น จำนวนผู้เล่นเกมส์คอนโซลจะไปถึง 165 ล้านคนภายในปี 2560 แต่ยังหมายถึงฮาร์ดแวร์ที่พวกเขาใช้ เกมเมอร์ใช้คอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถในการประมวลผลสูงเพื่อใช้ในการเล่นเกมส์ที่เข้มข้น โชคไม่ดีที่พลังในการประมวลผลนี้ สามารถใช้เพื่อทำ Bitcoin mining (ขั้นตอนในการใช้พลังในการประมวลผลเพื่อใช้ในกิจกรรมของ Bitcoin) ได้เช่นเดียวกัน เราเคยเห็นสิ่งนี้เกิดขึ้นมาก่อน โดยเฉพาะเมื่อมีการรับเอา cryptocurrency (สกุลเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่อาศัยการเข้ารหัสลับ) มาใช้เพิ่มขึ้น เรื่องนี้จะไม่เป็นสิ่งสุดท้ายที่เกิดขึ้น

      การรอคอย "killer app"

      เราจะได้เห็นนวัตกรรมทางเทคนิคที่ไม่สำคัญจำนวนมาก แต่ยังไม่มีการค้นพบที่ยิ่งใหญ่ในอาชญากรรมทางอินเทอร์เน็ต อาชญากรยังคงรอ "killer app" การค้นพบที่ยิ่งใหญ่ทางเทคโนโลยี ที่จะดึงความสนใจของคนจำนวนมาก ขณะที่อุปกรณ์อัจฉริยะขนาดเล็กได้ออกวางขาย แต่ยังไม่มีสิ่งใดที่ทำให้ประชาชนสนใจได้มากเท่ากับการสร้างสรรค์ที่ยิ่งใหญ่ครั้งก่อนอย่าง iPod ได้

      ไปไกลกว่าปี 2557

      "สิ่งท้าทายต่อไป" ที่อาชญากรกำลังรอ อาจมาจากโลกของ augmented reality (AR) เฮดเซ็ต (headsets) ความเป็นจริงเสมือน (virtual reality) จะกลายเป็นเทคโนโลยีแปลกใหม่ ไม่เพียงแต่จะเปลี่ยนพื้นที่ในการเล่นเกมส์ แต่จะใช้ในจุดประสงค์อื่น ๆ เช่น การเข้าร่วมการเรียกประชุม หรือการประกาศในเครือข่ายสังคม

      อุปกรณ์อัจฉริยะเหล่านี้จะเป็นที่ต้องการมากขึ้น เฮดเซ็ตแบบ AR จะตกเป็นเป้าหมายใหม่ในการขโมยข้อมูลส่วนตัว กล้องที่อยู่ภายในจะถูกใช้เพื่อการโจมตี ทำให้อาชญากรเห็นความเคลื่อนไหวประจำวันของผู้ใช้ และเป็นเครื่องมือในการบันทึกข้อมูลต่าง ๆ เช่น PIN และข้อมูลส่วนตัวอื่น ๆ

      จะมีการใช้อากาศยานที่ควบคุมจากระยะไกล (drone) เพื่อการตรวจตราและกสิกรรม พวกมันจะกลายเป็นสิ่งธรรมดาที่พบได้ทั่วไป และทำให้เป็นมาตรฐานในแวดวงการค้า โชคไม่ดีที่อาชญากรจะใช้ประโยชน์จากพวกมันเช่นเดียวกัน

      ไกลกว่าปี 2557 เทคโนโลยีด้าน radio-frequency-enabled จะตกเป็นเป้าหมายอย่างแท้จริง เราจะได้เห็นการโจมตีสถานีส่งสัญญาณ AIS ภายในปี 2563 ซึ่งจะมีผลที่รุนแรงมากต่อธุรกิจการขนส่งสินค้าทางเรือเป็นต้น

      9. การโจมตีแบบ DDoS จะทำแบบหลบซ่อนมากขึ้น

      ผู้โจมตี DDoS จะเปลี่ยนจากการโจมตีที่ใช้การโจมตีที่มีปริมาณมาก ๆ ไปเป็นการโจมตีคอขวด ที่มีผลกระทบกับการดำเนินงาน อย่างเช่นหน้าเว็บที่ทำให้เครื่องแม่ข่ายทำงานหนัก หรือคอขวดทางเครือข่ายโดยเฉพาะ (อย่างเช่นการจัดการ login และ session) ซึ่งสามารถขยายผลกระทบจากการโจมตีได้มากกว่าการโจมตีที่อาศัยปริมาณ ดังนั้นอาจเริ่มเห็นการแพร่กระจายของเครื่องมือที่เก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับไซต์ที่ต้องการโจมตี ทำให้การโจมตี DDoS มีผลกระทบมากขึ้น แต่ปริมาณการใช้เครือข่ายน้อยลงกว่าที่เคยพบมาก่อน


      10. มัลแวร์อย่าง “Stuxnets” จะพบได้บ่อยมากขึ้น

      มัลแวร์ที่ได้รับการสนับสนุนระดับรัฐอย่าง “Stuxnet” เชื่อกันว่ามีต้นตอมาจากสหรัฐ ฯ อิสราเอล หรือทั้งคู่ ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีความซับซ้อน และมีประสิทธิผลเกินว่าที่แฮกเกอร์เพียงสองคนจะทำได้ คาดว่าจะมีมัลแวร์ชนิดนี้จากจีน รัสเซีย อิหร่าน อินเดีย บราซิล และปากีสถาน อาจจะมีออกมาแล้วก็ได้ แต่ยังไม่สามารถตรวจจับได้ ปี 2557 เป็นปีที่จะเห็นความแพร่หลายของมันได้ชัดเจน

      xxxxxxxxxxxxxxxxxxx

      เรียบเรียงโดย   นนทวรรธนะ  สาระมาน และ เกียรติศักดิ์  สมวงศ์

      Nontawattana  Saraman   and  Kiattisak  Somwong

      SRAN Dev Team
      10/01/2557



      ข้อมูลอ้างอิง

      http://www.trendmicro.com/cloud-content/us/pdfs/security-intelligence/reports/rpt-trend-micro-security-predictions-for-2014-and-beyond.pdf

      http://www.esecurityplanet.com/network-security/7-security-trends-to-expect-in-2014.html

      http://searchsecurity.techtarget.com/definition/spear-phishing

      http://www.webopedia.com/TERM/T/targeted_attack.html

      http://en.wikipedia.org/wiki/Watering_Hole

      http://en.wikipedia.org/wiki/Clickjacking

      http://en.wikipedia.org/wiki/Deep_Web

      http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%B2

      http://Bitcoin.org/en/faq#what-is-bitcoin-mining

      http://en.termwiki.com/TH:cryptocurrency

      http://appreview.in.th/disruptive-technology-and-business/

      สถิติภัยคุกคามที่เกิดขึ้นกับผู้ให้บริการโทรคมนาคมและอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2556

      $
      0
      0
      ข้อมูลที่นำเสนอต่อไปนี้เป็นการรวบรวมสถิติโดยเฉพาะภัยคุกคามทางโทรคมนาคมและอินเทอร์เน็ตที่เกิดขึ้นในประเทศไทย จึงคิดว่าควรจัดรวบรวมข้อมูลนี้สรุปเป็นรายปี เกิดขึ้นโดยการรวมค่าที่ได้มาจาก ASN (Autonomous System Number) ที่มีอยู่ในประเทศไทยและค้นหาตามไอพีที่อยู่ภายใต้ ASN จัดรวมในรูปข้อมูลบนฐานข้อมูลกลางทำให้เราเห็นภาพรวมที่น่าสนใจ



      ภาพจากระบบ SRAN : Thailand Internet Map System ที่จัดทำขึ้นเมื่อปลายปี 2556  

      จากข้อมูลที่ทางทีมงาน SRAN ได้รวบรวมขึ้นมาเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2556 พบว่า



      จากภาพแผนที่อินเทอร์เน็ตที่ทางศูนย์เทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์แห่งชาติ NECTEC ได้จัดทำขึ้นในเดือนธันวาคม 2556 ที่เป็น International Internet Gateway มาประกอบกับข้อมูลที่ทางทีมงาน SRAN จัดทำลงฐานข้อมูลจะสามารถสรุปได้ดังนี้

      1. เส้นทางการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในประเทศไทยไปยังต่างประเทศ
      จากจำนวนค่า ASN ที่ Active โดยมีการเส้นทางการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและมีการใช้งานแก่ผู้บริโภคทางโทรคมนาคมจำนวน 252 ASN พบลิงค์ไปยังต่างประเทศ 46 ประเทศที่ปรากฏ


      จะพบว่าเส้นทางเชื่อมต่อินเทอร์เน็ตไปที่ประเทศสหรัฐอเมริกาจำนวนมากที่สุดถึง 22 ลิงค์ รองลองมาคือประเทศญี่ปุ่น จำนวน 8 ลิงค์ และประเทศออสเตเลีย และอังกฤษจำนวน 7 ลิงค์


      ASN ที่สำคัญในประเทศไทย
      2. CAT Telecom 
      - AS4651  มีการเชื่อมโยงดังนี้

      ภาพแผนที่การเชื่อมโยงอินเทอร์เน็ตขาต่างประเทศของ AS4651



      รวมลิงค์ที่เชื่อม AS4651 จำนวน 21 ลิงค์ที่ไปต่างประเทศ
      โดยเชื่อมกับประเทศสหรัฐอเมริกาจำนวน 8 ลิงค์ ประเทศอังกฤษ จำนวน 3 ลิงค์ และฮ่องกง จำนวน 3 ลิงค์ เป็นต้น

      - AS4652 


      - AS9931

      3. TOT

       AS38040 


      เมื่อทำการวิเคราะห์ภาพรวมประเภทหน่วยงานภายในประเทศไทย แบ่งเป็น 3 ชนิดภัยคุกคามจาก 5 กลุ่มประเภทหน่วยงาน ซึ่งประกอบด้วย
      ชนิดที่ 1 : เว็บไซต์ในประเทศไทยที่ถูกโจมตี ได้แก่ การโจมตีชนิดที่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลในเว็บไซต์ (web defacement)
      ชนิดที่ 2 : เว็บไซต์ในประเทศไทย ที่ตกเป็นฐานของฟิชชิ่ง (Phishing) จนกลายเป็นเว็บหลอกลวง
      ชนิด ที่ 3 : เว็บไซต์ในประเทศไทย ที่ติดไวรัสคอมพิวเตอร์ (Malware) ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเว็บไซต์ที่ถูกโจมตีแล้วสามารถเข้าถึงระบบได้และมีการนำไฟล์ไวรัสเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์

      โดยสามารถจัดอันดับตาม ASN ในประเทศไทยได้ดังนี้
      (ข้อมูลจาก www.sran.net)

      รายชื่อ 10 อันดับ หน่วยงานที่พบการโจมตีบนโลกไซเบอร์ (Web Attack) มากที่สุดในประเทศไทย 

      อันดับ 1 AS9931  ของบริษัท CAT Telecom  จำนวนที่พบ 6,543 ครั้ง
      อันดับ 2 AS9891 ของบริษัท CS LOXINFO  จำนวนที่พบ 1,913 ครั้ง
      อันดับ 3 AS4618 ของบริษัท Internet Thailand Company Limited จำนวน 1,336 ครั้ง
      อันดับ 4 AS56067 ของบริษัท Metrabyte company จำนวน 1,330 ครั้ง
      อันดับ 5 AS23974 ของกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 924 ครั้ง
      อันดับ 6 AS4765 ของบริษัท World Net & Services จำนวน 916 ครั้ง
      อันดับ 7 AS4621 ของโครงข่ายมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษา จำนวน 599 ครั้ง
      อันดับ 8 AS7470 ของบริษัท True Internet จำนวน 294 ครั้ง
      อันดับ 9 AS23884 ของบริษัท Proimage Engineering and Communication จำนวน 261 ครั้ง
      อันดับ 10 AS9737 ของบริษัท TOT จำนวน 183 ครั้ง

      รายชื่อ 10 อันดับ หน่วยงานที่พบว่ามีการติดเชื้อ (Malware) มากที่สุดในประเทศไทย

      อันดับ 1 AS9931 ของบริษัท CAT Telecom จำนวน 19,027 ครั้ง
      อันดับ 2 AS9891 ของบริษัท CS Loxinfo จำนวน 3,607 ครั้ง
      อันดับ 3 AS56067 ของบริษัท Metra byte company จำนวน 2,612 ครั้ง
      อันดับ 4 AS131447 ของบริษัท POP IDC จำนวน 1,596 ครั้ง 
      อันดับ 5 AS23884 ของบริษัท Proimage Engineering and Communication จำนวน 860 ครั้ง
      อันดับ 6 AS9737 ของบริษัท TOT จำนวน 650 ครั้ง
      อันดับ 7 AS23974 ของกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 639 ครั้ง
      อันดับ 8 AS7654 ของบริษัท Internet Service Provider จำนวน 592 ครั้ง
      อันดับ 9 AS7470 ของบริษัท True Internet จำนวน 405 ครั้ง
      อันดับ 10 AS56309 ของบริษัท Siam Data จำนวน 386 ครั้ง

      Nontawattana  Saraman
      SRAN Dev

      นนทวรรธนะ  สาระมาน
      18/01/57

      รัฐบาล 21 ประเทศ รวมถึงไทย ใช้สปายแวร์เพื่อจารกรรมข้อมูล

      $
      0
      0
      มีประเทศต่าง ๆ มากมายถึง 21 ประเทศที่ได้ใช้สปายแวร์ที่อ้างว่าไม่สามารถสืบหาร่องรอยถึงต้นตอได้ ที่ชื่อว่า "Remote Control System" (RCS)  ที่จัดจำหน่ายโดยบริษัท Hacking Team ที่ตั้งอยู่ที่เมืองมิลาน ประเทศอิตาลี 

      นักวิจัยจากซิติเซ่นแล็บ (Citizen Lab) ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการของมหาวิทยาลัยโทรอนโต (University of Toronto) ในแคนาดา ได้ค้นหาความจริงเกี่ยวกับสปายแวร์นี้เป็นเวลาหลายเดือน ก่อนที่จะได้พบความจริงเกี่ยวกับสปายแวร์ตัวนี้ จนถึงขั้นบอกตำแหน่งที่ตั้งได้ 

      รายละเอียดการค้นพบอยู่ในรายงานที่เกี่ยวข้องฉบับที่สอง กลุ่มนักวิจัยได้เปิดเผยว่าได้มีการทำการตลาด และขายสปายแวร์ตัวนี้ให้กับหน่วยงานระดับรัฐบาลเท่านั้น โดยบริษัท Hacking Team ที่ตั้งอยู่ที่เมืองมิลาน มากกว่าสองปีแล้ว และสปายแวร์นี้ได้ถูกใช้เพื่อล้วงความลับจาก Mamfakinch สื่อมวลชนโมร็อคโกที่ได้รับรางวัล และนักเคลื่อนไหวทางการเมืองชาวอาหรับเอมิเรตส์ Amed Mansoor และเมื่อเร็ว ๆ นี้ กลุ่มนักข่าวชาวเอธิโอเปียตกเป็นเป้าหมายล่าสุด โดยสปายแวร์นี้ได้ทำการตลาดว่าไม่สามารถสืบหาร่องรอยกลับไปยังผู้ควบคุมที่เป็นหน่วยงานของรัฐบาลได้ 

      Hacking Group โฆษณา RCS7 ว่าเป็นชุดซอฟท์แวร์การเจาะระบบสำหรับรัฐบาล เพื่อการดักข้อมูล (hacking suite for governmental interception) ส่วนเวอร์ชั่นถัดมาเรียกว่า "ชุดของการฝังตัว เพื่อการเฝ้าดูจากระยะไกล" (suite of remote monitoring implants) ซึ่งขายให้กับหน่วยงานของรัฐบาลประเทศต่าง ๆ ซอฟท์แวร์ทั้งสองตัวนี้สามารถดักจับข้อมูลที่อยู่ในอุปกรณ์ต่าง ๆ สำเนาข้อมูลที่อยู่ในฮาร์ดดิสก์ บันทึกการโทรศัพท์ผ่านสไกป์ (Skype) และข้อความที่ส่งผ่านโปรแกรม instant messaging ไปจนถึงการบันทึกรหัสผ่านในเว็บบราวเซอร์ และเปิดการใช้งานเว็บแคมและไมโครโฟน โดยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตแต่อย่างใด 

       RCS ควบคุมคอมพิวเตอร์ของเหยื่อโดยอาศัยการโจมตีช่องโหว่ในซอฟท์แวร์ นักวิจัยได้อ้างว่ามีผู้จัดหาข้อมูลเกี่ยวกับช่องโหว่ (exploit)ในเชิงพาณิชย์ ได้แก่ Vupen จากฝรั่งเศษ อาจให้ข้อมูลเกี่ยวรายละเอียดของช่องโหว่ที่ใช้โจมตีกับ Hacking Team ตั้งแต่ปีค.ศ. 2012 และหลบหลีกการการตรวจจับโดยการส่งข้อมูลผ่านทาง proxy server ที่ต่างกันสี่แห่งทั่วโลก ทั้งที่ใช้วิธีการเหล่านี้ นักวิจัยกล่าวว่าพวกเขาสามารถตามรอยสปายแวร์นี้ได้ 

      "การวิจัยของเราเปิดเผยว่า โครงสร้างพื้นฐานของการรวบรวมข้อมูลของ RCS ใช้เทคนิคที่เรียกว่า proxy-chaining คล้าย ๆ กับวิธีการที่ใช้เพื่อซ่อนตัวตนในอินเทอร์เน็ต อย่างการใช้ Tor โดยใช้เส้นทางหลายจุด เพื่อปกปิดปลายทางของข้อมูลข่าวสาร" นอกจากนี้ยังบอกอีกด้วยว่า "ทั้งที่มีการใช้เทคนิคนี้ เรายังสามารถ บอกตำแหน่งของห่วงโซ่ และปลายทาง (endpoint) เหล่านี้ได้ โดยใช้การวิเคราะห์แบบพิเศษ" ซิติเซ่นแล็บพบว่ามีรัฐบาล 21 แห่งที่ใช้หรือเคยใช้ RCS ได้แก่ อาเซอร์ไบจาน โคลอมเบีย อียิปต์ เอธิโอเปีย ฮังการี อิตาลี คาซัคสถาน เกาหลี มาเลเซีย เม็กซิโก โมร็อกโก ไนจีเรีย โอมาน ปานามา โปแลนด์ ซาอุดีอาระเบีย ซูดาน ไทย ตุรกี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และ อุซเบกิสถาน 


      ภาพแสดงประเทศลูกค้าของสปายแวร์ RCS 


      นักวิจัยได้ชี้ว่าในประเทศที่กล่าวข้างต้นนี้ มีเก้าประเทศที่มีดัชนีชี้วัดประชาธิปไตย (จัดขึ้นโดยนิตยสารดิ อีโคโนมิสต์ ปีค.ศ.2012) ในอันดับต่ำสุด นอกจากนี้ประเทศอียิปต์และตุรกียังมีปัญหาการประท้วงในประเทศอีกด้วย หลังจากมีรายงานที่ซิติเซ่นแล็บเผยแพร่ออกมา 


      บริษัท Hacking Team ได้แถลงว่าซอฟท์แวร์ของตนมีจุดประสงค์เพื่อต่อสู้กับอาชญากรรมและการก่อการร้ายเท่านั้น และจะไม่ขายให้กับประเทศที่ถูกจำกัดสิทธิ์หรือขึ้นบัญชีดำโดย สหภาพยุโรป อเมริกา และนาโต้ อย่างไรก็ตามซิติเซ่นแล็บได้โต้แย้งในประเด็นนี้ และยกตัวอย่างมาประกอบ โดยกล่าวถึงกิจกรรมจากปลายทางของ RCS ในอาเซอร์ไบจาน ในระหว่างเดือนมิถุนายนและพฤศจิกายนปีที่แล้ว และชี้แนะว่าเทคนิคคล้าย ๆ กันนี้อาจใช้เพื่อจารกรรมข้อมูลจากนักข่าวสืบสวน Khadija Ismayilova ก่อนการเลือกตั้งระดับชาติ นอกจากนี้ องค์การเพื่อสิทธิมนุษยชน ฮิวแมนไรท์วอทช์ได้รายงานว่า การวิจารณ์รัฐบาลคาซัคสถานได้จางหายไป ในขณะที่ปลายทางของ RCS ได้ทำงานอยู่ในประเทศ ส่วนกิจกรรมของ RCS ในอิตาลีที่เป็นต้นกำเนิดของ RCS พบว่ามีความเข้มข้นมาก นักวิจัยจากซิติเซ่นแล็บได้กล่าวสรุปการค้นพบว่า การบุกรุกระบบโดยใช้สปายแวร์ส่วนใหญ่เหล่านี้อาจได้รับการรับรองทางกฏหมาย และสังเกตเห็นถึงการร่วมมือกันระหว่างบริษัทที่ขายโปรแกรมโจมตีช่องโหว่ซอฟท์แวร์ (exploit kit) และบริษัทที่ขายโทรจันที่ขโมยข้อมูลผู้ใช้ และกล่าวเพิ่มเติมว่าการบุกรุกในลักษณะนี้ "ไม่เหมาะสม" และ "ไม่รับผิดชอบ" อย่างยิ่ง 


      รายการของปลายทาง RCS ในประเทศต่าง ๆ 

      Endpoint IP    ประเทศ    พบครั้งแรก    พบครั้งสุดท้าย     
      109.235.193.83    อาเซอร์ไบจาน    6/2/2013    11/26/2013     
      190.242.96.49    โคลอมเบีย    10/21/2013    1/7/2014     
      41.33.151.150    อียิปต์    3/10/2013    10/29/2013     
      216.118.232.xxx    เอธิโอเปีย    11/18/2013    2/3/2014     
      81.183.229.xxx    ฮังการี    6/16/2012    ยังทำงานอยู่     
      2.228.65.226    อีตาลี    10/26/2012    ยังทำงานอยู่     
      82.104.200.51    อีตาลี    9/17/2012    12/2/2013     
      88.33.54.xxx    อีตาลี    6/4/2012    ยังทำงานอยู่     
      95.228.202.xxx    อีตาลี    9/18/2012    ยังทำงานอยู่     
      95.228.202.xxx    อีตาลี    9/17/2012    ยังทำงานอยู่     
      95.228.202.xxx    อีตาลี    9/18/2012    ยังทำงานอยู่     
      95.228.202.xxx    อีตาลี    9/18/2012    ยังทำงานอยู่     
      95.228.202.xxx    อีตาลี    9/17/2012    ยังทำงานอยู่     
      95.228.202.xxx    อีตาลี    9/15/2012    ยังทำงานอยู่     
      89.218.88.xxx    คาซัคสถาน    8/21/2013    ยังทำงานอยู่     
      211.51.14.129    เกาหลี    8/26/2012    1/7/2014     
      203.217.178.xxx    มาเลเซีย    5/28/2012    ยังทำงานอยู่     
      189.177.47.xxx    เม็กซิโก    1/30/2014    ยังทำงานอยู่     
      189.177.65.13    เม็กซิโก    11/13/2013    12/10/2013     
      189.177.74.147    เม็กซิโก    11/1/2013    11/1/2013     
      201.157.43.60    เม็กซิโก    10/13/2013    1/7/2014     
      200.67.230.2    เม็กซิโก    5/25/2012    ยังทำงานอยู่     
      41.248.248.xxx    เม็กซิโก    6/3/2012    ยังทำงานอยู่     
      41.248.248.xxx    เม็กซิโก    7/25/2012    ยังทำงานอยู่     
      41.248.248.xxx    เม็กซิโก    6/12/2012    ยังทำงานอยู่     
      41.248.248.xxx    เม็กซิโก    5/27/2012    ยังทำงานอยู่     
      81.192.5.xxx    เม็กซิโก    7/25/2012    ยังทำงานอยู่     
      62.251.188.xxx    เม็กซิโก    5/31/2012    ยังทำงานอยู่     
      197.210.255.178    ไนจีเรีย    9/15/2013    10/21/2013     
      95.49.xxx.xxx53    โปแลนด์    8/10/2012    ยังทำงานอยู่     
      37.242.13.10    ซาอุดิอาระเบีย    1/7/2014    1/7/2014     
      62.149.88.20    ซาอุดิอาระเบีย    6/5/2012    7/2/2013     
      41.78.109.91    ซูดาน    12/14/2012    1/12/2014     
      203.149.47.xxx    ไทย    10/4/2013    ยังทำงานอยู่     
      95.9.71.180    ตุรกี    11/13/2013    11/19/2013     
      81.95.226.134    อุซเบกิสถาน    8/7/2013    9/2/2013     
      81.95.224.10    อุซเบกิสถาน    1/22/2013    1/26/2013     
      217.29.123.184    อุซเบกิสถาน    7/21/2013    9/16/2013    



      SRAN Dev Team
      02/2557

      อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก 

      https://citizenlab.org/2014/02/mapping-hacking-teams-untraceable-spyware/ 
      https://citizenlab.org/2014/02/hacking-team-targeting-ethiopian-journalists/ ข้อมูลอ้างอิงจาก http://www.scmagazineuk.com/21-governments-have-used-untraceable-spyware/article/334346/ http://www.spiegel.de/netzwelt/web/software-von-hacking-team-dient-der-hatz-auf-dissidenten-a-954027.html

      เตือนภัยเรื่อง DNS ที่ส่งผลกระทบต่อผู้ใช้งานตามบ้าน

      $
      0
      0
       DNS ที่ส่งผลกระทบต่อผู้ใช้งานตามบ้าน  เรื่องใกล้ตัวที่คนไทยถูกเปลี่ยนเส้นทางในการเข้าถึงข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตจนถึงขั้นตกเป็นเหยื่อทางอาชญากรรมทางไซเบอร์กว่าแสนเครื่อง เรื่องเก่าที่จำเป็นต้องขยายความเพื่อความตะหนักถึงภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นกับตัวคุณเองได้
        
      บทความนี้ขอแบ่งเป็น 3 หัวข้อ คือ
      หัวข้อที่ 1 การสำรวจและสถิติข้อมูล (Internet Discovery and Census)
      หัวข้อที่ 2 พิสูจน์หาความจริงเกี่ยวกับค่า DNS ที่ถูกเปลี่ยน และผลกระทบที่เกิดขึ้น
      หัวข้อที่ 3 การป้องกัน (Protection)

      1. การสำรวจและสถิติข้อมูล (Internet Discovery and Census)

      เมื่อเดือนมกราคม 2557 ที่ผ่านมาได้มีการเผยแพร่ช่องโหว่ของอุปกรณ์เราเตอร์โดยสามารถเข้าถึงอุปกรณ์ได้และทำให้นักเจาะระบบสามารถเข้าไปควบคุมอุปกรณ์เราเตอร์ตามบ้านและทำการเปลี่ยนเส้นทางการเรียกข้อมูลโดยเปลี่ยนค่า DNS ในอุปกรณ์เราเตอร์ที่บ้านเรา ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้ใช้งานตามบ้าน (User) โดยตรง ปัญหานี้ถึงแม้ในปัจจุบันผู้ให้บริการได้มีการเขียนสคิปเพื่อเปลี่ยน DNS แก้กลับคืนได้ผ่านหลากหลายวิธีที่สามารถทำได้ผ่านผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) แต่ถึงอย่างไรก็ไม่สามารถแก้ไขเครื่องเราเตอร์ที่มีช่องโหว่ได้ทั้งหมด โดยทั้งนี้ผู้เขียนจะขอรวบรวมสถิติที่ทางทีมงาน SRAN ได้สำรวจผ่านสคิปบอทที่จัดทำขึ้นเฉพาะเพื่อประเมินค่าทางสถิติบทวิเคราะห์รวมถึงวิธีการป้องกันต่อไปนี้ 
      1.1 เครื่องมือในการสำรวจ
      เป็นการพัฒนาโปรแกรมขึ้นมาเพื่อสำรวจข้อมูลโดยเฉพาะ และใช้การทำ Log Analysis เพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากสคิปบอท



       ภาพ หน้าจอระบบสำรวจ (Internet Census) เมื่อนำเข้าสู่ระบบ Log Analysis ทำการสำรวจข้อมูล ASN จำนวนกว่า 4 ล้านค่าไอพีตลอดระยะเวลา 2 เดือน


      ภาพ หน้าจอบริหารจัดการสคิปบอทที่ทำการสำรวจข้อมูลความเสี่ยงของเราเตอร์เพื่อ บอกสถานะการทำงาน ตัวเลข Current Discovery คือค่าจำนวนไอพีที่เหลือจากการตั้งค่าให้บอทตรวจสอบซึ่งสามารถเพิ่มเครื่อ ข่ายให้ตรวจสอบเพิ่มเติมได้โดยใส่ค่า Prefix IP ที่มีอยู่ใน ASN

      สคิปบอทที่จัดทำขึ้นเฉพาะนั้นทำการสำรวจผ่านเทคนิคตรวจสอบการ HTTP port 80 ลักษณะตรวจ Basic Authentication และ HTTP Header โดยมีลักษณะเหมือน Crawler เช่นเดียวกับ google และ shodanhq โดยเราตั้งชื่อระบบสำรวจนี้ว่า "SRAN Internet Exposed" โดยสำรวจ 2 ครั้งต่อ 1 ค่า ASN โดยมีการระบุค่า MAC Address ที่อุปกรณ์เราเตอร์เพื่อไม่เกิดการซ้ำของค่าข้อมูล
      โดยทำการตรวจสอบข้อมูลลักษณะช่องโหว่ของอุปกรณ์เราเตอร์ (Router Fingerprint) ที่พบว่ามีช่องโหว่ได้แก่ ช่องโหว่ Exploit ตาม CVE ได้แก่ d-link,tp-link,zyxel และ Huawai , rom-0 และ default password  โดยผลลัพธ์คือ

      1.2 ระยะเวลา 2 เดือน คือเดือน กุมภาพันธ์ - เมษายน 2557 ทำการสำรวจค่า IPv4 ทั้งหมดจาก ASN ทั้งหมด 7 ตัวที่คิดว่าอาจมีผลกระทบต่อผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตบ้าน

      1.3 ผลลัพธ์จากการสำรวจจัดทำเฉพาะผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตตามบ้าน
      ซึ่งมีทั้งค่า IPv4 ที่ใช้สำรวจทั้งหมดจำนวน 4,704,557

      ค่าการสำรวจถึงวันที่ 13 เมษายน 2557 พบช่องโหว่ที่พบจำนวน  616,294
      ซึ่งคิดเครื่องที่มีความเสี่ยง 13.09% 

      โดยสำรวจจากค่า ASN ดังนี้

      (1) AS9737 จากจำนวน IPv4 ทั้งหมดจำนวน 1,238,528  พบช่องโหว่ 427,405 เครื่อง ซึ่งพบว่าเป็น Default password จากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ถึง 241,372 เครื่อง 

      (2) AS45758 จากจำนวน IPv4 ทั้งหมดจำนวน 1,059,328 พบช่องโหว่ 149,381 เครื่อง

      (3) AS23969 จากจำนวน IPv4 ทั้งหมดจำนวน 71,680 พบช่องโหว่ 23,547 เครื่อง


      (4) AS17552 จากจำนวน IPv4 ทั้งหมด 1,594,112 พบช่องโหว่ 14,545 เครื่อง

      (5) AS131090 จากจำนวน IPv4 ทั้งหมดจำนวน 90,112 พบช่องโหว่ 1,391 เครื่อง

      (6) AS45455 จากจำนวน IPv4 ทั้งหมดจำนวน 7,936 พบช่องโหว่ 14 เครื่อง

      (7) AS7470 : จากจำนวน IPv4 ทั้งหมด 642,861 พบช่องโหว่ 11 เครื่อง

      หมายเหตุ : จำนวน IPv4 ทั้งหมดไม่ได้หมายถึงว่าจะมีเครื่องตามนั้น แต่ที่พบช่องโหว่เป็นไปตามจำนวนเครื่องจริงเนื่องจากสคิปบอทที่ทำขึ้นตรวจค่า MAC Address เป็นหลัก



      2.พิสูจน์หาความจริงเกี่ยวกับค่า DNS ที่ถูกเปลี่ยน และผลกระทบที่เกิดขึ้น
       
      2.1 ค่า DNS : ผลการสำรวจพบว่าเราเตอร์ที่ถูกเข้าถึงข้อูลได้นั้นมีการถูกเปลี่ยนค่า DNS ดังนี้




      ภาพค่า DNS ที่ถูกวิเคราะห์จากโปรแกรม Log Analysis ที่เขียนขึ้นเฉพาะโดยทีมงาน SRAN 10 อันดับที่มีการเปลี่ยนค่า

      จากข้อมูลจะพบว่าเราเตอร์ที่ถูกเข้าถึงข้อมูลได้มีการตั้งค่า DNS ไอพี 203.113.7.130 , 110.164.252.222 , 203.113.5.130 , 110.164.252.223 เป็นค่า DNS ที่มาจากผู้ให้บริการซึ่งเป็นค่ามาตรฐาน ส่วนค่า 8.8.8.8 เป็นค่า DNS จาก google ที่เปิดบริการฟรี ซึ่งค่าไอพีเหล่านี้มีความเสี่ยงต่ำที่ถูกการเข้าควบคุมเส้นทางการจราจรทางข้อมูล แต่ที่มีความเสี่ยงคือ

      อันดับ 1 DNS จากไอพี : 68.168.98.196   มีเครื่องในประเทศไทยที่ถูกเปลี่ยนค่าที่เราเตอร์นี้ถึง 92,553 เครื่อง
      อันดับ 2 DNS จากไอพี : 198.153.194.1 มีเครื่องในประเทศไทยที่ถูกเปลี่ยนค่าที่เราเตอร์นี้ถึง 60,893 เครื่อง
      อันดับ 3 DNS จากไอพี : 74.82.207.26  มีเครื่องในประเทศไทยที่ถูกเปลี่ยนค่าที่เราเตอร์นี้ถึง 47,944 เครื่อง
      อันดับ 4 DNS จากไอพี :216.146.35.35 มีเครื่องในประเทศไทยที่ถูกเปลี่ยนค่าที่เราเตอร์นี้ถึง 28,648 เครื่อง
      อันดับ 5 DNS จากไอพี : 50.63.128.147 มีเครื่องในประเทศไทยที่ถูกเปลี่ยนค่าถึง 11,852 เครื่อง
      และอื่นๆ ได้แก่ ไอพี 69.85.88.11 จำนวน 1,741 เครื่อง และ 5.175.147.98  จำนวน 1,379 เครื่อง ที่ถูกเปลี่ยนค่า DNS ที่ตัวอุปกรณ์เราเตอร์

      2.2 วิเคราะห์
      DNS ที่มีโอกาสตกเป็นเหยื่อและความเสี่ยงในการใช้งานอินเทอร์เน็ต 3 อันดับแรก

      2.2.1 ค่า DNS ที่ถูกเปลี่ยนเป็นไอพี 68.168.98.196 ถูกเปลี่ยนจำนวนทั้งหมด 92,553 เครื่อง
      เมื่อทำการพิจารณาตามค่า ASN ได้ผลลัพธ์การถูกเปลี่ยนค่าดังนี้

      ซึ่งจะพบว่า AS9737 ถูกเปลี่ยนค่ามากที่สุดพบถึง 87,613 เครื่อง รองลงมาคือ AS23969 จำนวน 4,133 และ AS17552 จำนวน 420 เครื่อง และ AS45758 พบ 191 เครื่อง และ AS131090 จำนวน 152 เครื่อง

      ประวัติของไอพี 68.168.98.196 : พบว่าหากใช้การทำ passive DNS จะได้ค่าโดเมนคือ
      ถูกพบเมื่อ วันที่ 18 ตุลาคม 2556 คือโดเมน jiopjieraee.info และ kolteranka.info
      ซึ่งเคยมีประวัติเป็นโดเมนในการปล่อยไวรัสคอมพิวเตอร์

      ทำการวิเคราะห์ค่า Hostname ภายใต้ไอพีแอดเดรสนี้ ผลลัพธ์ คือ

      (1) jiopjieraee.info






      (2) kolteranka.info


      โดยทั้ง 2 Hostname นี้มีการเชื่อมโยงของเส้นทางข้อมูลเหมือนกัน


      สรุปความเชื่อมโยงค่า Hostname ที่ต้องสงสัยกับการ
      jiopjieraee.info และ kolteranka.info มีค่าไอพี  68.168.98.196 ตั้งอยู่ที่ Lenexa, United States
      ใช้ Name Server ตัวที่ 1 ชื่อ ns1.regway.com มีค่าไอพี   176.74.216.129 ตั้งอยู่ที่ Czech Republi
      ใช้ Name Server ตัวที่ 2 ชื่อ ns2.regway.com มีค่าไอพี   5.153.15.74 และ 159.253.133.210 ตั้งอยู่ที่ Netherlands


       ภาพแผนที่ประเทศที่เกี่ยวข้องทั้ง Hostname , IP Address และ Name server ที่เป็นเครื่องแม่ข่ายในการที่เปลี่ยนเส้นทางข้อมูล (ซึ่งประเทศเหล่านี้อาจไม่เกี่ยวกับการกระทำในครั้งนี้)

        (3) ประวัติไอพีและโดเมนข้อมูลจาก Virustotal ได้ข้อมูลดังนี้

       เคยพบว่ามีไฟล์ไวรัสจากโดเมนแนมภายใต้ไอพีนี้

      File identification
      MD5 1ff2fd35bd045844dd843648b6ca45c3
      SHA1 30ea5fdce20438b83d9bb07bfff3a5372d306d68
      SHA256 354c72689d66eef54d793961fade71eb5f39fa2a51206ce728ad1368e753dbe3
      ssdeep
      6144:C17zBIWl/4Fj5OpVP9L0/1zOMR0blqGp5F9:YmW2j8pVV0V2BqGzF9
      File size 296.0 KB ( 303120 bytes )
      File type Win32 EXE
      Magic literal
      PE32 executable for MS Windows (GUI) Intel 80386 32-bit










      TrIDWin32 Executable MS Visual C++ (generic) (67.3%)
      Win32 Dynamic Link Library (generic) (14.2%)
      Win32 Executable (generic) (9.7%)
      Generic Win/DOS Executable (4.3%)
      DOS Executable Generic (4.3%)
      Tags
      peexe
       VirusTotal metadata
      First submission 2013-10-26 20:33:55 UTC ( 5 months, 2 weeks ago )
      Last submission 2013-11-03 12:54:34 UTC ( 5 months, 1 week ago )

      File namesvt-upload-Jdaak
      gausvdnlbhmasjdih4i5msdfvnasidbfsdf.exe
      QEdit.dll

      (4) ข้อมูลทางเทคนิค เมื่อทำการตรวจสอบจากเครื่องมือแสกนพอร์ตและตรวจลักษณะเครื่องแม่ข่าย (OS and Services Fingerprint) ได้ผลลัพธ์ดังนี้

      Scanning 68-168-98-196.dedicated.codero.net (68.168.98.196)
      ไอพีดังกล่าวตั้งอยู่ประเทศสหรัฐอเมริกา ภายใต้ AS10316 CODERO-AS - Codero,US เป็น Dedicate Server ซึ่งใครก็สามารถเช่าเครื่องแม่ข่ายนี้ได้

      PORT   STATE SERVICE VERSION
      22/tcp open ssh OpenSSH 5.3 (protocol 2.0)
      |_banner: SSH-2.0-OpenSSH_5.3
      | ssh-hostkey: 1024 32:35:a6:b2:2d:61:47:71:f2:b5:3b:5a:6e:58:e0:05 (DSA)
      |_2048 d6:8e:d0:93:1b:f8:12:54:cb:4b:58:2d:ed:8f:cf:86 (RSA)
      53/tcp open domain
      Device type: general purpose
      Running: Linux 2.6.X|3.X
      OS CPE: cpe:/o:linux:linux_kernel:2.6 cpe:/o:linux:linux_kernel:3
      OS details: Linux 2.6.32 - 3.9
      Uptime guess: 8.881 days (since Sat Apr 5 19:12:49 2014)


      2.2.2 ค่า DNS ที่ถูกเปลี่ยนเป็นไอพี 198.153.194.1 มีเครื่องในประเทศไทยที่ถูกเปลี่ยนค่าที่เราเตอร์นี้ถึง 60,893 เครื่อง
      เมื่อตรวจสอบพบว่าเป็นบริการฟรี DNS ของ ULTRADNS - NeuStar, Inc.,US ซึ่ง Symantec Corporation มาใช้

      เมื่อทำการพิจารณาตามค่า ASN ได้ผลลัพธ์การถูกเปลี่ยนค่าดังนี้

      ซึ่งจากข้อมูลจะพบว่า AS9737 ถูกเปลี่ยนค่ามากที่สุดพบถึง 53,918 เครื่อง รองลงมา AS45758 พบ 3,553 เครื่องคือ AS23969 จำนวน 3,239 และ AS17552 จำนวน 107 เครื่อง และ AS131090 จำนวน 54 เครื่อง
       
      เมื่อตรวจประวัติการแพร่เชื้อไฟล์ไวรัสที่เคยเกิดจากไอพีนี้ จาก Virustotal
      จากไอพี  198.153.194.1 พบว่ามีรายการติดเชื้ออยู่จำนวนมาก ดังนี้

      Latest files submitted to VirusTotal that are detected by one or more antivirus solutions and communicate with the IP address provided when executed in a sandboxed environment.

      ซึ่งส่วนนี้คงต้องวิเคราะห์กันอีกทีว่าทำไมทาง Symantec จึงมีการเปลี่ยนค่า DNS เราเตอร์ในประเทศไทยด้วย อาจเป็นเพื่อการทดลอง วิจัย (Honeypot) หรือเป็นการป้องกันภัยให้กับผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตก็เป็นไปได้ 

      2.2.3 ค่า DNS ที่ถูกเปลี่ยนเป็นไอพี 74.82.207.26  มีเครื่องในประเทศไทยที่ถูกเปลี่ยนค่าที่เราเตอร์นี้ถึง 47,944 เครื่อง

      เมื่อทำการพิจารณาตามค่า ASN ได้ผลลัพธ์การถูกเปลี่ยนค่าดังนี้


      ซึ่งจากข้อมูลพบว่า AS9737 ถูกเปลี่ยนค่ามากที่สุดพบถึง 42,268 เครื่อง รองลงมาคือ AS23969  จำนวน 2,441 และ AS45758 พบ 2,434 เครื่อง และ AS17552 จำนวน 700 เครื่อง และ AS131090 จำนวน 66 เครื่อง

      ตรวจดูค่า whois ได้ผลลัพธ์คือ

      Host script results:
      | asn-query:
      | BGP: 74.82.192.0/19 | Country: CA
      | Origin AS: 53612 - CARAT-NETWORKS - Carat Networks Inc,CA
      |_ Peer AS: 174 13768
      | whois: Record found at whois.arin.net
      | netrange: 74.82.192.0 - 74.82.223.255
      | netname: CLEARANCE-RACK
      | orgname: Carat Networks Inc
      | orgid: CLEAR-73
      | country: CA stateprov: ON
      |
      | orgtechname: Fromm, James
      |_orgtechemail: fromm@caratnetworks.com
      |_whois-domain: You should provide a domain name.
       
      เคยมีประวัติติดแพร่เชื้อไวรัส พบเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2557  
      รายละเอียดที่  https://www.virustotal.com/en/ip-address/74.82.207.26/information/

       2.3 แล้วผู้ใช้งานจะกระทบอะไรหากมีการเปลี่ยนค่า DNS ไปเป็นไอพีนี้
      ผลกระทบคือบางเว็บไซต์อาจถูกเปลี่ยนเส้นทางเป็น Phishing site โดยเฉพาะเว็บที่มีข้อมูลส่วนบุคคล , เกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางอินเทอร์เน็ต

      โดยเฉพาะจะทำการให้มีการหลอกให้ดาวโหลดโปรแกรม Adobe Flash Player Update ซึ่งในโปรแกรมที่ทำการถูกบังคับให้ดาวโหลดนี้จะมีการฝั่ง Spyware ทั้งทีทำการเก็บข้อมูล Password รวมไปถึง Key logger ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้


      ตัวอย่างโปรแกรม Adobe Flash Player ปลอมที่ติดมัลแวร์ฝั่งในเครื่องคอมพิวเตอร์
      ซึ่งไอพีที่สรุปมาให้นั้นล้วนแต่อันตรายและส่งผลให้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ภายใต้เราเตอร์ที่มีช่องโหว่นี้จำนวนกว่าแสนเครื่องเราเตอร์



      3. วิธีการป้องกัน (Protection)

      3.1 การป้องกันที่บ้านของเราเอง
      3.1.1 ทำการทดสอบช่องโหว่เราเตอร์ด้วยตนเอง
      เพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับผู้ใช้งานตามบ้านทางทีมงาน SRAN ได้จัดทำระบบตรวจสอบช่องโหว่เบื้องต้นที่  http://sran.net/check  

       ภาพตัวอย่างการเข้าถึงหน้าเพจ http://sran.net/check เพื่อตรวจหาช่องโหว่ที่อาจเกิดขึ้นที่เราเตอร์ที่บ้านโดยในค่าจะบอกถึง IP Address คือไอพีที่ได้รับจากผู้ให้บริการที่เป็น Public IP ค่า Hostname ค่า ASN ของผู้ให้บริการ ชื่อ ISP ประเทศ และค่า Header ของ HTTP 
      เมื่อคลิกตรวจสอบผลลัพธ์มี 2 ค่าคือเราเตอร์ไม่มีความเสี่ยง และ มีความเสี่ยง



      หากพบว่ามีความเสี่ยงจะขึ้นข้อความเตือนเพื่อทำการแก้ไขให้ปลอดภัยขึ้น

      3.1.2 ทำการอัพเดทค่า Firmware ของ Router (หากอัพเดทได้และไม่กระทบ)
      3.1.3 หากไม่สามารถทำได้ตามข้อ 3.2 ให้ทำการปิดการติดต่อข้อมูลผ่าน HTTP 80 หรือพอร์ตอื่นๆ ไม่ให้พบค่า IP Publice หรือ IP WANซึ่งเราเตอร์บางรุ่นสามารถ config ค่าได้ผ่านเมนูการป้องกันภัย (Security) แต่วิธีนี้จะทำให้เราไม่สามารถ config router ได้ผ่านอินเทอร์เน็ต
      อ่านวิธีป้องกันเพิ่มเติมได้ที่ https://www.thaicert.or.th/alerts/user/2014/al2014us001.html


      3.2 การป้องกันที่ฝั่งผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต 
      3.2.1 ไม่ปล่อยให้เกิดค่า Default  ทั้งรหัสผ่าน และ ค่าปรับปรุงระบบเราเตอร์  หรือควรแนะนำลูกค้าหลังจากติดตั้งอุปกรณ์เราเตอร์ให้มีการเปลี่ยนรหัสผ่านไม่ให้ตรงตามโรงงานหรือค่าเริ่มต้นของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตให้มา
      3.2.2 Firmware ที่มีช่องโหว่ ควรมีการเรียกคืนหรือเปลี่ยนเครื่องเราเตอร์เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ใช้งานตามบ้านที่อาจไม่เข้าใจตกเป็นเหยื่อทางอาชญากรรมทางไซเบอร์
      3.2.3 หากไม่สามารถทำได้ตามข้อ 3.2.2 ควรจัดหาสคิปหรือบอทที่สามารถสำรวจข้อมูล (Internet Census) เพื่อเปลี่ยนค่า DNS กลับสู่ค่าปกติที่ได้จากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต เพราะเป็นช่องทางหนึ่งที่จะทำให้ผู้ใช้งานตามบ้านไม่ตกเป็นเหยื่อของเครือข่ายอาชญากรรมทางไซเบอร์



      14/04/57
      Nontawattana Saraman
      SRAN Dev Team

      ข้อมูลและเขียนโดย นนทวรรธนะ  สาระมาน  ทีมพัฒนา SRAN
      ขอสงวนสิทธิข้อมูลในบทความนี้หากต้องการนำเผยแพร่ควรอ้างอิงแหล่งที่มา
      แหล่งข้อมูลอ้างอิง
      https://www.robtex.com/
      https://www.virustotal.com/
      http://he.net

      บทวิเคราะห์ Facebook ล่มในประเทศไทย

      $
      0
      0
      ในขณะที่ "Facebook ดับ"ผมนึกว่าเราจะกลายเป็นเหมือนประเทศจีน ที่มีโครงการ "Great China Firewall" เสียอีก แต่นั้นคือเขาทำได้เพราะช่องทางออกอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมไปยังต่างประเทศมีไม่กี่ช่อง ทางแต่ปัจจุบันเมืองไทยเรามีช่องทางการออกอินเทอร์เน็ตที่เชื่อม ต่างประเทศ หรือเรียกทางเทคนิคว่า IIG (Internal Internet Gateway) นั้นมีหลายช่องทางและมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นตามปริมาณการใช้งาน ดังนั้นการที่จะทำการปิดกั้นจากศูนย์กลางที่เดียวแบบ Single Command คงเป็นไปได้ยาก
      เนื่องจากผมไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ช่วงที่ Facebook ล่ม ถึงอยู่ในช่วงเวลานั้นก็ไม่กระทบอะไรเพราะตนเองไม่มี account facebook และไม่คิดจะมี account facebook แต่เมื่อหลายคนพูด Talk of the town เลยมานั่งวิเคราะห์ดูว่าสาเหตุที่แท้จริงคืออะไร เผื่อว่าจะเป็นการแชร์ความรู้ให้กับทุกท่านที่ได้ติดตามอ่านบทความของผมอย่างต่อเนื่อง

      เมื่อทำการวิเคราะห์สามารถพิจารณาจาก 2 ส่วน  ดังนี้
      ส่วน ที่ 1 พิจารณาการเชื่อมต่อข้อมูลบนระบบเครือข่าย (Route Traffic)  ซึ่งในเส้นทางการเชื่อมต่อในส่วนนี้อาจเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ไม่คงทีขึ้นอยู่กับการ config ของฝั่งผู้ให้บริการ ดังนั้นการยกตัวอย่างในบทความนี้อาจไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป

      ส่วนที่ 2 พิจารณาการเรียกค่า DNS (Domain Name System)

      ส่วนที่ 1 การเชื่อมต่อข้อมูลบนระบบเครือข่าย (Route Traffic)
      ซึ่งในส่วนแรกเราจะต้องตั้งต้นที่ Gateway ในขาต่างประเทศ เพื่อวิเคราะห์ว่ามีก Link ใดบ้างทีเชื่อมต่อกับ Facebook จะพบว่า
      ASN ในประเทศไทยที่มีขาเชื่อมต่อต่างประเทศ มีดังนี้
      1. AS4651 : CAT Telecom
      2. AS17565 : ADC (Advance Datanetwork Communications Co.,Ltd. BuddyB service. Bangkok)
      3. AS45796 : BB Connect (UIH or DTAC)
      4. AS7568 : CSLoxinfo
      5. AS45629 : JasTel (3BB)
      6. AS45430 : SBN (AIS)
      7. AS132876 : Symphony
      8. AS58430 : TCCT
      9. AS38082 : True Internet
      10. AS38040 : TOT

      ASN ของ Facebook คือ AS32934 มีค่าไอพี (IPv4) ทั้งหมด 54,272
      ซึ่งในนี้จะมีการเชื่อมต่ออยู่จำนวน 152 Link
      ที่ ASN ของ Facebook มี Link ไปประเทศสิงค์โปร มีจำนวน 2 Link คือ
      - AS7473 : Singapore Telecom
      - AS4844 : Super Internet Access PTE

      (1) AS7473 : Singapore Telecom มีการเชื่อมต่อในประเทศไทย ดังนี้
      1.1 AS38082 : True Internet
      1.2 AS4651 : CAT Telecom
      1.3 AS7568 : CSLoxinfo
      1.4 AS45629 : JasTel
      1.5 AS38040 : TOT


      (2) AS4844 : Super Internet Access PTE มีการเชื่อมต่อในประเทศไทย ดังนี้
      2.1 AS4651 : CAT Telecom
      2.2 AS38082 : True Internet
      2.3 AS7568 : CSLoxinfo
      2.4 AS38040 : TOT
      2.5 AS45629 : JasTel
      2.6 AS45796 : BBconnect
      2.7 AS45430 : SBN-IIG
      2.8 AS9587 : DTAC
      2.9 AS9931 : CAT Telecom

      เพื่อให้เห็นภาพขอทำการทดสอบผ่านผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ที่ผู้เขียนสามารถจะทำได้ดังนี้
      (1) ทำการ Trace route เพื่อค้นหาเส้นทาง ในกรณีที่ใช้เครือข่าย DTAC

      ทำการทดสอบวันที่ 28 พค 57 เวลา 16:38  ซึ่งเป็นเกิดเหตุการณ์ Facebook ล่มไปแล้วไม่นาน


      จะพบว่าใน hop ที่1 ถึง 13 เป็นการ Routing บนเครือข่ายของ DTAC เอง (เป็น Private IP Address)
      จากนั้นใน hop ที่ 14 เริ่มการไปเชื่อมกับ TOT IIG ที่ ไอพี 180.180.248.69
      จากนั้นใน hop ที่ 15 มีการเรียกค่าไปที่โดเมน facebook-sg.totiig.net โดย เป็นค่าไอพี 180.180.255.222
      และ hop ที่ 16 เป็นการเชื่อมต่อไปที่ ae11.bb02.sin1.tfbnw.net ไอพี 31.13.28.148 ซึ่งเป็นไอพีภายใต้ AS32934
      hop 21 และ hop 22 ที่ติดระบบรักษาความปลอดภัยของ Facebook
      ใช้ระยะทางเรียกค่า www.facebook.com ทั้งหมด 23 hop

      (2) ทำการ Trace route เพื่อค้นหาเส้นทาง ในกรณีที่ใช้เครือข่าย 3BB

      ทำ การทดสอบ ที่ AS45629  ช่วงไอพีที่ทำการทดสอบ เวลาทดสอบวันที่ 29 พค 57 เวลา 8:32 ซึ่งเกิดเหตุการณ์ facebook ล่มไปแล้วหลายชั่วโมง และระบบกลับมาปกติแล้ว




      เริ่มมีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่นที่ hopที่ 7 จะเป็นเครือข่ายอื่น ไอพี 80.77.0.77
      AS15412 : Reliance Globalcom Limited จากนั้้น hop ที่ 8 ไปที่ ge-71-1-0.0.ejr03.sin001.flagtel.com ค่าไอพี 62.216.128.9
      จาก hop ที่ 7 ถึง 8 จะไปผ่านที่ประเทศอังกฤษ Flag Telecom Global
       และออกไปที่ฮ่องกงใน hop ที่ 10 facebook-10G.hkix.net ไอพี 202.40.161.110 จากนั้นเข้าไปสู่เครือข่ายที่ Facebook
       ใช้ระยะทางเรียกค่า www.facebook.com ทั้งหมด 12 hop


      (3) ทำการ Trace route เพื่อค้นหาเส้นทาง ในกรณีที่ใช้เครือข่าย True

      ทำการทดสอบในวันที่ 30 พค 57 เวลา 07:43 ทดสอบผ่าน AS132061 Real Move (เป็นช่วงไอพีของ True Internet บนเครือข่ายมือถือ)

      จะพบว่ามีการเริ่มออกจากเครือข่าย True ที่ hop 12 SG-ICR-GS1-10GE.trueintergateway.com โดยมีค่าไอพี 113.21.241.162  จากนั้น hop ที่ 13 xe-7-1-1.pr01.sin1.tfbnw.net ค่าไอพี 103.4.96.29 เป็นเครือข่ายของ Facebook AS32934
       ใช้ระยะทางเรียกค่า www.facebook.com ทั้งหมด 15 hop
      ซึ่ง True Gateway สามารถมีการเชื่อมต่อไปตรงที่ Facebook ได้

      (4) ทำการ Trace route เพื่อค้นหาเส้นทาง ในกรณีที่ใช้เครือข่าย CSLoxinfo

      ทดสอบบนเครื่องแม่ข่าย (Server ส่วนตัว) เมื่อวันที่ 30 พค 57 เวลา 9:21 โดยทำการทดสอบบนย่านไอพี AS9891 ผลลัพธ์คือ

      จะ พบว่าใน hop ที่ 8 มีการเชื่อมต่อไปยังต่างประเทศ คือ 32934.sgw.equnix.com มีค่าไอพี 202.79.197.65 ซึ่งอยู่ที่ประเทศสิงค์โปร จากนั้นใน hop ที่ 9 ติดต่อไปที่ Facebook
      รวมระยะเส้นทางจำนวน 12 hop

      หมายเหตุ : ทุกเส้นทางที่แสดงผลในนี้อาจมีการปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลาเนื่องจาก Routing Traffic จะเกิดขึ้นจากผู้ดูแลระบบที่ทำการ Config ค่า

      ส่วนที่ 2 การเรียกค่า DNS 
      เมื่อทำการ nslookup facebook จะได้ผลลัพธ์ดังนี้

      facebook.com    nameserver = a.ns.facebook.com
      facebook.com    nameserver = b.ns.facebook.com
      facebook.com    text =

              "v=spf1 redirect=_spf.facebook.com"
      facebook.com    MX preference = 10, mail exchanger = msgin.t.facebook.com
      facebook.com
              primary name server = a.ns.facebook.com
              responsible mail addr = dns.facebook.com
              serial  = 1401416932
              refresh = 7200 (2 hours)
              retry   = 1800 (30 mins)
              expire  = 604800 (7 days)
              default TTL = 120 (2 mins)
      facebook.com    internet address = 173.252.110.27
      facebook.com    AAAA IPv6 address = 2a03:2880:2110:df07:face:b00c:0:1

      a.ns.facebook.com       internet address = 69.171.239.12
      b.ns.facebook.com       internet address = 69.171.255.12

      ส่วนค่า DNS หลักของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย จะแยกกันไป
      ในที่นี้ขอยกตัวเฉพาะ DNS ของ TOT
      ได้แก่ dns1.totbb.net มีค่าไอพี 203.113.5.130 , dns2.totbb.net มีค่าไอพี 203.113.7.130  และ dns3.totbb.net มีค่าไอพี 203.113.9.123
      เมื่อมี การแจกค่า DNS ไปยังอุปกรณ์ Router ตามบ้าน หรือ ค่าที่ได้รับอัตโนมัติจากผู้ให้บริการจะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ หรือ มือถือ จะได้รับค่า DNS จากผู้ให้บริการทันที  ยกเว้นกรณีที่ผู้ใช้งานตั้งค่า DNS เอง (Manual) โดยหลายคนอาจตั้งค่า DNS ไปที่ 8.8.8.8 ของ google เป็นต้น ซึ่งคนที่ตั้งค่าเองอาจไม่ได้รับผลกระทบกับการเรียก www.facebook.com
      ดัง นั้นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ สามารถเข้าใช้งานในโดเมนอื่นๆได้ ยกเว้นโดเมน facebook.com มีความเป็นไปได้ที่มีการเปลี่ยนเส้นทาง DNS เพื่อให้ไป Query โดเมนที่ DNS ของผู้ให้บริการรายใดรายหนึ่ง และ DNS การสามารถกำหนด host file ในเครื่อง DNS Server เพื่อไม่ให้ผู้ใช้งานเข้าใช้บริการเมื่อมีการเรียกค่า DNS ได้ และสามารถ Redirect ไปยังเพจที่ขึ้นข้อความอื่นๆเพื่อบ่งบอกถึงว่าปิดระงับชั่วคราวได้  การปิดกั้นช่องทางผ่านเทคนิค DNS ในทางที่ก่อให้เกิดประโยชน์โดยมากเขาจะปิดกั้นไม่ให้เข้าถึง โดเมนที่มีภัยคุกคามเช่น โดเมนที่ติดไวรัส (Malware) โดเมนที่เป็น Phishing และ โดเมนที่มีความเสี่ยงทางอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ เพื่อไม่ให้ผู้ใช้งานตกเป็นเหยื่อได้

      * การตรวจดูว่า DNS เราใช้อยู่คืออะไรสามารถทำได้โดย ใช้ command  ipconfig /all  หรือใน linux ได้โดย ifconfig ตรวจดูค่า DNS หากใช้ผ่าน Router บ้านหรือองค์กรจะได้ค่าชี้ไปที่ Gateway ขององค์กร นั้นและค่า Router นั้นมักตั้งให้รับค่าอัตโนมัติ จะได้ค่า DNS จากผู้ให้บริการ

      ตัวอย่าง Log DNS จากของจริงจาก srandns.com

      30-May-2014 11:10:30.446 client 101.108.xx.xx#11240: query: mesu.apple.com IN A + (x.x.x.x)
      30-May-2014 11:10:19.702 client 180.183.xx.xx#65484: query: sran.net IN A + (x.x.x.x)
      30-May-2014 11:09:56.150 client 124.122.xx.xx#11540: query: m.ak.fbcdn.net IN A + (x.x.x.x)
      30-May-2014 11:09:49.712 client 180.183.xx.xx#29337: query: www.facebook.com IN A + (x.x.x.x)
      30-May-2014 11:09:36.869 client 180.183.xx.xx#19924: query: dnl-15.geo.kaspersky.com IN A + (x.x.x.x)
      30-May-2014 11:09:33.959 client 180.183.xx.xx#19922: query: dnl-15.geo.kaspersky.com IN A + (x.x.x.x)
      30-May-2014 11:09:14.741 client 101.108.xx.xx#11237: query: z-m.c10r.facebook.com IN A + (x.x.x.x)
      30-May-2014 11:08:56.400 client 180.180.xx.xx#17540: query: imap.gmail.com IN A + (x.x.x.x)
      30-May-2014 11:08:56.098 client 180.180.xx.xx#17539: query: www.sran.org IN A + (x.x.x.x)
       
      จาก log จะเห็นว่าเราพบวันเวลา ค่าไอพี ของเครื่อง client ที่ใช้ DNS ค่าความต่อเนื่อง #ตามด้วยตัวเลข การ Query โดเมน  
       และค่า x.x.x.x จะเป็นค่าไอพีของฝั่ง DNS Server 
      ยกตัวอย่างเบื้องต้นประมาณนี้ก่อน 

      สรุปได้ว่า : ปัญหาที่เกิดขึ้นอาจจะเกิดจากการเปลี่ยนค่า DNS ที่ฝั่งผู้ให้บริการจะทำให้ผู้ใช้งานทั่วไปเรียกค่าโดเมนผ่าน DNS ใหม่ที่อาจทำให้เป็นการปิดกั้นช่องทางได้  หรือ ที่ผมเคยเขียนไว้ในบทความ "เตือนภัยเรื่อง DNS ที่มีผลกระทบต่อผู้ใช้งานตามบ้าน http://nontawattalk.blogspot.com/2014/04/dns.html " สิ่งที่เกิดขึ้นอาจเป็นเพราะคนที่เข้าไปแก้ไขค่า config เส้นทางการเรียกข้อมูลในช่วงเวลานั้นอาจจะยังไม่เข้าใจในระดับผู้ให้บริการ (ISP) ดีพอจนปล่อยให้เกิดผลกระทบที่ทำให้ทุกคนรับรู้และเป็น Talk of the town ได้ขนาดนี้


      แนวทางที่ควรปฏิบัติในอนาคต

         ถึงแม้เหตุการณ์นี้จึงเป็นบทเรียนสำคัญสำหรับคนที่คิดจะทำการปิดกั้น โดยเฉพาะการปิดกั้นทั้งโดเมนสามารถทำได้ แต่อาจมีผลกระทบเยอะ และหากเปิดกั้นจากจุดเดียวด้วยวิธีนี้จำเป็นต้อง Route เส้นทาง การเรียกค่าโดเมนแนม ให้ออกไปยังจุดใดจุดหนึ่ง แต่ผลลัพธ์ก็อย่างที่เห็นคือไม่สามารถใช้งานได้ ซึ่งมีเหตุผลรองรับ เช่น อุปกรณ์ Load Balancing ที่อยู่หน้า DNS Farm Server หรือ DNS Server ใหม่ไม่สามารถรองรับ ปริมาณ traffic ได้ การ Query DNS ไม่สมารถรับค่าปริมาณเยอะๆพร้อมกันได้ อุปกรณ์ฝั่งระบบเครือข่ายไม่สามารถรองรับปริมาณข้อมูลได้ในเวลาจำกัด การปิดกั้นควรปิดกั้นเป็นบางเพจหรือค่า URI page นั้น ในอดีตการเปิดกั้นเว็บเพจ มักใช้เทคนิคเรียกว่า "TCP Hijack session" ปิดการเชื่อมต่อ session ของ ไอพีผู้ใช้งาน (Client) เพื่อไม่ให้เรียกเพจ เช่น http://xx.com/abcd/xx.html อันนี้ทำได้ในอดีต

      http://www.abc.com/abc.html  แบบนี้ปิดได้
      https://www.abc.com/abc.html แบบนี้ปัจจุบันยังปิดไม่ได้
      แบบ facebook.com โดเมนทั้งหมด ปิดได้อยู่แล้ว  (ไม่ควรทำ) แต่อย่างไรก็ดีก็ยังไม่สามารถปิดกั้นจากจุดเดียวแบบ Single command ได้ ไม่ว่าเป็น โดเมนแนม หรือ URI ต้องบอก ISP แต่ละทีให้ปิด

      กรณีเฝ้าระวังการใช้งาน HTTP
      การเฝ้าระวัง (monitoring) ขอยกตัวอย่างโดยใช้อุปกรณ์ SRAN Lightรุ่นเล็กติดตั้งที่ office
      หน้าจอเฝ้าระวังโดยการเขียน signature จับค่า HTTP GET
       จากภาพ กรณี HTTP จะเห็นว่าเห็นทั้งค่าไอพีต้นทาง (ผู้ใช้งาน) ไอพีปลาย และ URI ที่เรียกใช้งาน
      ส่วน MAC Address เครื่องเป็นค่า MAC ของอุปกรณ์ Switch ในองค์กร ซึ่งไม่ต้องสนใจเพราะค่าจะเป็นค่าเดียวเนื่องจากทำการ Mirror traffic มา

      กรณีการเฝ้าระวัง  HTTP ผ่าน Proxy
      จากภาพก็ยังเห็นว่า ถึงแม้จะผ่าน Proxy ก็ยังสามารถเห็นไอพีต้นทาง ไอพีปลายทาง (ก็คือ Proxy server) และ URI ที่ไปได้

      กรณีการเฝ้าระวัง  HTTPS

      จากภาพหากผ่าน HTTPS จะเห็นแค่ ไอพีปลายทาง ไม่เห็น URI ทำให้ไม่รู้รู้เปิด path ไหนของเว็บ เว็บนั้นๆหาได้จากไอพีปลายทางเอาไป whois หรือ covert IP to Host เอาไม่ยากสำหรับคนรู้หาได้ แต่อย่างไรก็หา URI ไม่ได้

      แต่อย่างไรก็ดี HTTPS สามารถมองเห็นได้แต่ต้องทำ MITM (Man In The Middle Attack) ซึ่งในระดับองค์กรทำได้ แต่ระดับประเทศทำยาก และไม่ควรทำ

      ปัจจุบันเครือข่ายสังคมออนไลน์ facebook , twitter , youtube หันมาใช้บริการ SSL คือผ่าน https หมด จึงไม่สามารถใช้เทคนิคเดิมเพื่อปิดกั้นได้เนื่องจากมีการเข้ารหัสจนไม่ สามารถล่วงรู้ถึง URI ปลายทางได้รู้แต่ค่าไอพี และทำการ covert กลับเป็นชื่อโดเมนทำให้ปัจจุบันไม่สามารถปิดกั้นได้  แต่หากทำการปิดกั้นก็มีหนทางโดยมากจะทำในระดับองค์กร แต่หากทำในระดับผู้ให้บริการระดับ ISP และในเมืองไทยมีผู้ให้บริการที่ออกโครงข่ายต่างประเทศหลายรายที่นับได้คือ เป็น 10 ที่ การทำวิธีดังกล่าวจึงมีออกแบบทั้งปริมาณข้อมูลที่รับได้ และทางฉุกเฉินเมื่อไม่สามารถเชื่อมต่อได้ ซึ่งโดยรวมนั้นอาจมีผลกระทบต่อผู้ให้บริการ (ISP) และผู้ใช้ งาน (User) โดยเฉพาะอาจได้รับ Certificate ที่ไม่ได้มาจากแหล่งต้นทาง  ดังนั้นการปิดกั้นควรคำนึงถึงเรื่องนี้ไม่งั้นอาจเป็นภัยคุกคามต่อผู้ใช้งาน ได้ เช่นกรณีคนที่ ใช้เทคนิค MITM (Man In The Middle attack) ในพื้นที่สาธารณะ บนเครือข่ายไร้สาย หรือ องค์กรขนาดเล็กก็จะได้รับค่า Certificate ที่ไม่ได้มาจากแหล่งต้นทางที่แท้จริงได้เช่นกัน และช่องทางพิเศษในการอำพรางตัวตนนั้นมีมากมาย ค้นหาใน Google หรือ Search engine อื่นก็สามารถใช้งานได้ง่ายและปัจจุบันใครก็ทำได้ ยิ่งทำการปิดกั้นก็ยิ่งมีคนอยากเข้าถึง และหาทางหลีกเลี่ยงการหลบซ๋อนค่าไอพียิ่งทำให้หาตัวผู้กระทำความผิดได้ยากขึ้น ซึ่งสิ่งที่ควรปิดกั้นคือช่องทางที่อำพรางตัวตนแบบออนไลน์มากกว่าการปิดกั้นเว็บเพจ 
      (อาจดูเหมือนทำยากแต่สามารถทำได้และไม่กระทบต่อผู้ให้บริการและผู้ใช้งาน ซึ่งหากมีโอกาสจะแนะนำวิธีการให้ต่อไป)

      ค่าไอพี (IP Address : Who) และ เวลา (Time : When) ส่วน What ทางเทคนิคหาได้จาก Log file  ถ้าไม่ใช้เทคนิคการหาทางการข่าวได้ เหล่านี้จะเป็นตัวบ่งบอกถึงความเป็นตัวตนของผู้ใช้งาน หากมีการอำพรางตัวตนก็เท่ากับไม่สามารถหาค่าไอพีที่แท้จริงได้ และโดยมากผู้มีเจตนาไม่ดีมักทำการอำพรางตัวตนที่แท้จริง เพราะคนที่เจตนาดีมักจะไม่มีความจำเป็นต้องอำพรางตัวตนในการใช้งาน

      สรุปแนวทางในอนาคต
      1. ไม่แนะนำให้มีการปิดกั้นการเข้าถึงข้อมูลไม่ว่าเป็นสื่อสังคมออนไลน์หรือเว็บเพจ เพราะยิ่งปิดกั้นคนก็จะพยายามหาทางเข้าถึง และหลีกเลี่ยงโดยไปใช้โปรแกรมอำพรางตัวเอง เช่นโปรแกรม Tor Network , Proxy Anonymous ต่างๆ และทำให้การหาผู้กระทำความผิดได้ยากขึ้น และการปิดกั้นปิด หนึ่งเว็บก็เปิดใหม่ได้อีกเรื่อยๆ เป็นลักษณะแมววิ่งไล่จับหนู ซึ่งไม่มีทางจบสิ้น และอีกอย่างสังคมปัจจุบันเป็นสังคมเปิด โดยเฉพาะสื่อออนไลน์จะมีข่าวสารฉับไว จนสามารถทำให้ผู้คนที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตรู้ทันกันไปหมด คิดอะไรไม่ออกก็ค้นหา google ก็รู้ได้ ดังนั้นการปิดจึงเป็นวิธีการที่ผมเองไม่เห็นว่าจะเกิดประโยชน์ในระยะยาว

      2. เมื่อพบเนื้อหาไม่เหมาะสม ต้องไม่ขยายผลต่อ ไม่ว่าเป็นชื่อเพจ หรือการแชร์ ควรส่งให้หน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อไม่เป็นการขยายผลต่อ

      3. หากจะทำการปิดกั้น ควรจะทำการปิดกั้นค่าไอพีที่ได้จากโปรแกรมอำพรางตัวตน หรือทำการปลอมตัวตนที่แท้จริงจนไม่สามารถตรวจสอบได้
       และควรปิดกั้นการเข้าถึงโดเมนที่ติดเชื้อ Malware  โดเมนที่หลอกลวงประชาชน (Phishing) ในฝั่งผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตไทย ซึ่งเป็นการสร้างความปลอดภัยให้กับคนในชาติ ที่ใช้งานอินเทอร์เน็ตไม่ตกเป็นเหยื่อทางอาชญากรรมคอมพิวเตอร์โดยไม่รู้ตัว

      4. ควรรณรงค์ให้มีการเก็บ Log ให้ถูกต้องตามกฏหมาย พรบ. คอมพิวเตอร์ฯ เพราะ Log จะเป็นตัวช่วยสืบหาผู้กระทำผิดได้ Log บ่งบอกถึงพฤติกรรมและเหตุการณ์ที่ขยายผลในการหาผู้กระทำความผิดทั้งตัวบุคคลและเครือข่ายได้ ,Log ที่เก็บไม่ว่าผู้ให้บริการ ISP หรือ ผู้ให้บริการทาง Application ต่างๆที่มีความเสี่ยงต่อการกระทำความผิดควรเก็บ Log และไม่ว่าเป็นองค์กร บริษัท โรงเรียน โรงแรม ผู้ให้บริการไร้สาย (Wi-Fi) Log every where เป็นต้น ควรเก็บ Log ทั้งหมด ซึ่งประโยชน์ของ Log ที่สามารถเชื่อมโยงหลักฐานต่างๆ เพื่อเป็นประโยชน์ในการสืบสวนได้ เปรียบได้กล้องวงจรปิดหากมีหลายจุดก็ย่อมปะติดปะต่อข้อมูลได้ อ่านเพิ่มเติมได้
      http://nontawattalk.blogspot.com/2010/08/4.html
      http://nontawattalk.blogspot.com/2009/04/blog-post.html

      5. ควรพัฒนาวิจัยเทคโนโลยีของคนในชาติเองอย่าไปพึ่งคนอื่น ประเทศชาติอื่นให้มาก อย่าเชื่อฝรั่งมาก ในกรณีที่เห็นได้ชัด เช่น facebook หรือ Line เราไม่สามารถขอหลักฐานได้มากมายเพราะการเก็บข้อมูลอยู่ที่ต่างประเทศทั้งหมด ซึ่งต่างประเทศก็มีกฏหมายคอมพิวเตอร์ที่แตกต่างกับเราใช้กันไม่ได้ และอีกไม่นานเมื่อ 4G มาถึงเราจะพบว่าการโทรศัพท์เราก็จะไม่ใช้เบอร์โทรอีกต่อไป เป็นหมายเลข account ของ Line หรือ google หรือ Apple หรือ facebook  และโทรศัพท์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหมด พอถึงวันนั้นเราจะยืนอยู่ที่ไหน? เพราะ Server ต่างๆเราฝากชีวิตไว้ที่ Cloud Services กับผู้ให้บริการ Application ต่างชาติหมด ไม่ว่ารูปภาพ คลิป เว็บ ข้อมูลต่างๆ ก็เสมือนว่าชีวิตเราฝากไว้กับเขา
      เรื่องที่เห็นชัดเจนอีกเรื่อง คือ CDN (Content Delivery Services) ที่ให้บริการ facebook ก็ยังมีเส้นทางผ่านไปประเทศสิงค์โปร CDN หลักฐาน facebook การเก็บข้อมูลส่วนที่ใกล้ที่สุดก็ยังอยู่ที่สิงค์โปรไม่ได้อยู่ในประเทศไทย ... พอเสียที่กับการเป็นแค่ตัวแทนขาย ถึงเวลาที่เราต้องมาร่วมกันสร้างชาติให้เข้มแข็งขึ้นได้แล้ว เราควรมีของที่เราใช้เองพัฒนาเองบางได้แล้ว อาจถึงเวลาที่เรามานั่งทบทวนเรื่องเหล่านี้ให้มากก่อนที่ตกหลุดพรางเสรีภาพออนไลน์แบบไร้พรมแดนแบบนี้ต่อไป


      Nontawattana  Saraman
      SRAN Dev Team
      30/05/57



      อินเทอร์เน็ตสะอาดไปกับ D' Family

      $
      0
      0

      “ชีวิตที่ทำเพื่อคนอื่น นั้นคือคุณค่าต่อการมีชีวิต”


       จุดเริ่มต้นของเรื่องนี้มันเกิดขึ้นจาก การก่อตัวประจุไฟฟ้าและคลื่นแม่เหล็กจากอากาศส่งเป็นสัญญาณทางข้อมูลที่ใช้ ความเร็วเท่าแสงวิ่งผ่านสายเคเบิลใต้น้ำและส่งตรงเข้าสู่ภาคพื้นดินผ่านเข้า สู่ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อส่งสารข้อความไปยัง คนที่อยู่ห่างไกลกัน เป็นระยะทางที่ห่างกันเป็นทวีปได้สามารถเห็นหน้าตากัน ได้พูดคุยกันผ่านจอสี่เหลี่ยมที่อยู่ตรงหน้าเรา เพียงเสี้ยววินาทีก็ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้น และตั้งอยู่ บนยุคดิจิตอลที่มีตัวกลางของการเชื่อมต่อนั้นก็คือ “อินเทอร์เน็ต” ส่งผลให้ชีวิตของเราเข้าต้องเข้าสู่สังคมดิจิตอล (Digital) อย่างเต็มตัวตั้งแต่ตื่นนอนตอนเช้าและยังคงดำเนินอยู่แม้ในยามที่เราหลับไหล และสิ่งนี้เองจึงเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างโครงการนี้ขึ้นมา

      เนื่องด้วยข้อมูลข่าวสารในปัจจุบันล้วนมีอิทธิพลต่อชีวิตประจำวันเป็นอัน มาก เรากำลังเข้าสู่ IoT (Internet of Things) บนสภาวะ การขับเคลื่อนด้วยข้อมูลขนาดใหญ่ หรือ Big Data อันเป็นสิ่งที่ต้องเผชิญหน้าทุกครั้งที่อยู่หน้าจอ ซึ่งถือได้ว่าเป็นความท้าทายกับการใช้ชีวิตให้สมดุลและปรับตัวให้เข้ากับ ข้อมูลข่าวสารที่ผ่านเข้าสู่สายตาเรา ทุกที่มีแต่การออนไลน์ขึ้น ไม่ว่าการติดต่อสื่อสาร การทำธุรกิจ การหาข้อมูลต่างๆ ล้วนต้องพึ่งพาการออนไลน์

      การเข้าถึงข้อมูลไม่ใช่มีเพียงแต่ผู้ใหญ่ที่เข้าถึงข้อมูลได้อีกต่อไป เด็กอันเป็นเยาวชนของชาติก็เข้าถึงข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตได้เช่นกัน การเข้าถึงข้อมูลของเด็ก และ ผู้ใหญ่ ย่อมแตกต่างกันอันเนื่องจากเด็กนั้นยังไม่สามารถแยกแยะถึงข้อมูลที่ได้พบเจอ บนโลกออนไลน์ได้มากกว่าผู้ใหญ่
      ดังนั้นหากมีการควบคุมการเข้าถึงข้อมูลอันไม่เหมาะสมและอันเป็นภัย อันตรายต่อเยาวชนของเราย่อมเป็นสิ่งที่ดี ดังนั้นทาง SRAN ทีมได้ระดมเทคนิคที่ได้สะสมมากว่า 10 ปี จัดทำเทคโนโลยีที่คิดว่าเหมาะสม สะดวกในการใช้งาน และเข้าถึงกับคนที่ไม่จำเป็นต้องรู้เทคนิคมากก็สามารถใช้งานได้  “Simple is the Best” สิ่งที่ดีที่สุดคือการกลับคืนสู่สามัญ เพราะทางเราได้เล็งเห็นว่าส่วนนี้เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการพัฒนาบุคลากรอันมี ประสิทธิภาพ โดยเริ่มต้นตั้งแต่เยาวชนที่ต้องได้รับการคัดกรองข้อมูลอันไม่เหมาะสมและส่ง เสริมข้อมูลอันมีคุณค่าในการพัฒนาการของเยาชนอันเป็นอนาคตของประเทศ จึงเห็นว่าควรจัดทำโครงการนี้ขึ้น

      cropped-Defamily-logo1.jpg

      เรามีความตั้งใจทำโครงการนี้ ให้เกิดเป็นรูปธรรมที่สุดเท่าที่จะมีกำลังทำได้ โดยใช้ชื่อโครงการนี้ว่า“D’ Family” หรือ เดอ แฟมมิลี่ จะเป็นตัวช่วยคัดกรองข้อมูลอันไม่พึ่งประสงค์ และสามารถป้องกันภัยอันตรายจากการใช้งานอินเทอร์เน็ตตามบ้านได้เป็นอย่างดี

      อีกท้งระบบ Content Filtering ที่ใช้งานกันอยู่ส่วนใหญ่เป็นของต่างประเทศ ดังนั้นฐานข้อมูลที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสมจึงถูกคัดกรองที่ภาษาอังกฤษ หากเป็นเนื้อหาภาษาไทย และภาษาในประเทศกลุ่มสมาชิกอาเซียน นั้นซอฟต์แวร์ที่ใช้กันมักจะไม่รู้จักและไม่สามารถคัดกรองเนื้อหาได้ครบตาม พื้นที่ประเทศนั้นจึงควรจัดทำระบบดังกล่าวเองเพื่อความถูกต้องและแม่นยำใน การคัดกรอง จึงเป็นเหตุให้เราต้องมาจัดทำโครงการนี้ขึ้น
      “D’ Family : Internet Safety at Home” จึงเกิดขึ้นในช่วงปลายฝนต้นหนาว  ปี 2014

      หลักการทำงานของ D' Family เบื้องต้น

      ปกติการใช้งานอินเทอร์เน็ตในครอบครัวบ้านทั่วไปเมื่อไม่มีระบบคัดกรองข้อมูลอันไม่เหมาะสม เด็กเยาวชนผู้ที่ใช้งานร่วมกับผู้ใหญ่ก็อาจประสบพบเจอเนื้อหาอันไม่พึ่งประสงค์ได้ทุกเมื่อในการท่องอินเทอร์เน็ต
      befor-home-net-use01

      แต่เมื่อมี D’ Family ไว้ในบ้านแล้ว เวลาใช้งานอินเทอร์เน็ตจะทำการป้องกันไม่ให้เด็กเปิดเนื้อหา ข้อมูลอันไม่เหมาะสมจากการใช้งานอินเทอร์เน็ตได้
      after-home-net-use01
      ด้วยเทคนิคการเชื่อมต่อข้อมูลผ่าน Cloud Services บนเครือข่ายดาต้าเซ็นเตอร์โดยมีระบบคัดกรองข้อมูลอันไม่เหมาะสมเป็นฐานข้อมูลกลางที่ทำให้ความปลอดภัยของครอบครัวที่ใช้ D’Family ได้ใช้งานอินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัยไร้กังวัลในการเข้าถึงข้อมูลอันไม่พึ่งประสงค์ได้
      สุดท้ายนี้
      เราหวังว่า D’ Family โครงการเล็กๆ นี้จะประโยชน์กับสังคมในยุค Big Data ได้บ้าง
      ดังเช่นอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ได้เคยกล่าวว่า “Only a life lived for others is a life worth while.”
      ชีวิตที่ทำเพื่อคนอื่น นั้นคือคุณค่าต่อการมีชีวิต
      logo_SRAN0556
      Nontawattana Saraman
      30/10/57

      รายละเอียด  http://defamily.sran.net

      บทวิเคราะห์การใช้งานอินเทอร์เน็ตของประเทศเกาหลีเหนือ

      $
      0
      0
       
      ในช่วงเวลาที่ผ่านมามีการพูดถึงการโจมตีไซเบอร์กันมากขึ้น โดยเฉพาะที่กระทบต่อประเทศเกาหลีเหนือ ทั้งในเรื่องการโจรกรรมข้อมูลของบริษัทโซนี่พิคเจอร์ จนเป็นข่าวโด่งดัง และหากใครได้ติดตามข่าวก็จะพบว่ามีประเทศไทยเข้ามามีส่วนในการเจาะระบบบริษัทโซนี่พิคเจอร์ ยังไม่เพียงแค่นี้ยังมีประเด็นที่ประเทศเกาหลีเหนือไม่สามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ทั้งประเทศ ซึ่งทั้งหมดคิดว่าหลายคนคงอย่างทราบถึงว่าเกิดอะไรขึ้น? จึงถือโอกาสนี้เขียนอธิบายข้อมูลเบื้องต้นเพื่อเป็นการศึกษาไว้ และหากมีโอกาสจะส่วมวิญญาณนักสืบดิจิทัล วิเคราะห์ความเป็นไปที่ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นนี้เป็นระยะเท่าที่ทำได้

      1. ข้อมูลทั่วไป 

      ประเทศเกาหลีเหนือ ภาษาอังกฤษ : Democratic People’s Republic of Korea สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี มีประชากรทั้งหมดในประเทศ 24,851,627 คน (ผลสำรวจเมื่อปี 2014) ข้อมูลเชิงสถิติถึงจำนวนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในประเทศยังไม่สามารถระบุได้ แต่โครงสร้างในการติดต่อสื่อสาร (Internet Infrastructure) 
      วันที่เกิดเหตุการณ์อินเทอร์เน็ตใช้งานไม่ได้ทั้งประเทศเกาหลีเหนือตรงกับวันที่ 22 ธันวาคม 2557 เวลา 23:15 เวลาในประเทศไทยโดยประมาณ

      2.การใช้งานอินเทอร์เน็ต 
      ASN (Autonomous System Number) ประจำประเทศ หมายเลข AS131279 ชื่อ Ryugyong-dong ขอจดทะเบียน ASN เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2552 พึ่งจดทะเบียนเมื่อ 5 ปีที่แล้ว 

      2.1 รายละเอียดข้อมูลหมายเลขอินเทอร์เน็ต 
      aut-num: AS131279 
      as-name: STAR-KP 
      descr: Ryugyong-dong 
      descr: Potong-gang District country: KP 
      admin-c: SJVC1-AP 
      tech-c: SJVC1-AP 
      mnt-by: MAINT-STAR-KP 
      mnt-routes: MAINT-STAR-KP 
      changed: hm-changed@apnic.net 20091221 
      source: APNIC role: STAR JOINT VENTURE CO LTD - 
      network administrat address: Ryugyong-dong Potong-gang District country: KP phone: +850 2 381 2321 fax-no: +850 2 381 2100 
      e-mail: postmaster@star-co.net.kp 
      admin-c: SJVC1-AP tech-c: SJVC1-AP nic-hdl: SJVC1-AP mnt-by: MAINT-STAR-KP changed: postmaster@star-co.net.kp 20141202 
      source: APNIC ชื่อติดต่อที่ star-co.net.kp 

      2.2 รายละเอียดข้อมูลเส้นทางการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต 

        
       ข้อมูลจาก HURRICANE ELECTRIC BGP จะพบว่าทั้งประเทศเกาหลีเหนือมีจำนวนค่าไอพีทั้งเป็นเป็นชนิดไอพีเวอร์ชั่น 4 จำนวน 1,024 ยังไม่มีการทำเป็นไอพีเวอร์ชั่น 6

      2.3 เส้นทางการเชื่อมอินเทอร์เน็ตต่อกับต่างประเทศ 


      จากแผนภาพพบว่าเส้นทางการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตของ AS131279 ซึ่งเป็น ASN เพียงอันตัวเดียวในประเทศเกาหลีเหนือ


      จะเห็นได้ว่าเส้นทางการเชื่อมต่อเพียงจุดเดียวที่ออกไปยังต่างประเทศ คือติดต่อไปที่ AS4837 เป็นของ China Unicom Backbone แล้วค่อยติดต่อไปยัง AS1239 ของ Sprint ประเทศสหรัฐอเมริกา

      เส้นทางการติดต่อจากประเทศไทย
      ทดสอบจากการใช้ ISP Loxinfo  เพื่อดูเส้นทางการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต




      เส้นทางอินเทอร์เน็ตจากไทยไปยังเกาหลีเหนือจะผ่านประเทศดังต่อไปนี้ (1)ไทย - (2)สิงค์โปร - (3)อินเดีย - (4)แคนาดา - (5)สหรัฐอเมริกา - (6)จีน และเข้า(7)เกาหลีเหนือ ประมาณ hop ที่ 18

      2.4 ย่านไอพีแอดเดรสที่ใช้งาน

      จำนวนไอพีแอดเดรสทั้งหมด 1,024 ค่า ซึ่งเทียบเคียงได้เท่ากับจำนวนไอพีของสถาบันการศึกษา-มหาวิทยาลัย ในบางที่ของประเทศไทยด้วยซ้ำ ย่านไอพีแอดเดรสที่สำคัญ ทั้งที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ จะอยู่ที่ 175.45.176.0/24

      2.5 ค่าโดเมนแนม 



      โดเมนที่หลักของประเทศเชื่อมที่ไอพีแอดเดรสเดียว จากข้อมูลการสำรวจค่าไอพีแอดเดรสพบว่า Name Server จำนวน 38 รายชื่อจากจำนวน 1024 ค่าไอพีแอดเดรส

      3. บทสรุป

      การที่ประเทศเกาหลีเหลือประสบปัญหาอินเทอร์เน็ตใช้งานไม่ได้ทั้งประเทศแบ่งได้ 4 ประเด็นดังนี้

      1) เส้นทางอินเทอร์เน็ตประเทศเกาหลีเหนือที่ออกต่างประเทศมีช่องทางเดียว คือจากประเทศจีน แล้วไปที่ ประเทศสหรัฐอเมริกา
      - หาก AS4837 เป็นของ China Unicom Backbone ขัดข้องเกาหลีเหนือทั้งประเทศก็ใช้อินเทอร์เน็ตไม่ได้
      - หรือหาก AS1239 ของ Sprint ประเทศสหรัฐอเมริกา ขัดข้องเกาหลีเหนือทั้งประเทศก็ใช้อินเทอร์เน็ตไม่ได้
      - หรือตัวใดตัวหนึ่งปิดการเส้นทางการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต (Peering) ทั้งผู้เรียกเข้าติดต่อประเทศเกาหลีเหนือ และ คนในประเทศเกาหลีเหนือเรียกอินเทอร์เน็ตออกประเทศไม่ได้ทันทีหากตัวใดตัว หนึ่งที่กล่าวนั้นขัดข้องหรือเปลี่ยนเส้นทางกระทันหัน ซึ่งก็เป็นการควบคุมของประเทศจีน (AS4837) หรือ ประเทศสหรัฐอเมริกา(AS1239) นั้นเอง อินเทอร์เน็ตทั้งประเทศเกาหลีเหนือตกอยู่การควบคุมจาก 2 มหาอำนาจ ชนิดที่เรียกว่า "ลูกไก่ในกำมือ"

      2) อินเทอร์เน็ตที่ใช้งานไม่ได้เป็นเพราะ DNS ในประเทศเกาหลีเหนือไม่พร้อมใช้งาน ไม่ว่าจากการโจมตีชนิด DDoS/DoS  หรือจะเป็นการโจมตีชนิดอื่นที่ทำให้ไม่สามารถใช้งานได้ อันเนื่องมาจาก Root DNS หลักของประเทศเหลือเพียงตัวเดียวคือ IP : 175.45.176.15 ซึ่งหากเครื่องดังกล่าวถูกโจมตีก็จะไม่สามารถ Query ชื่อที่เป็นโดเมนได้ แต่จะเป็นลักษณะผู้ใช้งานในประเทศที่ไม่สามารถเรียกข้อมูลที่เป็นโดเมนแนม ได้ (สำหรับผู้ใช้งานในประเทศที่ตั้งค่า DNS แบบ Default รับค่า DHCP จาก Router ที่ไม่ได้มีการ Fix ค่า DNS เองจะประสบปัญหานี้)

      3) เป็นข่าวเพื่อปั่นกระแสหนังที่กำลังเข้าฉายที่ชื่อ “The Interview”
      ในยุคปัจจุบันนี้มีการโฆษณาประชาสัมพันธ์แบบคาดไม่ถึงอยู่เป็นประจำ โดยเฉพาะการปล่อยข่าวลือบนอินเทอร์เน็ต หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "การทำ Propaganda"  การที่จะไม่ตกเป็นเหยื่อการทำ Propaganda ได้นั้นนอกจากจะต้องมีสติไม่พอต้องมีปัญญาด้วย นี้สิเรื่องยากจะไม่ตกเป็นเหยื่อ

      4) กดดันเกาหลีเหนือโดยใช้การโจมตีไซเบอร์เป็นเครื่องมือโดยอ้างว่าเกาหลีเหนือมีแฮกเกอร์เจาะระบบจริง ซึ่งจริงไม่จริงปัจจุบันไม่มีใครทราบ ดูแล้วคล้ายพม่าก่อนเปิดประเทศ แต่เป็นคนละวิธีการ ตามยุคสมัยเพราะยุคนี้ต้องยอมรับว่าคือยุคไซเบอร์


      เขียนโดย
      นนทวรรธนะ  สาระมาน
      27 ธันวาคม 2557

      อ้างอิงข้อมูล
      Hurricane Electric IP Transit : http://he.net
      Robtex : http://www.robtex.com
      Internet Worldstats : http://www.internetworldstats.com

      เอฟบีไอออกเตือนธุรกิจของสหรัฐ ฯ เกี่ยวกับมัลแวร์ที่เป็นอันตราย

      $
      0
      0
      เอฟบีไอออกเตือนธุรกิจในสหรัฐ ฯ ว่าแฮกเกอร์ได้ใช้ซอฟท์แวร์มุ่งร้ายเพื่อโจมตีเป้าหมายในสหรัฐ ฯ หลังจากที่มีการโจมตีบริษัท โซนี่ พิคเจอร์ส เอ็นเตอร์เทนเม้นต์ ทางอินเทอร์เน็ตเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
      คำเตือนจากเอฟบีไอจำนวน 5 หน้า ได้ส่งให้กับบริษัทต่าง ๆ เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ให้รายละเอียดทางเทคนิคเกี่ยวกับซอฟท์แวร์มุ่งร้ายที่ใช้ในการโจมตี แต่ไม่ได้ระบุถึงชื่อของเหยื่อที่ถูกโจมตี
      โฆษกของเอฟบีปฏิเสธให้ความเห็น เมื่อมีผู้ถามว่าซอฟท์แวร์ตัวนี้ถูกใช้เพื่อโจมตีบริษัทหนึ่งในเครีอข่ายของโซนี่ ที่ตั้งอยู่ในแคลิฟอร์เนียหรือไม่
      เจ้าหน้าที่รายหนึ่งของเอฟบีไอบอกกับนักข่าวว่า คำแนะนำนั้นให้ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวของกับการโจมตีบริษัทโซนี่ รวมถึงโค้ดภาษาคอมพิวเตอร์จำนวนหลายหน้า แต่ไม่เกี่ยวกับการโจมตีของมัลแวร์ชนิดใหม่
      เจ้าหน้าที่หลายรายบอกว่าพวกเขากำลังวิเคราะห์การโจมตีบริษัทของโซนี่ ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายร้ายแรงกับฐานข้อมูลของบริษัท
      การโจมตีโซนี่ ทำให้ภาพยนตร์ของบริษัทจำนวนห้าเรื่องถูกเผยแพร่ผ่านทางออนไลน์ รวมถึงหนังเรื่อง “Annie” ที่ปรับปรุงแล้ว การโจมตีที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายนที่ผ่านมา และปรากฏเป็นรูปของโครงกระดูก ในคอมพิวเตอร์ของบริษัท และข้อความที่เขียนไว้ว่า “Hacked by #GOP” ซึ่งเป็นกลุ่มที่อยู่เบื้องหลังการโจมตีที่ใช้ชื่อว่า “Guardians of Peace”
      hacked%2Bby%2Bgop.jpg
      ข้อความนี้ได้ขู่ที่จะปล่อยข้อมูลความลับของบริษัท ทางผู้สืบสวนกำลังหาความเชื่อมโยงกับภาพยนตร์เรื่อง “The Interview” และเกาหลีเหนือ ว่ามีความเกี่ยวข้องกันหรือไม่
      เอฟบีไอได้ส่งคำเตือนเร่งด่วนให้กับบริษัทต่าง ๆ เป็นครั้งคราว เพื่อบอกรายละเอียดเกี่ยวกับภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ตที่กำลังเกิดขึ้นใหม่ เพื่อช่วยบริษัทต่าง ๆ ให้สามารถป้องกันการโจมตีแบบใหม่ได้ แต่จะไม่ระบุถึงชื่อของเหยื่อที่ถูกโจมตีในรายงานเหล่านี้
      ในรายงานกล่าวไว้ว่า มัลแวร์ได้ทำลายข้อมูลในฮาร์ดไดรฟ์คอมพิวเตอร์ ทำให้มันไม่สามารถทำงานได้ และปิดการเข้าถึงเครือข่าย
      จากรายงานที่แจกจ่ายให้กับผู้ทำงานด้านการรักษาความปลอดภัยในบริษัทต่าง ๆ ระบุว่าเป็นเรื่องที่ยากในการกู้คืนฮาร์ดไดรฟ์ ที่ถูกโจมตีด้วยมัลแวร์นี้
      การวิเคราะห์มัลแวร์
      มัลแวร์นี้ถูกใช้เพื่อโจมตีบริษัทของโซนี่ เป็นมัลแวร์ที่มีอันตรายตัวเดียวกับที่เอฟบีไอได้เตือนไว้ บริษัทด้านแอนตี้ไวรัสของญี่ปุ่น Trend Micro ได้วิเคราะห์การทำงานของมัลแวร์นี้ว่า หน้าที่หลักของมัลแวร์นี้คือการเก็บรวบรวมชื่อผู้ใช้ และรหัสผ่านที่เก็บใน network drive ที่มีการแชร์ในเครือข่าย
      หลังจากผู้ใช้ในเครื่องได้ลบไฟล์มัลแวร์นี้ และไฟล์ที่เชื่อมโยงกับ network drive และหยุดการทำงานของ Microsoft Exchange Information Store service จากนั้นมัลแวร์จะหยุดทำงานไปสองชั่วโมง จากนั้นจึงรีสตาร์ทระบบ อีกส่วนหนึ่งของมัลแวร์จะใส่ไฟล์ bmp ในคอมพิวเตอร์ แสดงข้อความว่า “Hacked by #GOP” ซึ่งเป็นภาพเดียวกับที่ปรากฏในคอมพิวเตอร์ของโซนี่ ดังนั้น Trend Micro จึงเสนอว่ามัลแวร์นี้ถูกใช้เพื่อโจมตีโซนี่
      ต่อไปนี้เป็นรายงานวิเคราะห์อย่างละเอียดของมัลแวร์นี้
      ข้อมูลอ้างอิง
      Viewing all 119 articles
      Browse latest View live